[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" จับเข่าคุยวิกฤตขาดแคลนแพทย์ ตีโจทย์ “ค่าตอบแทน-ชดใช้ทุน” "
จารยา บุญมาก

ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบราชการ ผูกโยงอยู่กับปัญหาค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในอาชีพ ภาระงานที่หนักอึ้งอย่างแยกไม่ออก กลายเป็นปัญหาใหญ่และเรื้อรังในวงการสาธารณสุขไทย ขณะที่การแก้ไขปัญหายังคงมืดมนหาทางออกได้ยากยิ่ง

“ใน 1 วัน จะมีแพทย์ 1 คน รับหน้าที่ตรวจวินิจฉัยโรคให้ผู้ป่วยประมาณ 100-120 ราย ขณะที่อัตราการกระจายแพทย์ของประเทศไทยนั้น ยังอยู่ที่แพทย์ 1 คนต่อระชากร 10,000 คน ซึ่งนับว่าขาดแคลนอย่างมาก และการเผชิญภาวะของความเหนื่อยหนักในพื้นที่ชนบท ก็ทำให้รู้ว่า ความสามารถในการแบกรับภาระของแพทย์แต่ละคนก็เริ่มลดน้อยถอยลงทุกที” นพ.ชรินทร์ ดีปินตา รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) บ้านหลวง อ.บ้านหลวง จ.น่าน และรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) น่าน กล่าวถึงการทำหน้าที่ในฐานะแพทย์ชนบทประจำโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) บ้านหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดาร

นพ.ชรินทร์ มองปัญหาในวงกว้าง ว่า ความขาดแคลนแพทย์และการรับภาระรักษาผู้ป่วยทั้งชาวไทย และคนไร้สัญชาติ เป็นเรื่องปกติของ รพช.ที่ติดชายแดนต้องพบเจอ โดยในช่วงฤดูหนาวผู้ป่วยนอกจะหลั่งไหลเข้ามามากเป็นพิเศษ ประมาณ 100-120 คนต่อวัน เนื่องจากเกิดการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจมาก และเข้าถึงยาได้น้อย จึงต้องมาเข้ารับบริการตามรพช.ที่ใกล้ที่สุด

เมื่อถามถึงกรณีที่ภาครัฐมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท หรือ CPIRD ว่า สามารถพยุงสถานการณ์ได้มากน้อยเพียงใด นพ.ชรินทร์ กล่าวว่า ตามหลักการแล้วการบังคับให้แพทย์จบใหม่ในโครงการดังกล่าวประจำการตามชนบทนานประมาณ 3 ปี เป็นโครงการที่น่ายกย่องในเรื่องของคุณภาพการศึกษาทำให้เด็กในชนบทได้เข้าสู่อาชีพแพทย์มากขึ้น และการปฏิบัติหน้าที่ช่วงชดใช้ทุนนั้นช่วยแบ่งเบาภาระของ รพ.ได้ประมาณ 20 -30% และคงจะเป็นการดีหากขยายเวลาเพิ่มเติมเพื่อให้แพทย์จบใหม่ได้ทำหน้าที่ แต่เรื่องจำนวนปีที่เหมาะสมนั้น โดยส่วนตัวมองว่า 4-5 ปี น่าจะเหมาะสม และจะดีมากหากนำโครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ หรือ ODOD ที่ต้องชดใช้ทุนนาน 12 ปี มารวมกันแล้วแบ่งงบประมาณกระจายไปให้พอ เพื่อที่จะได้นำเวลามาหารกันสองโครงการ แต่คงต้องสอบถามความเห็นของแพทย์ที่เป็นนักศึกษารุ่นใหม่ และศึกษาสถานการณ์การขาดแคลนแพทย์ในภาพรวมทั้งประเทศ

แม้ นพ.ชรินทร์ จะไม่แสดงความเห็นเรื่องของสัดส่วนค่าตอบแทนที่เหมาะสม แต่ก็ยังเชื่อเสมอว่า หาก สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหาเรื่องการขาดแคลนได้ดี การแบ่งค่าตอบแทนที่เหมาะสมก็จะตามมาเอง เพราะถึงอย่างไรความลำบากของแพทย์ในชนบทและแพทย์ในเมืองย่อมต่างกันด้วยบริบททางสังคมอยู่แล้ว

ทว่า ในมุมมองของ นักศึกษาแพทย์อย่าง นศพ.ธวัชสภณ ธรรมบำรุง นายกสหพันธ์นักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.) ระบุอย่างชัดเจนว่า หากแพทย์มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่จริงๆ ไม่ได้เกี่ยงเรื่องของค่าตอบแทนแน่นอน เพราะเป้าหมายของ นศ.แพทย์หลายคน พยายามจะเรียนต่อเพื่อพัฒนาด้านสาขาวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าโครงการ CPIRD ย่อมเป็นผลดี แต่เรื่องของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทาง สพท.ต้องขอเวลาในการรวมรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อ ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพต่อไป

ขณะที่ นพ. มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยถึงผลการหารือครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการดำเนินงานในโครงการ CPIRDว่า จำเป็นต้องมีการเพิ่มค่าปรับเพิ่มจาก 4 แสนบาท เพราะเป็นอัตราที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความสามารถในการหารายได้ของแพทย์ในปัจจุบัน และการลงทุนของรัฐบาลในการผลิตแพทย์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถึง 1.8 ล้านบาท นั้นสูงกว่าค่าปรับหลายเท่า ส่วนการขยายเวลาการใช้ทุน มีข้อเสนอให้ทบทวนการเพิ่มระยะเวลาให้รอบคอบ โดยอาจหามาตรการเสริมให้แพทย์อยู่ปฏิบัติงานครบ 3 ปี หากจะปรับระยะเวลาชดใช้ทุนเป็น 6 ปี ควรพิจารณาระยะเวลาที่จะอนุญาตให้ศึกษาต่อด้วย เพราะความต้องการไปศึกษาต่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่แพทย์ให้ความสำคัญและเป็นสาเหตุให้แพทย์ลาออกก่อนกำหนด ทั้งนี้ การไปศึกษาต่อต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000003424

มีความเห็นว่าไงกันมั่งครับ คิดว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้จริงๆหรือไม่อย่างไร??
17 ม.ค. 55 / 19:47
0 0
LightLucifer [icon smile : 92 bytes] (5178) : n/a : n/a : n/a
view 2994 : discuss 8 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 58.9.52.45

#1# - 670778 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ตอบ ในฐานะที่ ผ่านการใช้ทุนที่นราธิวาส ปีนึง แล้วย้ายไปอยู่ รพ เกาะ บ้านนอก กลางอ่าวไทย อีกสองปี

ปัจจัย ที่ทำให้อยู่ได้คือ ไม่คิดไรมาก
ปัจจัย ลบ คือ ภาระงาน เยอะเกิน การโดนโยนงาน(ถือว่าโชคดีเพราะโดนน้อย) เรื่องงี่เง่าเรียกร้องโวยวายของคนที่งี่เง่า ทั้งคนไข้และเพื่อนร่วมงาน

ส่วนรายได้ ไม่ใช่รัฐบาลบจ่ายให้
รัฐบาลเปิดระเบียบให้จ่ายค่าเสี่ยงภัย เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย
แต่ ที่มาของเงิน คือ เงินบำรุง รพ ซึ่งได้จาก เงินบริจาค เงินรายไ้ด้ รพ และเงินที่เหลือจากการบริหารแต่ละปี ซึ่งรัฐไม่ได้แก้ปัญหาไร แค่โยนภาระให้ รพ ต้องใช้สถานะความมั่นคงของ รพ เปนตัวประกันให้คนทำงาน แถมเงินได้ก้อตกเบิกอีก

สิ่งที่หล่อเลี้ยงจิตใจให้อยู่ได้คือ
ความหวังที่จะได้ย้ายไปทำงานในที่ที่อยากไป
ความหวังเอาทุนเรียนต่อ
บรรยากาศดีดีที่มีใน รพ
เพื่อนแพทย์ที่ไม่อู้งานกัน ช่วยกัน ผลัดกันลาได้ ผลัดกันฝากได้
ความสัมพันธ์ที่ดีกะคนไข้คุณลุงป้าน้าอาที่น่ารัก

ตอบในฐานะคน ลาออก มาแล้ว
สิ่งที่ทำให้ลาออก คือ มาเรียนต่อโดยไม่มีทุน รพ
มาอยู่กะครอบครัว ในสถานที่ที่ไม่มีตำแหน่งย้ายได้

สรุป เรื่องเงิน รายได้น้อย ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือ จ่ายไม่ตรงเวลา
17 ม.ค. 55 / 22:19
0 0
แปะ120 [icon smile : 92 bytes] (4090) : [ protect email from spamware ]
followup id 670778 58.64.71.131

#2# - 670789 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมว่า ใครๆก็อยากกลับบ้านฮะ
18 ม.ค. 55 / 08:31
0 0
regites [icon smile : 92 bytes] (310) : n/a : n/a : n/a
followup id 670789 180.183.242.120 <= 10.0.100.16

#3# - 670804 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ตามนั้นครับ จริงๆแล้วเพราะคนเรียนหมอส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพ จะให้เงินเดือนเท่าไหร่ สุดท้ายถึงเขาไม่อยากกลับ พ่อแม่ก็อยากให้กลับ เรื่องเงิน หาไม่ยากหรอก เดี๋ยวนี้เอกชนมีตั้งเยอะแยะ
18 ม.ค. 55 / 14:29
0 0
TheGOK [icon smile : 92 bytes] (6170) : n/a : n/a : n/a
followup id 670804 125.26.125.36 <= 127.0.0.1

#4# - 670811 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] แต่ CPIRD ทำที่ัจังหวัดตัวเองนะครับ
18 ม.ค. 55 / 18:18
0 0
LightLucifer [icon smile : 92 bytes] (5178) : n/a : n/a : n/a
followup id 670811 58.9.38.10

#5# - 670817 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] จริงๆส่วนตัวผมสนับสนุนใหัเปิดโครงการ CPIRD เพิ่มไปเลยครับ และอย่ากระจุกที่จังหวัดใหญ่ๆด้วย จังหวัดเล็กๆน้อยๆก็เอามาเถอะครับ เพิ่มโอกาสที่จังหวัดจะมีหมอเพิ่มขึ้นฮะ

หรือไม่งั้นก็ตั้้งวิทยาลัยแพทย์ไปเลย อย่าง ม.อุบล งี้ ที่มีวิทยาลัยแพทย์ของตัวเอง ถึงจะต้องยอมรับว่า การเรียนการสอนยังไม่เท่ามหาลัยอื่น ยังไม่มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเอง แต่อย่างน้อย เมื่อเรียนจบ ปริมาณคนที่จะทำงานในพื้นที่ก็คงเพิ่มขึ้น ใช่มั้ยล่ะครับ :D
18 ม.ค. 55 / 20:16
0 0
regites [icon smile : 92 bytes] (310) : n/a : n/a : n/a
followup id 670817 180.183.242.120 <= 10.0.100.16

#6# - 670819 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ถ้าทำยังงั้นได้มันก็ดีน่ะสิครับ
แต่ผมว่ามันก็น่าจะยากอยู่นะครับ กว่าจะรวมอาจารย์ กว่าจะตั้งได้และได้รับการรับรองอ่ะครับ
18 ม.ค. 55 / 20:48
0 0
LightLucifer [icon smile : 92 bytes] (5178) : n/a : n/a : n/a
followup id 670819 58.9.38.10

#7# - 670899 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] จะว่าไปเดี๋ยวนี้ไม่เห็นต้องการหมอที่มีคุณภาพเลย เพราะเดี๋ยวนี้ฟ้องร้องมันเยอะ หมอ รพช ก็ตรวจแค่โรคไม่กี่โรค โรคยากๆก็ส่งไปให้เฉพาะทางในเมืองดูโลด
20 ม.ค. 55 / 15:45
0 0
TheGOK [icon smile : 92 bytes] (6170) : n/a : n/a : n/a
followup id 670899 125.26.127.169 <= 127.0.0.1

#8# - 670909 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ถ้าจ่ายเงินตรง เหมาะสมกับงานของหมอที่ทำ ให้สวัสดิการดีๆหน่อย
ก็คงอยู่กันได้นานนะครับ อย่างน้อยก็ใช้ทุนจบ ครบ

รัฐต้องใช้เงินเท่าไหร่กัน แต่ผมว่ามันคุ้มนะครับ ที่จะแก้ปัญหาใหญ่โตขนาดนี้ได้

แล้วก็เรื่องฟ้องร้องอีกอัน เป็นสิ่งที่หมอหวั่นๆกันอยู่ไม่น้อยเลย
คือถ้าพลาดแล้วติดคุก ต่อไปคงไม่มีคนอยากเป็นหมอ เอาตรงๆ
ทำงานก็เหนื่อยอยู่แล้ว เครียดอยู่แล้ว ถ้าต้องเสี่ยงตลอดเวลาแบบนี้ก็ไม่ไหว
20 ม.ค. 55 / 20:28
0 0
ฮ.นกฮูกตาโต [icon smile : 92 bytes] (513) : n/a : n/a : n/a
followup id 670909 202.28.179.5


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]