|
|
#83# - 670880 |
|
|
|
|
2. ความเห็นที่แท้จริงของแซร์
ผมเข้าใจว่า ที่ unsterblich อ้างอิงว่า "ประชาชนยังไม่พร้อยถ้ารีบเปลี่ยนเกินไปนักการเมืองจะอาศัยความไม่เข้าใจของประชาชนมาทำให้การปกครองเป็นแบบเผด็จการ เเละ เกิดการ คอร์รัปชั่น"
ผมขอยกข้อความส่วนหนึ่งของ แซร์ ที่ตอบกลับพระราชหัตถเลขาร.7 มาเพื่อให้เห็นแนวคิดของแซร์จริงๆ ครับ
"What works well in Great Britain might work disastrously in Siam. Siam should not slavishly copy the system of any Western nation, but should evolve out of her own experience what seems best adapted to her own genius and conditions."
ที่แซร์เขียนก็เขียนได้ดีสมเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ครับ แต่ต้องดูบริบทหน่อยนะครับ ว่าร.7 เขียนไปหาแซร์ว่ายังไง
ร.7 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยากัลยาณไมตรี ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2469 ความว่า (จากหนังสือ การเมืองการปกครองไทยสมัยใหม่, ชัยอนันต์ สมุทวาณิช หน้า 219, 2522 โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจเด็ดขาดในทุกสิ่งทุกอย่าง หลักการข้อนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก และเหมาะกับประเทศนี้อย่างยิ่ง ตราบเท่าที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่ดี ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นอเนกนิกรสโมสรสมมติจริงก็เป็นที่หวังได้ว่าพระองค์จะทรงเป็นกษัตริย์ที่ดีพอประมาณ แต่ความคิดเรื่องอเนกนิกรสโมสรสมมตินี้ แท้ที่จริงเป็นแต่ทฤษฎีเท่านั้น ตามความเป็นจริงแล้ว กษัตริย์ของสยามครองราชย์โดยการสืบสันตติวงศ์ ซึ่งก็มีผู้จะให้เลือกที่จำกัดมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่แน่นอนว่าเราจะมีกษัตริย์ที่ดีเสมอไป ฉะนั้นอำนาจเด็ดขาดอาจกลายเป็นภยันตรายโดยตรงต่อประเทศก็เป็นได้ นอกจากนี้เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปมาก ในสมัยก่อนนั้นไม่มีการตั้งข้อสงสัยใดๆ ในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เลย เพราะจะเป็นการไม่ปลอดภัยเลยที่จะทำเช่นนั้น พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพนับถืออย่างแท้จริง และพระราชดำริของพระองค์ก็คือกฎหมายเราดีๆ นี่เอง แต่สิ่งเหล่านี้เริ่มจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นที่เกรงกลัวและ เคารพนับถือ แม้กระนั้นในปลายรัชสมัยของพระองค์ก็ยังมีคนหนุ่มคณะหนึ่งเริ่มวิจารณ์พระองค์ในหลายเรื่องด้วยกัน แต่ก็มิได้กระทำอย่างเปิดเผย ในรัชกาลที่เพิ่งจะสิ้นไปเร็วๆ นี้สภาพการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปมากด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งล้วนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเล่าต่อท่าน เพราะท่านคงจะทราบดีอยู่แล้ว พระมหากษัตริย์กลายเป็นผู้ที่ถูกหว่านล้อมชักจูงได้โดยใครก็ได้ ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับผู้ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ ข้าราชการทุกคนก็มักจะถูกสงสัยว่าทำการฉ้อฉลหรือไม่ก็เล่นพรรคเล่นพวก แต่ยังนับว่าเป็นโชคที่เจ้านายชั้นสูงยังคงได้รับความเคารพนับถือว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์อยู่ สิ่งที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ การที่ราชสำนักถูกดูหมิ่นดูแคลน และในระยะใกล้จะสิ้นรัชกาลก็กำลังจะเริ่มถูกเยาะหยัน กำเนิดของหนังสือพิมพ์ที่มีอิสระเสรีทำให้สภาพการณ์ดังกล่าวนี้ย่ำแย่ลงไปอีกมาก ฐานะของพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในความยากลำบากอย่างยิ่ง ความเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศนี้ชี้ให้เห็นสัญญาณอันแน่ชัดว่าวันเวลาของการปกครองแบบผู้นำถืออำนาจสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวใกล้จะหมดลงทุกที ถ้าราชวงศ์นี้จะอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ก็จะต้องทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์มั่นคงกว่าที่เป็นอยู่จะต้องหาหลักประกันบางอย่างในการป้องกันพระมหากษัตริย์ที่ไม่ฉลาดนัก
ดังนั้นที่พูดเกินจริงทำนองว่า "นักการเมืองจะอาศัยความไม่เข้าใจของประชาชนมาทำให้การปกครองเป็นแบบเผด็จการ เเละ เกิดการ คอร์รัปชั่น" จึงเป็นการตีความมากเกินไป โดยเอาบริบทเหตุการณ์หลังจากนั้นมาอ้างอิง เพราะถ้าตีความตามช่วงเวลาของพระราชหัตถเลขาของร.7 จะเห็นประเด็นหลักใหญ่ใจความคนละด้านเลยทีเดียว ว่า สาเหตุที่แท้ที่เคลือบฉาบบังหน้าแนวคิดที่ว่า "ประชาชนยังไม่พร้อม" คืออะไร
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในเชิงเนื้อหาแล้ว รัฐธรรมนูญที่ ร.7 ได้หารือเห็นชอบกับแซร์ เนื้อหาสาระมีทั้งหมด 12 มาตรา โดยสรุปคือ อำนาจสูงสุดยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ในขณะที่รัฐสภา สส. และนายกรัฐมนตรี กษัตริย์สามารถยุบหรือยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ ลองดู 2 มาตราแรกก็พอครับ
มาตรา 1 พระมหากษัตริย์ทรงพระราชอำนาจสูงสุดตลอดพระราชอาณาจักร
มาตรา 2 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งจะรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตลกร้ายดับเบิ้ล เมื่อพูดถึงร่างฯที่ทรงเห็นชอบกับแซร์ แท้จริงแล้ว ร.7 ทรงฝักใฝ่นิยมลัทธิฟาสซิสต์ หรือนาซี มากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เหมาะกับการการบังคับเยาวชนให้อ่อนข้อต่อการปกครองได้ง่าย (ร.7 ทรงเสด็จประพาสยุโรปช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ระยะหนึ่ง ได้พบปะทั้งมุสโสลินีและฮิตเลอร์ ลองไปตามอ่านระหว่างบรรทัดในหนังสือเสด็จประพาสต้นดังกล่าวดู) แต่จากพระราชหัตถเลขา คงเห็นว่า พระองค์ก็ทรงทราบในพระทัยดีว่า หากนำระบอบนั้นมาใช้ในห้วงเวลาเปลี่ยนผ่านรัชกาล โดยมี consequence สนุกสนานมาจากรัชกาลก่อนนั้น จะเกิดเหตุการณ์เช่นไรกับพระองค์
ผมนำข้อเท็จจริงมาให้อ่าน เพื่อถามไปดังๆ ว่า
"ใครกันแน่ที่ไม่พร้อม" |
|
|
20 ม.ค. 55 / 02:38 |
|
0
0
meed (58) : n/a : n/a : n/a |
|
|
|
|
|
followup id 670880
|
58.64.64.4
|
|
|
|