[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้จริงหรือ? - ประสาท มีแต้ม "
ผมว่าบทความนี้น่าสนใจครับ
ท่ามกลางกระแส "โลกร้อน" มีสิ่งที่ชวนให้เคลิบเคลิ้มอยู่เหมือนกัน
;)

.....................

http://blogazine.prachatai.com/user/prasart/post/6

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ให้สัมภาษณ์หลังจากทราบว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า

“พลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นสำหรับการจัดหาพลังงานในระยะยาวของประเทศ ขณะนี้ทั่วโลกก็กำลังกลับมาหาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน” (มติชน,19 กันยายน 50) ในตอนท้ายรัฐมนตรีท่านนี้ได้ฝากถึงนักการเมืองในอนาคตว่า

“อยากฝากถึงพรรคการเมืองต่างๆ ด้วยว่าหากจะมีการกำหนดนโยบายอะไรออกมาขอให้ดูผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และต้องดูถึงผลระยะยาวด้วย เรื่องนิวเคลียร์ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี แต่รัฐบาลมีอายุการทำงานเพียง 4 ปีเท่านั้น”

สาระสำคัญที่รัฐมนตรีพลังงานได้เสนอมี 3 ประเด็นคือ

หนึ่ง ทั่วโลกกลับมาหาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งหนึ่ง (หลังจากการระเบิดที่เชอโนบิลเมื่อ 21 ปีก่อน) สอง พลังงานนิวเคลียร์ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน และ สาม เรื่องนิวเคลียร์เป็นเรื่องต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี

ความจริงแล้วเรื่องพลังงานนิวเคลียร์หรือเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีหลายประเด็น เช่น เรื่องต้นทุน เรื่องอุบัติเหตุ เรื่องการเก็บกากของเสีย เรื่องการก่อการร้าย เป็นต้น แต่เมื่อท่านรัฐมนตรีเสนอมาเพียง 3 ประเด็น เราจึงมาพิจารณาเหตุผลกันทีละประเด็นกันครับ

ในสองประเด็นแรก คนไทยเราไม่ค่อยมีข้อมูลเพราะเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ แม้จะมีการเคลื่อนไหวกันหลายครั้ง ตั้งแต่ก่อนรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (2510) แต่ก็ต้องชะงักไปทุกครั้ง สำหรับประเด็นที่สามนั้น แม้จะเป็นความจริงอย่างที่รัฐมนตรีกล่าวคือต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวนานอย่างน้อยถึง 14 ปี แต่สิ่งที่คุณปิยะสวัสดิ์ไม่ยอมกล่าวถึงก็คือ การจัดกระบวนการมีส่วนของประชาชน ให้ประชาชนทุกภาคส่วนทั้งที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง แต่อยู่ๆ รัฐบาลชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารและมีอายุการทำงานเพียง 1 ปีก็รวบรัดบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนการพัฒนากำลังผลิตที่เรียกว่า “แผนพีดีพี 2007” และได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

เป็นที่น่าสังเกตว่า การทำประชาพิจารณ์แผนดังกล่าวก็ทำกันในสโมสรทหารบก (3 เมษายน 50) เพราะเกรงชาวบ้านที่ติดตามเรื่องมีมาชนิดกัดไม่ปล่อยจะเข้าไปคัดค้าน ในสื่อโทรทัศน์เองก็มีการโฆษณาของฝ่ายสนับสนุนเพียงอย่างเดียว ฝ่ายที่มีความเห็นต่างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศ

อมาตยะ เซ็น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์และคลุกคลีอยู่กับคนยากจนกล่าวว่า “ระบอบประชาธิปไตยก็คือระบอบที่ให้สังคมได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุด้วยผลอย่างกว้างขวางในประเด็นสาธารณะ”

การจัดทำแผนพลังงานดังกล่าวของรัฐบาลชุดนี้เป็นเผด็จการทั้งรูปแบบและเนื้อหา ดังนั้นในประเด็นที่สามที่ท่านรัฐมนตรีพลังงานเสนอนั้น เขาไม่เห็นชาวบ้านอยู่ในสายตา คิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของความรู้

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสกับคณะทูตและกงสุลประจำประเทศต่างๆ ว่า

"...เขาบอกว่าเดี๋ยวนี้พลังงานปรมาณู เป็นพลังงานที่สะอาดมาก ก็จริง สะอาดที่สุด แต่ว่าถ้าอันตรายก็อันตรายถึงตายทั้งนั้น ท่านทูตน่าจะไปถามผู้เชี่ยวชาญที่ทำเกี่ยวข้องกับพลังงาน..” (กรุงเทพธุรกิจ 29 สิงหาคม 2550)

คุณปิยะสวัสดิ์ก็ออกมาปรามว่า ไม่อยากให้ใครนำกระแสพระราชดำรัสไปอ้างโดยไม่ระมัดระวัง

ต่อไปนี้มาพิจารณาในประเด็นแรกกันครับ คือ ทั่วโลกกลับมาหาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งหนึ่ง

ท่านรัฐมนตรีใช้คำว่า “ทั่วโลก” เป็นการกล่าวที่เกินความจริงไปมากทีเดียว จากเอกสาร “Nuclear Power in the World Today.” World Nuclear Association.(2007) http://www.world-nuclear.org/info/inf01.html พบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีเพียง 30 ประเทศเท่านั้นที่มีการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ คิดเป็นเพียง 16% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในโลก โดยมีเตาปฏิกรณ์จำนวน 435 แห่ง

ที่น่าคิดคือ ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ส่งออกแร่ยูเรเนียมมากที่สุดในโลก แต่ยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้แต่โรงเดียว (ปัจจุบันกำลังมีการถกเถียงกันว่าสมควรจะมีหรือไม่)

เยอรมนีเป็นประเทศที่มีการคิดค้นพลังงานนิวเคลียร์ได้สำเร็จครั้งแรกในโลก ก็ประกาศว่าจะค่อยๆ ปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด โดยไม่มีการสร้างขึ้นใหม่อีก แต่หันไปหาพลังงานลม แสงอาทิตย์และชีวมวล

ปัจจุบันทั่วโลกมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 32 แห่ง ในจำนวนนี้ 18 แห่งอยู่ในทวีปเอเชีย

17 ต.ค. 50 / 16:02
0 0
meed [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
view 476 : discuss 19 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 58.64.125.74

#1# - 340666 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] (ต่อ)
ปิยสวัสดิ์ ปัจจุบัน ยังดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ดำเนินการให้การสนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวล ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้และกลไกทางการเงินให้กับโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

.....................................

ณ ปี 2550 ทั่วโลกมีการเสนอสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 214 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในประเทศจีน 86 แห่งและอินเดีย 15 แห่ง ถ้านับเป็นประเทศก็มีเพียง 23 ประเทศ ในจำนวน 23 ประเทศนี้ ส่วนมากก็เป็นการสร้างเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว ที่เป็นการเสนอสร้างใหม่ครั้งแรกของประเทศมีเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นต้น

อย่างไรก็ตามข้อมูลในความเป็นจริงยังห่างไกลจากคำว่า “ทั่วโลก” ที่ท่านรัฐมนตรีพยายามจะชักนำสังคมราวกับเป็นนัก “ลอบบี้ (Lobby)” (ดูภาพการ์ตูนประกอบ)

บางท่านอาจคิดว่า “เห็นไหมประเทศจีนหันมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันเยอะมาก” แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกันแล้ว พบว่าประเทศจีนมีการสร้างพลังงานหมุนเวียนมากเป็นสองเท่าของพลังงานนิวเคลียร์

เรายังคงเหลือประเด็นเดียวคือการช่วยลดปัญหาโลกร้อนครับ

ด้วยความที่ต้องการจะแหกวงล้อมที่รัฐบาลชุดได้พยายามมิให้สังคมไทยได้รับทราบทัศนะที่แตกต่าง ผมจึงได้ค้นคว้าหาความรู้มาจากผู้เชี่ยวชาญมาเสนอในที่นี้

ผู้เชี่ยวชาญที่ผมว่านี้เป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยคิดเหมือนกับนักฟิสิกส์หนุ่มๆทั่วไปว่า “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานสะอาดสำหรับอนาคต” แต่เมื่อเขาได้ผ่านประสบการณ์การทำงาน มานานปีเขาก็กลับปฏิเสธความคิดในอดีตของเขาเองอย่างสิ้นเชิง

ท่านผู้นี้คือศาสตราจารย์เอียน โลวิ (Ian Lowe) เป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการวิชาการในระดับสากล ทำงานวิจัยมานานกว่า 40 ปี ท่านศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาได้รับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยยอร์กประเทศอังกฤษ โดยได้รับทุนจากการสนับสนุนจากองค์การพลังงานอะตอมแห่งสหราชอาณาจักร (UK Atomic Energy Authority) นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เอียน โลวิ เป็นประธานมูลนิธิอนุรักษ์แห่งประเทศออสเตรเลีย (Australia Conservation Foundation) อีกด้วย

ในประเด็นที่ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ช่วยลดปัญหาโลกร้อน ศาสตราจารย์ผู้นี้แสดงความเห็นว่า

การแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมันช้าเกินไปเสียแล้ว สมมุติว่าสังคมใดมีความเห็นพ้องต้องกันทางการเมืองว่าจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในวันนี้ ก็ต้องรออีกอย่างน้อย 15 ปี (ใกล้เคียงกับที่คุณปิยะสวัสดิ์อ้างถึง แต่เริ่มต้นจากการเห็นพ้องกันแล้ว ไม่ใช่เริ่มต้นจากการเสนอจากภาครัฐ) จึงจะสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ บางความเห็นบอกว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 25 ปีจึงจะเป็นจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมและการคัดค้านในประเทศออสเตรเลียเอง

เราไม่อาจรอเป็นเวลานานหลายทศวรรษจึงค่อยตอบสนองต่อปัญหาโลกร้อนได้ ปัญหาโลกร้อนกำลังกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงมากขึ้นทุกปี

ตรงกันข้ามกับกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ภายใน 1 ปีและการประหยัดพลังงานสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในทันที

ท่านกล่าวว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะการทำเหมืองแร่ยูเรเนียม กระบวนการผลิตแร่ยูเรเนียม การเพิ่มประสิทธิภาพแร่ (enrichment) และการสร้างโรงไฟฟ้า ล้วนต้องใช้พลังงานจากฟอสซิลจำนวนมากซึ่งก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนเช่นกัน

“ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระยะเริ่มต้นจะเป็นการเพิ่มมลพิษเรือนกระจก (greenhouse pollution) แต่ในระยะยาวแล้ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าพลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเสียอีก”

ท่านให้เหตุผลว่า แร่ยูเรเนียมที่มีคุณภาพดีค่อนข้างจะมีน้อย มีการประมาณกันว่า ถ้าความต้องการไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม แร่ยูเรเนียมคุณภาพดีจะสามารถตอบสนองความต้องการของโลกได้อีกเพียง 40 ถึง 50 ปีเท่านั้น ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กันทั้งโลก มาจากพลังงานนิวเคลียร์ประมาณ 16% เท่านั้น ดังนั้นถ้าเราจะนำพลังงานนิวเคลียร์มาแทนโรงไฟฟ้าถ่านหิน แร่ยูเรเนียมชั้นดีก็จะหมดภายในเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษเท่านั้น

จริงอยู่ยังมีสินแร่ยูเรเนียมคุณภาพรองลงมาอีกมาก แต่ก็ต้องใช้พลังงานอีกจำนวนมากไปในกระบวนการผลิตซึ่งก็เป็นการสร้างก๊าซที่ทำให้โลกร้อนขึ้นมากอีกมาก ดังนั้นข้อเสนอเรื่องการลดปัญหาโลกร้อนของท่านรัฐมนตรีปิยะสวัสดิ์จึงไม่เห็นความจริง

ศาสตราจารย์เอียน โลวิ สรุปในประเด็นนี้ว่า โปรดอย่าลืมว่า แร่ยูเรเนียม ก็เหมือนน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน คือเป็นแหล่งพลังงานที่มีจำนวนจำกัด มีเพียงพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) เท่านั้น คือลม แสงแดด และชีวมวล ที่มีจำนวนไม่จำกัด

ดังนั้น สิ่งที่พลเมืองไทยควรเรียกร้องต่อรัฐบาลทุกชุด ก็คือการเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย ไม่ใช่ฝ่ายรัฐเป็นผู้โฆษณาอยู่ฝ่ายเดียว โปรดฟังอีกครั้ง!

17 ต.ค. 50 / 16:13
0 0
meed [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 340666 58.64.125.74

#2# - 340676 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มีฉนับย่อมั้ยค่ะ
17 ต.ค. 50 / 16:48
0 0
ฉันชื่อความรัก [icon smile : 92 bytes] : [ protect email from spamware ]
followup id 340676 203.118.95.57

#3# - 340699 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมก็ยังไม่ค่อยเชื่อว่า พลังนิวเคลียร์ จะเป็นพลังงานที่สะอาด

ผมกลัวว่า การดูแลไม่ดี จะทำความเสียหายใหญ่หลวง
17 ต.ค. 50 / 17:39
0 0
เด็กชายกึ้นSK131 [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 340699 61.90.138.38

#4# - 340756 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] อย่าง denmark (ช่ายป่าวหว่า จำได้ว่ายุโรปนี่แหละ) เพิ่งมีมติ งดสร้างโรงไฟฟ้า nuclear ทั้งหมดที่มีแผน และหยุดการใช้ รวมทั้งทำลายโรงงานเก่าทั้งหมด แล้วหันไปใช้พลังงาน แสงแดด ลม และ พลังงานธรรมชาติอื่นๆ แทนเลย
17 ต.ค. 50 / 19:03
0 0
ChemMan#113 [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 340756 161.200.255.162

#5# - 340757 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ปล. แว๊กกกกก เพิ่งกลับไปอ่านใหม่อีกรอบ GErman นั่นแหละถูกแล้ว แหะๆๆๆๆ

เขิลล์จังเยย
17 ต.ค. 50 / 19:05
0 0
ChemMan#113 [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 340757 161.200.255.162

#6# - 340766 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ที่แถบๆ สแกนดิเนเวีย(น่าจะสวีเดนนะครับ) รัฐบาลให้ทางเลือกประชาชนว่าจะเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือจะต้องขึ้นค่าไฟฟ้า ประชาชนที่โน่นเลือกการขึ้นค่าไฟฟ้าโดยแทบจะเป็นเอกฉันท์ครับ

แต่ถ้าเอามาใช้ประเทศไทยนอกจากจะไม่เอานิวเคลียร์แล้ว ค่าไฟฟ้าก็ห้ามขึ้นอีกต่างหาก จะโดนสือลงบทสัมภาษณ์ประเภท "บ้านจนไม่มีจะกินยังจะมาขึ้นค่าไฟฟ้า" "รังแกประชาชน" โครงการประหยัดไฟฟ้าก็ยิ่งได้ผลๆ อยู่

จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม NGO ก็จะออกมาประท้วงๆ อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น จะสร้างทีก็ประท้วงที พอน้ำท่วมสุโขทัย กำแพงเพชร ไอ้พวกนี้ไม่เห็นจะออกมาทำอะไรเลย ท่อก๊าซก็สร้างไม่ได้ ไม่ได้ซักอย่าง

เหนื่อยๆ แทนจริงๆ ผู้บริหารประเทศไทย
17 ต.ค. 50 / 19:18
0 0
padfoots [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 340766 58.64.102.134

#7# - 340833 [icon-addtodelete : 101 bytes]
พลังงานจากลมน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในเมืองไทย ไม่ค่อยพูดถึงกัน อย่างในต่างประเทศเช่นแคนาดา เห็นเค้าสร้าง Wind Turbine ตามแนวชายฝั่งเป็นแถบๆเลย นี่ละพลังงานสะอาดแท้จริง อย่างมากก็ก่อมลภาวะทางเสียง
17 ต.ค. 50 / 20:39
0 0
ETS
followup id 340833 206.223.228.158

#8# - 340915 [icon-addtodelete : 101 bytes]
เรื่องความปลอดภัย ผมยังไม่ไว้ใจคนไทยครับ เหอๆ
อีกอย่างคือเราต้องมาจัดการกับกากนิวเคลียร์อีก มันก็ไม่ใช่พลังงานสะอาดเท่าไร

ได้ข่าวว่ามีประเทศไหนสักประเทศสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นสำเร็จ?
ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง มันน่าจะสะอาดกว่าแบบนี้รึป่าว
17 ต.ค. 50 / 23:36
0 0
k
followup id 340915 64.62.138.11

#9# - 340925 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] แต่ไงเราก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าซักอย่างนะครับ

ไม่ใช่ไปยืมจมูกเพื่อนบ้านมาหมด ทั้งลาว ทั้งพม่า ถ้าพวกนั้นเค้าตัดเมื่อไหร่ เราก็เสร็จเมื่อนั้น
18 ต.ค. 50 / 00:05
0 0
i3oi3 [icon smile : 92 bytes] : [ protect email from spamware ]
followup id 340925 202.28.180.201 <= 10.7.79.188

#10# - 340926 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] วันนึงประเทศไทยคงมีเหตุการณ์

"[ชื่อจังหวัด]...หายวับ เตานิวเคลียร์ขัดข้องดับอนาถ..ศพ"


;P
18 ต.ค. 50 / 00:07
0 0
> MoonSalt๑๒๕ < [icon smile : 92 bytes] : [ protect email from spamware ]
followup id 340926 58.9.148.116

#11# - 340942 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เอิ้ก สงสัย ท่านรัฐมนตรี
ต้องมาปรึกษาบริษัทคอนซัลต์
ด้านพลังงานจากชีวมวลแห่งใหม่ของพี่มีดแล้วครับงานนี้
(อย่าลืมไปล้วงตับที่ ปภพ มาละ ฮาาาาา)
18 ต.ค. 50 / 01:07
0 0
Kai@OSK118 [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 340942 76.102.56.30

#12# - 340999 [icon-addtodelete : 101 bytes]
เรื่องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเครียร์นั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นในปัจจุบันครับ การที่เราจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเครียร์เป็นเพียงแค่เพิ่มทางเลือกในการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าเท่านั้นมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตทั้งหมด ซึ่งถ้ามองถึงเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน โดยในปัจจุบันประเทศเราพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจาก Natural Gas มากจนเกินไป (>60%) ถึงแม้ว่า Natural Gas เมื่อเทียบกับ Fossil Fuel อื่น (Coal, Oil) จะมีต้นทุนที่ถูก และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยกว่าก็ตาม
-Renewable Energy อื่นๆ เช่น Wave Energy ยังไม่สามารถนำมาใช้เชิงธุรกิจได้ยังต้องรอการพัฒนาอีกมากครับ

ต่อคำถามที่ว่าแล้วทำไมเราถึงไม่หันไปใช้การผลิตไฟฟ้าจาก Renewable Energy (Wind, Solar, Hydro, Biomass, Geothermal, Wave, etc.) คำตอบก็คือ เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีของ Renewable Energy ในปัจจุบัน ต้นทุนค่อนข้างสูง และยังมีปัญหาด้านอื่นๆ เช่น:
- Wind Energy จากการศึกษาศักยภาพของแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยในอดีต(น่าจะประมาณ 10 กว่าปีมาแล้วซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ Model ที่มีพื้นฐานจากสมการง่ายๆในการหาเพราะประสิทธิภาพของComputerยังไม่สูง) ประเทศไทยมีศักยภาพที่ต่ำมาก (ทั้งความเร็วลม และความถี่ของลมที่มีความเร็วต่างๆ) จะมีพื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลางก็แต่บริเวณภาคใต้บริเวณ จ.สงขลา และ จ.ภูเก็ต สาเหตุหลักอันหนึ่งก็เนื่องมาจากประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้น Equator ซึ่งบริเวณนี้จะมีความเร็วโดยทั่วไปที่ต่ำกว่าประเทศที่อยู่บริเวณเหนือ Horse latitude ดังนั้นประเทศแถบทางยุโรปจึงมีศักยภาพด้านพลังงานลมที่สูงกว่ามาก แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในปัจจุบัน ทางภาครัฐได้มีโครงการศึกษาหาพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านพลังงานลมอยู่หลายโครงการ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จประมาณ 1-2 ปีนี้ (ที่จริง ประเทศพม่า และ เวียดนาม มีพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านพลังงานลมที่สูงกว่าไทยมาก ทั้งสองประเทศนี้ น่าจะลงทุนด้านพลังงานลม)
-Solar Energy ในปัจจุบันยังมีต้นทุนในการผลิต Solar Cell ที่สูงอยู่ และเนื่องจากประสิทธิภาพของตัว Solar Cell ยังต่ำอยู่ถ้าจะนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนโรงไฟฟ้าซึ่งมีกำลังการผลิตที่สูงจริง คงต้องใช้พื้นที่ในการติดตังแผงSolar Cell ที่กว้างใหญ่เป็นอย่างมาก
-Biomass Fuel ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีในการใช้วัสดุเหลือใช้จากทั้งภาคการเกษตร แต่ก็มีปัญหาในเรื่องปริมาณเชื้อเพลิงและราคาไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับฤดูการ หรือถ้ามีการทำการเกษตรเพื่อเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียวก็ไม่คุ้มเพราะต้องใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกสูงและอาจยังเป็นการทำให้พืชผลที่เป็นอาหารของมนุษย์ราคาสูงขึ้น (แทนที่จะนำมาให้คนกิน กลับนำมาเผาผลิตไฟฟ้า) และปัญหาเชิงเทคนิคอื่นๆ
-Hydro Power ในปัจจุบัน การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นไปได้ยากอย่างมากหรือไม่มีโอกาสเลย (นอกจากไปสร้างที่ประเทศเพื่อนบ้านแล้วซื้อไฟมา ตัวอย่างเช่น พม่า และลาว) ดังนั้นเมื่อพูดถึง Hydro Power ในประเทศไทย ก็จะกล่าวถึง Small Hydro Power Plant เท่านั้น ซึ่งตอนนี้ก็กำลังมีการทำการวิจัยหาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการก่อสร้างอยู่ โดยความคิดของผมนั้นคิดว่าในบรรดา Renewable Energy ทั้งหมด เรื่อง Small Hydro Power Plant เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุดเพราะ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการลงทุนไม่สูง ประเทศเราสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่าย มีประโยชน์ทั้งทางด้านการผลิตพลังงาน การเกษตร การประมง และเนื่องจากมีขนาดเล็กจึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ต่ำ แต่อาจติดปัญหาด้านการหาพื้นที่ที่มีศักยภาพในประเทศไทยอาจมีน้อย (มีระดับความแตกต่างความสูง และปริมาณน้ำที่เพียงพอ)

ส่วนทาง Fossil Fuel ก็มีข้อจำกัดดังนี้:
-Coal ถึงแม้มีราคาที่ถูกแต่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมที่สูง (มิใช่เพียง SO2 NOx ฝุ่น เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโลหะหนัก ปริมาณ CO2 ที่ปล่อยออกมา สารกัมมันตรังมีขณะเผาไหม้ที่แผ่ออกมาซึ่งมีมากว่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เสียอีก)
-Oil (Fuel Oil, Diesel) ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าราคาผันผวนและราคาสูงมาก ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เชื้อเพลิงสำรองของแต่ละโรงไฟฟ้าเท่านั้น ถ้าเดือนใดมีการใช้รับรอง ค่า Ft. ขึ้นแน่
-Natural Gas ประเทศไทยพึ่งพามากเกินไปแล้ว

โดยสรุปแล้วในการผลิตกระแสไฟฟ้า จะต้องมีการบริหารจัดการ และวางแผนที่ดีไม่ให้พึ่งพิงเชื้อเพลิงใดมากเกินไป คำนึงถึงราคาค่าไฟที่จะเพิ่มขึ้นว่าเหมาะสมหรือไม่ และต้องลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
การทำ PDP ไม่สามาถทำไดโดยคนเดียวได้ และได้มีการศึกษามาพอสมควร แต่การตัดสินใจจะใช้หรือไม่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในขณะนั้น

ปล. Renewable Energy ก็ควรมีการนำมาใช้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มตัวเนื่องจากเรื่องราคาการผลิตที่สูงอยู่
18 ต.ค. 50 / 11:37
0 0
OFFee116
followup id 340999 203.146.104.32

#13# - 341012 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ในประเทศออสเตรเลีย เราสามารถเลือก ผู้ผลิตไฟฟ้าได้เลยนะครับ ว่าเราจะซื้อไฟฟ้าจากใคร ถ่านหิน ลม ไฮโดร แน่นอนว่า ราคาแตกต่างกัน แต่จะมีเรื่อง Tax ที่เปลี่ยนแปลง ตาม economic value ของพลังงานแต่ละประเภท (ไว้ผมหาเวบเจอจะเอามาโพสให้ดู)

บางคนยอมจ่ายแพง เพื่อเลือก wind energy as source of electricity เพียงเพื่อตอบสนองความเชื่อของตนในเรื่องพลังงานครับ

ของไทย มันมีเจ้าเดียว บังคับเลย เอิ้กๆ
18 ต.ค. 50 / 12:24
0 0
meed [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 341012 58.64.106.4

#14# - 341018 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] way เล่มใหม่ cover story เรื่อง นิวเคลียร์ พอดีเลยครับ ลองหาอ่านดู

ปล. ตอนนี้กำลังมีประท้วงเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระทรวงพลังงาน เพื่อนมันบอก
18 ต.ค. 50 / 12:32
0 0
meed [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 341018 58.64.106.4

#15# - 341066 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ความเห็นที่10(#10#)นะครับพี่เว้นจุดเยอะๆดีกว่า
ประเทศไทยโกงกินเยอะมันจะไม่เกิดเหมือนไอ้ที่ระเบิดไป20กว่าปีก่อนหรอครับเพราะคราวนั้นมันเน้นสร้างเร็วเอาใจคนใหญ่คนโตมันก็เลยระเบิดตัวอะไรเนี่ยแหละไม่ได้มาตรฐานแล้วคนที่ทำงานต้องพร้อม24ชั่วโมงนะครับแล้วต้องมีคนที่จบมาด้านนี้โดยเฉพาะด้วย
18 ต.ค. 50 / 16:08
0 0
หนามเตยปุย [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 341066 58.9.115.111

#16# - 341158 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลไม่ได้ระเบิดเนื่องจากการออกแบบที่ผิดพลาดครับ เกิดจาก ego ของผู้ควบคุมโรงไฟฟ้าที่ตัดสินใจผิดพลาดครับ
ส่วนถ้าจะมาทำในประเทศไทยจริงๆ ผมไม่คิดว่าจะมีใครกล้าโกงเท่าไหร่เพราะถ้าผลออกมาว่าเกิดอุบัติเหตุจากการคอร์รัปชั่นจริงๆ ไม่ต้องตัวคนโกงหรอกครับ ลูกหลานทั้งโคตรนั่นล่ะที่จะรับผลไปด้วย อาจะไม่เฉาพประเทศไทย อาจเป็นทั้งโลก

http://www.egat.co.th/me/nuc/Knowledge/item8.html

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทรีไมล์ไอส์แลนด์มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ที่ขาดการฝึกอบรมอย่างเพียงพอกล่าวคือ ปั๊มน้ำเครื่องหนึ่งหยุดทำ งานส่งผลให้กังหันไอน้ำปั่นกระแส ไฟฟ้าหยุดการทำงาน ทันทีทำให้เครื่องปฏิกรณ์หยุดการทำงานอัตโนมัติ ในเวลาต่อมา เจ้าหน้า ทีตัดสินใจพลาด โดย การตัด ระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติ ให้เครื่องปฏิกรณ์มาควบคุมด้วยตนเอง ทำให้ ไม่มีน้ำเหลืออยู่พอที่จะหล่อเลี้ยงเชื้อเพลิง และคาดไม่ถึงว่าเกิดความร้อนสะสมในแท่งเชื้อเพลิงจนถึงภาวะอิ่มตัวเป็นเหตุให้เชื้อเพลิงหลอมละลาย ประกอบกับอุปกรณ์ บางส่วนบกพร่องไม่ได้รับการออกแบบให้สมบูรณ์ซึ่งสามารถแก้ไขได้ เช่นวาล์วนิรภัยค้าง และวาล์วกั้น น้ำฉุกเฉิน ปิดอยู่ เป็น ต้น เหตุการณ์ในครั้งนี้ หากเจ้า หน้าที่ไม่ตกใจ ปล่อยให้ระบบอัตโนมัติทำงานเองระบบความปลอด ภัยของโรงไฟฟ้าจะ ควบ คุม สถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้ อุบัติเหตุครั้งนี้ คงไม่เกิดขึ้น ผลจากอุบัติเหตุดังกล่าว ทำให้แกนปฏิกรณ์ เสียหาย ทั้งหมด แต่เหตุการณ์ถูกจำกัดอยู่ภายในโรงไฟฟ้า มีการแพร่กระจาย ของสารกัมมันตรังสีต่อ สิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าปิดการ ดำเนินการและมีเจ้าหน้าที่ 2 คนได้ รับรังสีสูงประมาณ 40 มิลลิซีเวิร์ท ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานความปลอดภัย มีสารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกสู่บรรยากาศภายนอก ทำให้ประชาชนบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้า ได้รับรังสี เพิ่มขึ้นเพียง 0.00416-0.0125 เท่า สำหรับ ผลจากการติดตามข้อมูลในเวลาต่อมาปรากฏว่าไม่พบการเกิดโรคมะเร็งเพิ่ม ขึ้นจากปกติ และไม่เกิดผลกระทบใดๆ แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ ในบริเวณข้างเคียง

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่ระเบิดนิวเคลียร์
http://www.thaienergynews.com/ArticleShowDetail.asp?ObjectID=113
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

วันที่ : 9/11/2549
วิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้น ชี้ว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศไทยจะมัวพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลักต่อไปไม่ได้ อีกแล้ว
น้ำมันแพง ราคาก๊าซธรรมชาติก็จะแพงเป็นเงาตามตัว ยิ่งก๊าซในอ่าวไทยใกล้จะหมด ในอนาคตเราต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าจากต่างประเทศ
ราคาก๊าซจะแพงยิ่งกว่าใช้ก๊าซจากอ่าวไทย
ถ้าต้องการให้ค่าไฟฟ้าถูกลง มีหนทางเลือกต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ผลิตไฟฟ้าได้ในราคาถูก ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ
1. โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่มีต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ หน่วยละ 0.60-2.65 บาท
2. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่มีต้นทุนอยู่ที่หน่วยละ 0.80-2.65 บาท โรงไฟฟ้าชนิดอื่นแพงกว่านี้...แต่ในอนาคตระยะไกล มองไปถึงสิ่งแวดล้อมในวิกฤติโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก หลายฝ่ายมองว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ น่าจะดีกว่า
เพราะไม่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหมือนโรงไฟฟ้าถ่านหิน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่มีการนำเชื้อเพลิงมาเผา ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นตัวการทำให้โลกร้อน...แต่อย่างใด
แต่เมื่อพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์...คนไทยขนลุกขนพองด้วยความสยองขวัญ!!!
“ปัญหาที่คนส่วนใหญ่กลัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกิดจากความฝังใจ พอมีใครพูดถึงนิวเคลียร์ คนก็มักจะวาดมโนภาพไปถึงลูกไฟดอกเห็ดขนาดใหญ่ ที่เกิดจากการทิ้งระเบิดปรมาณู ที่ประเทศญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งที่มันเป็นคนละเรื่องกันเลย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหนก็ตาม มันไม่มีทางที่จะเกิดการระเบิดเป็นลูกไฟ เหมือนอย่างที่เราเห็นในสารคดีโทรทัศน์ได้เลย”
ดร.มนูญ อร่ามรัตน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันหนักแน่น
ดร.มนูญบอกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กับระเบิดนิวเคลียร์ ทำจากวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้เชื้อเพลิงที่ทำจากยูเรเนียม 235 ที่มีความเข้มข้นแค่ 3%
ส่วนระเบิดนิวเคลียร์ หรือระเบิดปรมาณู ต้องสร้างจากยูเรเนียม 235 ที่มีความเข้มข้นประมาณ 97%
ฉะนั้น เมื่อเอามาใช้ในโรงไฟฟ้า โอกาสที่จะระเบิดแบบปรมาณูจึงไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้
ส่วนที่กลัวกันว่าเมื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ไม่กลัวจะเกิดปัญหาเตาปฏิกรณ์รั่วไหล แล้วสารกัมมันตรังสีแพร่กระจายในบรรยากาศเหมือนอย่างโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลหรืออย่างไร?
“ประชาชนทั่วไปแทบไม่ต้องกลัวเลย...คนที่น่าจะกลัวเรื่องนี้มากที่สุดก็คือ เจ้าของโรงไฟฟ้า”
เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ อธิบายต่อว่า เมื่อเกิดมีปัญหาการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี โรงไฟฟ้านั้นจะถูกปิดตาย
“การจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกโรงในโลกนี้ จะมีการเน้นเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยมากที่สุด พลาดไม่ได้ เพราะถ้าพลาดขึ้นมาโรงไฟฟ้าจะถูกปิดถาวร ผู้ประกอบการจะล้มละลายทันที”
ประเด็นที่ชาวบ้านไม่ต้องกลัว ดร.มนูญยกตัวอย่าง อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรง ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงบนโลกใบนี้มา 2 ครั้ง
ครั้งแรก เกิดอุบัติเหตุกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ไมล์ไอร์แลนด์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี 2522...ไม่มีผู้เสียชีวิต
ครั้งที่สอง เกิดอุบัติเหตุกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล ของสหภาพ โซเวียตรัสเซีย เมื่อปี 2529 (แต่ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 31 คน
“สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งคล้ายกัน เกิดจากการทดลอง อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสหรัฐฯนั้น ทางบริษัทเจ้าของโรงไฟฟ้าต้องการทดลองระบบประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย”
ส่วนของเชอร์โนบิล ต้องการทดลองในแบบคล้ายๆกัน คือต้องการทดลองดูว่า ถ้าเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้นมา สหรัฐอเมริกากับรัสเซียยิงอาวุธนิวเคลียร์ใส่กัน ถ้าต้องหยุดเครื่องและเปิดเดินเครื่องไฟฟ้ากะทันหัน แบบไม่ต้องพึ่งพาระบบไฟฟ้าสำรอง โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลจะทำได้หรือไม่
ปมปริศนาของอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เพิ่งเป็นที่รับรู้กันในหมู่นักวิชาการนิวเคลียร์เมื่อต้นปีนี้ หลังจากถูกปิดเงียบไปนานร่วม 20 ปี ...จากการเข้าไปตรวจสอบของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ของไทยเป็นหนึ่งในทีมสอบสวนด้วย
หลายคนอาจจะสงสัย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำไมจึงต้องมีการทดลอง... สาเหตุก็มาจากเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นของใหม่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงแรกของโลก มีขึ้นที่รัสเซีย เมื่อปี 2497 นี่เอง
เมื่อเป็นของใหม่ การทดลองปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาให้ได้ โรงไฟฟ้าดีที่สุด ประหยัดสุด ปลอดภัยสุด ให้ผลตอบแทนสูงจึงเกิดขึ้นตลอดเวลา
“การทดลองนั้น ความจริงต้องทำในห้องทดลอง แต่เมื่อเอาของจริงมาทดลอง ปัญหาก็เลยเกิด เพราะต้องมีการตัดระบบความปลอดภัยออกไป ถ้าไม่ตัดก็ทดลองไม่ได้
การทดลองในสหรัฐฯเกิดอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์หลอมละลาย แต่โชคดีไม่มีใครเป็นอะไร โรงไฟฟ้าถูกปิดถาวร
ส่วนโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ก็เกิดปัญหาแบบเดียวกันเตาปฏิกรณ์ เกิดการหลอมละลาย จนทำให้หม้อต้มไอน้ำที่จะไปปั่นไฟฟ้าเกิดระเบิด ระเบิดเฉพาะหม้อต้มไอน้ำ เตาปฏิกรณ์ไม่ระเบิด เลยทำให้มีคนเสียชีวิต 31 คน และมีสารกัมมันตรังสีฟุ้งกระจายไปทั่วหลายประเทศ”
ผลของอุบัติเหตุของสหรัฐฯกับที่เชอร์โนบิล...ต่างกัน
โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเก่า รุ่นแรก ที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีการสร้างอาคารครอบเตาปฏิกรณ์
ส่วนของสหรัฐฯเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นใหม่กว่า สร้างแบบมีอาคารครอบเตาปฏิกรณ์...เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา อาคารครอบจะปิดตาย ป้องกันไม่ให้รังสีฟุ้งกระจายออกมาภายนอก
หลังเกิดอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล...โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกโรง ถูกสร้างให้มีอาคารครอบ
เมืองไทยถ้าคิดจะสร้างก็ต้องสร้างแบบมีอาคารครอบ มีระบบความปลอดภัยพร้อมมูลตามมาตรฐานสากล จะสร้างชุ่ยๆ แบบไทยๆไม่ได้... ไม่อย่างนั้น IAEA เขาไม่รับรอง
และที่ห่วงกันว่ากัมมันตรังสีฟุ้งกระจายเป็นยังไง ดร.มนูญ บอกว่า...คนที่เสียชีวิตจากเชอร์โนบิลไป 31 คน เสียชีวิตเพราะแรงระเบิดของหม้อต้มไอน้ำ ไม่เกี่ยวกับกัมมันตรังสีเลย
การสำรวจผลกระทบของกัมมันตรังสีที่ฟุ้งกระจาย โดยองค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2546 สำรวจทั้งในยูเครน รัสเซีย เบลารุส ซึ่งเป็นพื้นที่มีสารกัมมันตรังสีตกสู่พื้นในปริมาณสูง พบว่ามีอัตราการเป็นมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ในเด็กสูงขึ้นกว่าอัตราปกติ นับตั้งแต่ ปี 2529 เป็นต้นมา...แต่มากขึ้นเท่าไร ตัวเลขเห็นผลไม่ชัดเจน
กระนั้นก็ตาม...สิ่งที่ไม่น่าห่วงก็คือ โรคมะเร็งชนิดนี้โดยปกติจะไม่ทำอันตรายให้คนเสียชีวิตได้ และสามารถรักษาให้หายได้ โดยการให้กินไอโอดีน
จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้ ดร.มนูญ เชื่อว่า ถ้าตัดกลัว...จากความเข้าใจผิดจนเกินจริงออกไปได้...โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ปลอดภัยที่สุด
อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของคนทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากตัวโรงไฟฟ้าเลย...และถ้าเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้ว ก็ยังมีอาคารครอบเป็นระบบป้องกันอันตรายไม่ให้รั่วไหลออกมาได้
และถ้าคิดมักง่ายแบบคนไทย...ถึงมันจะรั่วไหลก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรมากมายเลย
คนใน 3 จังหวัดภาคใต้ ตายมากกว่าเชอร์โนบิลระเบิดเสียอีก
18 ต.ค. 50 / 18:46
0 0
padfoots [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 341158 58.64.109.34

#17# - 341918 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ...เห็นนักการเมืองไทยแต่ละคนแล้วเป็นห่วงอนาคตประเทศชาติ...
21 ต.ค. 50 / 06:21
0 0
ผีรำพึง [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 341918 58.9.170.111

#18# - 342002 [icon-addtodelete : 101 bytes]
#10

มันไม่ได้มีพลังพอที่จะทำให้เกิดระเบิดเป็นระเบิดนิวเคลียร์หรอกครับ - -"

คนไทยหลายๆคนที่มาต่อต้านกันปาวๆ คงยังไม่รุ้สินะว่าประเทศไทยมีเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์อยู่เครื่องนึงแล้ว แถมอยู่ในกทม. ใต้จมูกเรานีเอง คือที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ใกล้ม.เกษตร เปิดมานานแล้วด้วยเพื่อการวิจัยและผลิตสารIsotopeรังสี ถ้ามันอันตรายอย่างที่วิตกจริตกันจริงๆล่ะก้อ ป่านนี้ม.เกษตรคงเต็มไปด้วยกัมมันตรังสีแล้ว - -"

สร้างไปเหอะอย่าคิดมาก แต่ขอให้บำรุงรักษาอย่างดี อันตรายมันก็ไม่เกิดแล้ว
21 ต.ค. 50 / 13:36
0 0
Abyssmal[Humanist]
followup id 342002 125.26.81.246

#19# - 342003 [icon-addtodelete : 101 bytes]
ถ้าถามว่าเอามาไว้ข้างบ้านผมไหม

ผมขอตอบว่าเอามาเลยครับ ยังดีกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือน้ำมัน
21 ต.ค. 50 / 13:37
0 0
Abyssmal[Humanist]
followup id 342003 125.26.81.246