[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" ว่าด้วย ‘การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์’ (3) "
ว่าด้วย ‘การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์’ (3)

เก่ง วงศ์กล้า
keng_wongkla@hotmail.com

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสแวะไปนั่งทานอาหารเช้า ที่โรงแรมแชงกรีลา เพื่อรอเข้าร่วม งานสัมมนาระดับนานาชาติว่าด้วยสถิติธุรกิจและอุตสาหกรรม (ISBIS 2012)

จัดโดย สมาคมสถิติธุรกิจและอุตสาหกรรมนานาชาติ (ISBIS) องค์กรลูกในสังกัดของ สถาบันสถิตินานาชาติ (ISI)

งานนี้เขาจัดกัน 2 ปี/ครั้งครับ ครั้งก่อนจัดที่ประเทศสโลวีเนีย ก่อนหน้าเป็นสาธารณรัฐเช็ก ถือเป็นโอกาสดี ที่ครั้งนี้ เวียนมาจัดในเมืองไทย โดย ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดงาน

ต้องยอมรับว่า นี่นับเป็นอีกเวทีหนึ่ง ที่ผู้จัดมีศักยภาพสูงเหลือเกิน ในการรวบรวมนักวิชาการ จากทั่วทุกมุมโลก มิใช่ในแง่ของการดึงดูดมือใหม่ ให้ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอ แต่เป็นการเชื้อเชิญมือเก๋า ให้มาบรรยายในแต่ละหัวข้อ

ชนิดที่อัตราส่วนแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 3 ปลายๆ ถึง เกือบ 6 ต่อ 1 เริ่มจากจำนวนวิทยากรรับเชิญ ที่มีมากถึง 105 คน ในขณะที่ผู้ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอ มีอยู่เพียง 29 คน

การจัดห้องสัมมนา ในแต่ละช่วงเวลา ห้องสัมมนาจำนวน 5 ห้อง จึงถูกแบ่งให้กับ วิทยากรรับเชิญ มากถึง 4 ห้อง มีเพียง 1 ห้อง เท่านั้น ที่กันไว้สำหรับ ผู้ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอ

กล่าวโดยภาพรวม 48 เซสชั่น ตลอดการสัมมนา ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 21 มิถุนายน จึงมีเซสชั่นของวิทยากรรับเชิญ ปาเข้าไปถึง 41 เซสชั่น ส่วนผู้ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอ มีพื้นที่เพียง 7 เซสชั่น เท่านั้น

ว่างๆ ก็ลองนั่งคำนวณงบประมาณดูสิครับ ว่ามันจะอักโขขนาดไหน จัดในโรงแรมระดับดาว 5 ดวง ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 วัน คัดสรรนักวิชาการจากทั่วทุกมุมโลก มากถึง 105 คน พูดได้คำเดียวว่า งานนี้... เขาไม่ธรรมดาจริงๆ

สำหรับท่านที่มีประสบการณ์ที่ไม่สู้ดี กับการประชุมวิชาการเผาผี ที่จัดกันอย่างดาษดื่นในบ้านเรา อย่าเพิ่งด่วนสรุป คิดเอาเองว่างานนี้ ก็คงดีแต่เปลือก เพราะบทความที่เขาคัดมานำเสนอ ก็ล้วนแล้วแต่เข้าข่าย ไม่ธรรมดา เช่นเดียวกัน

บทความชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ และเก็บมาฝากกันในวันนี้ ไม่ใช่ของศาสตราจารย์ชาวต่างประเทศที่ไหนดอกครับ แต่เป็นนักวิชาการชาวไทยนี่แหละ จำนวน 3 คน หน้าเดิมๆ ช่วงหลังนี้พบเห็นบ่อยเหลือเกิน ตามงานประชุมวิชาการ

นายกิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ, นายธนพร ศรียากูล และ ดร.ชยงการ ภมรมาศ สำหรับ 2 คนแรก หลายท่านอาจคุ้นหูคุ้นตา เพราะเพิ่งจะร่วมกันออกแถลงการณ์ ในนาม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปไม่นานนี้

เรื่องที่นำเสนอก็คือ “Minimum Wage and Nation’s Economic Competitiveness: An Empirical Discourse Analysis”

แปลเป็นภาษาไทยว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ: การวิเคราะห์วาทกรรมในเชิงประจักษ์

นำเสนอเป็นบทความที่ 5 ของเซสชั่น 6 หัวข้อ สถิติในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ห้องอินโดนีเซีย ช่วงสายของวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน

ภาพรวมของบทความ เป็นความพยายามเปิดเผย ให้เห็นถึงตรรกะที่ผิดพลาด ของสิ่งที่เรียกว่า “วาทกรรม” ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง “อัตาค่าจ้างขั้นต่ำ” กับ “ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ”

ลำดับการนำเสนอ เริ่มจากการกล่าวถึง วาทกรรม และการวิเคราะห์วาทกรรม ตามด้วย วาทกรรมว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

ว่านับจากการประกาศนโยบาย ประกันรายได้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของผู้ใช้แรงงาน อยู่ที่ 300 บาทต่อวัน ของพรรคเพื่อไทย ในการหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ถูกยกมาเป็นประเด็นในการต่อสู้

ระหว่างฝ่ายผู้คัดค้าน ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ว่าจะส่งผลกระทบในทางลบ ต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ และภายในประเทศ

อาทิ นายอาทิตย์ วุฒิคะโร นางนันทวัลย์ ศกุลตนาค นายดุสิต นนทนาคร และ นายธนิต โสรัตน์ ที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ประเทศไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ด้านการดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนจะชะลอตัว จนอาจรุนแรงถึงขั้นปิดกิจการ นักลงทุน โดยเฉพาะญี่ปุ่น อาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คำนวณผลกระทบมีมูลค่าสูงถึงราว 1 แสนล้านบาทต่อปี

เช่นเดียวกับการส่งออก ที่ กรมส่งเสริมการส่งออก ชี้ว่า นโยบายดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกในไตรมาส 4 และในระยะยาว จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศลดลง

โดยอ้างอิงผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อาจดันให้ค่าแรงของสินค้าส่งออกของไทย สูงขึ้นโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 28

ขณะที่ฝ่ายผู้สนับสนุน อาทิ นายชาลี ลอยสูง นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

ที่ย้ำถึงช่องว่างระหว่าง การเพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปี ของอัตราเงินเฟ้อสะสม และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสะสม ราวร้อยละ 1.9 กดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราค่าจ้างที่พอเพียงกับค่าครองชีพ

รวมถึง ศาสตราจารย์ ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ซึ่งก็ตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ แล้วต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ย มาจากค่าจ้างขั้นต่ำไม่เกินร้อยละ 10 เท่านั้น

ด้วยการนำข้อมูลอนุกรมเวลา ที่ได้รับการรวมรวมไว้แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 136 เดือน ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ.2543 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2554 ของทั้ง 5 ตัวแปร ได้แก่

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรม การนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ และ การส่งออก

มาวิเคราะห์ในเชิงประจักษ์ ด้วยวิธีวิทยาเชิงปริมาณขั้นสูง การวิเคราะห์ถดถอย การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว ด้วยวิธีของโจฮานเซน และการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลรายคู่ ด้วยวิธีของแกรนเจอร์

การวิเคราะห์ในชั้นต้น ด้วยการวิเคราะห์ถดถอย พบว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับทั้ง 5 ตัวแปร

ทั้งนี้ เมื่อนำมาทดสอบซ้ำ ด้วยการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว ด้วยวิธีของโจฮานเซน กลับพบว่ามีเพียงการส่งออกเท่านั้น ที่ยังคงมีความสัมพันธ์ กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่

ทั้งนี้ ผลการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลรายคู่ ด้วยวิธีของแกรนเจอร์ ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กับการส่งออก เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน กล่าวก็คือ แปรผันตรง มิใช่แปรผกผัน

หมายความว่า แม้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่จะเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน 85 บาท ยังคงมีความเป็นไปได้ว่า อาจทำให้มูลค่าการส่งออกสูงขึ้นโดยทันทีไม่ถึง 20,046.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ก็พอที่จะยืนยันในเบื้องต้นได้ว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว ก็มิน่าที่จะเป็นเหตุให้มูลค่าของการส่งออกปรับตัวลดลง เช่นเดียวกัน

กล่าวโดยสรุป งานนี้ ทั้งหน่วยงานราชการ นักธุรกิจ และสถาบันการศึกษา นอกจากจะหน้าแตก หมอไม่รับเย็บแล้ว ยังกลายสภาพไปเป็นจำเลยของสังคม ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต (ซ้ำ) วาทกรรมดังกล่าว อีกด้วย

ก่อนจากกันไป ผู้เขียนทิ้งท้ายแกมส่งสัญญาณไว้ด้วยว่า “ด้วยการนำไปประยุกต์ใช้ให้กว้างขวาง ในฐานะเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบ พร้อมๆ กับการป้องปรามการผลิต (ซ้ำ) วาทกรรม ในลักษณะเช่นเดียวกันนี้

นอกจากจะยังให้เกิดความหวัง ว่ามวลชนจะสามารถเข้าถึงความตื่นรู้ได้ง่ายและมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังอาจปลุกเร้าให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ อันเป็นเงื่อนไขประการสำคัญของกระบวนการการพัฒนาแนวพินิจนี้ต่อไป อีกด้วย”

เล่นกันแรงๆ อย่างนี้ แรกๆ ก็อาจจะมีคนไม่พออกพอใจอยู่บ้าง หนักข้อสักหน่อย ก็อาจถึงขั้นโต้ตอบกันเสียๆ หายๆ

แต่ในระยะยาว ใครก็ตามที่ชอบพูดหรือเขียนอะไรพล่อยๆ ก็คงจะได้สำเหนียกมากขึ้น ว่าจะทำอย่างเคยๆ ไม่ได้อีกแล้ว !!!

--------------------------------------

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2555 หน้า 6
04 ก.ค. 55 / 13:20
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
view 2741 : discuss 24 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 158.108.233.243

#1# - 673338 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] Hold your horse, bro!!! 555

ก่อนอื่นขอบอกในฐานะอดีตนักวิจัยที่ใช้สถิติทำงาน ผมไม่เชื่อความสัมพันธ์ทางสถิติเท่าไหร่ครับ.... วิธีการที่นักวิจัยหลายคนใช้ก็คือการปู้ยี่ปู้ยำข้อมูลจนกว่าผลจะออกมาตามที่ต้องการ
Granger Method เนี่ยก็แล้วแต่จะเลือก time lag, ตัวแปรควบคุมก็ใส่เข้าถอดออกจนกว่าจะได้

อีกส่วนที่น่าสงสัยก็คือ มีคำอธิบายรองรับหรือไม่ครับ
ผมว่ามันไม่มีเหตุผลเอาเลยที่ค่าแรงขึ้นแล้วทำให้ขายได้มากขึ้น หรือขายได้เท่าเดิม

ตามปกติธุรกิจจะได้ลูกค้าก็จากถ้าไม่ราคาถูกกว่า ก็ต้องคุณภาพดีกว่า (การตลาด การขาย สินค้า บริการ ขนส่ง ฯลฯ) ไอ้ขึ้นค่าแรงเนี่ยมันไปมีผลให้ส่งออกมากขึ้นได้อย่างไร?

ผมว่าการที่ส่งออกมากขึ้นเนี่ย หรือยังเท่าเดิมได้ มันไม่ได้สัมพันธ์กับค่าแรงตามที่บทความนั้นอ้างแน่ครับ
มันคงเกิดจากอย่างอื่นซะมากกว่า (เช่น ค่าเงิน คู่แข่ง ปริมาณ Demand)

นอกจากนั้น ค่าแรงเนี่ย มันขึ้นแค่กรุงเทพและปริมณฑลไม่ใช่เหรอครับ แล้วทำไมมันถึงมาใช้เป็นตัวแทนค่าแรงทั้งประเทศได้??
04 ก.ค. 55 / 19:18
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673338 110.49.233.152

#2# - 673339 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] นอกจากนี้....ค่าแรงเราขึ้นทุกปี และเศรษฐกิจโลกก็โตทุกปี การมี่ปริมาณการส่งออกของไทยจะโตขึ้น (แม้ค่าแรงจะสูงขึ้นบ้าง) ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ
04 ก.ค. 55 / 19:51
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673339 110.49.233.152

#3# - 673342 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #1# และ #2#

ตามนั้นเลยครับ หลักๆ ก็ไม่มีอะไรเห็นต่างหรอกครับ ซึ่งงานที่ผมกล่าวถึง เขาก็ไม่ได้บอกว่ามันสัมพันธ์กัน เอาเข้าจริง เขาพยายามจะเน้นว่า มันไม่สัมพันธ์กัน เพื่อเถียงหลายท่านเหลือเกิน ที่ออกมาโวยวายอย่างนั้นอย่างนี้ ว่ามันจะกระทบ ส่งผลมหาศาล เลวร้ายขนาดเจ๊งกันเป็นแสนๆ ล้าน ตกหวบหาบกันตั้งแต่ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว

อธิบายกันสั้นๆ แบบนี้ อาจงง เอาเป็นผมหาบทความฉบับเต็มมาให้ดีกว่า แต่สุ่นวายหน่อย ที่เรื่องนี้เลย เอกสารประกอบการประชุมเขาไม่มีลงเรื่องเต็ม ลงแต่บทคัดย่อ เข้าใจว่าจะยังไม่ได้พิมพ์ ได้มาแต่ที่แยกเป็น 2 ระยะ แบ่งออกเป็น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก <http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1946889>; กับการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศ <http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1970463>; ลองอ่านดูครับ น่าจะชัดเจนดีกว่าเป็นไหนๆ
05 ก.ค. 55 / 00:24
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673342 27.130.124.209

#4# - 673343 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมว่าที่สรุปว่าไม่มีความสัมพันธ์ก็ไม่ถูกต้องครับ เดี๋ยวมีเวลาแล้วจะลองดูเปเปอร์เต็ม

แต่ในฐานะสื่อ ผมว่าไม่ค่อยถูกที่ลงเผยแพร่ว่ามันเป็นอย่างนั้นครับ มันดูบิดเบือนข้อเท็จจริงเกินไปหน่อย เอาแค่สามัญสำนึก และสิ่งที่เราพบเห็นอยู่ก็พอแล้ว โรงงานที่ย้ายการผลิตทั้งไทยและเทศ คนที่จะลงทุนก็ต้องเปรียบเทียบ....และอื่นๆ

ที่สำคัญที่สุด การจะทำงานเชิงสถิติมันต้องมีทฤษฎี/สมมติฐานรองรับ มันรันมั่วอย่างงี้ผลมันก็มั่วไปได้เรื่อยยเลยครับ แค่เพิ่ม/เปลี่ยนตัวควบคุม ผมมั่นใจเลยว่าสามารถทำให้ผลกลายเป็นตรงข้ามแน่นอน

ไว้จะไปอ่านแล้วมาโวยวายเพิ่มครับ
05 ก.ค. 55 / 05:00
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673343 110.49.233.152

#5# - 673344 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] กดไปอ่านแล้วไม่มีบทคัดย่อครับ... :(
05 ก.ค. 55 / 05:02
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673344 110.49.233.152

#6# - 673345 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #4# และ #5#

มี 2 ประเด็น สำหรับ 2 กระทู้... (แอบเล่นคำเล็กๆ)

ประเด็นแรก ผมว่าออกจะแรงไปสักนิด สำหรับการวิจารณ์ว่ามันเป็นการ "รันมั่ว" เนาะ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้อ่านบทความฉบับเต็ม เรียกว่ายังไม่เห็นที่มาที่ไป ข้อมูล รวมถึงกระบวนการของเขาเลย ที่สำคัญ ผมเองค่อนข้างจะสนับสนุนแนวทางแบบนี้นะครับ เพราะแม้สถิติมันจะมีช่องว่าง ซิกแซกกันได้ ในฐานะคนทำย่อมเข้าใจดี แต่อย่างน้อย มันก็มีอะไรเป็นหลักยึด ที่แน่ๆ ดีกว่าสามัญสำนึก หรือเรียกสั่นๆ ว่า "มั่ว" เอาเอง ว่าไหมครับ
ประเด็นที 2 ไม่รู้ว่าทำไมเข้าไม่ได้เหมีนกัน ลองก็อปปี้ลิงค์มาให้ใหม่ สำหรับ "ข้อเสนอเชิงประจักษ์ว่าด้วย อำนาจ ความรู้ และความจริง ของความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก" <http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1946889>; และ "การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศ" <http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1970463>; แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ลองค้นในกูเกิ้ล หรือไม่งั้นก็เข้าฐานข้อมูลของ SSRN แล้วค้นหาชื่องาน ไม่ก็ชื่อคนเขียนเขาละครับ น่าจะไม่ยาก

อ่านแล้วมาโวยใหม่นะครับ...
05 ก.ค. 55 / 07:23
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673345 27.130.124.209

#7# - 673346 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ลองกดลิงค์ดูแล้ว ถ้าขี้เกียจ กดที่ลิงค์เลย มันจะขึ้นว่าไม่พบครับ ต้องคัดลอกเอาไปเปิดในเบราเซอร์หรือหน้าใหม่ ก็จะขึ้นตามปกติ ลองดูนะครับ
05 ก.ค. 55 / 07:27
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673346 27.130.124.209

#8# - 673347 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ฮืมมม...ที่เขียนไปก่อนหน้า เป็นการเดาเอาเองครับว่า "มั่ว"... ต้องขออภัยด้วยครับที่ว่าไปก่อน (แต่ผมก็ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่เห็นว่าตัวแปรที่ใช้ไม่มีความเหมาะสม ใช้ความรู้สามัญสำนึกทางธุรกิจที่เป็นเหตุเป็นผลในการเดา)

แต่ไปอ่านมาแล้วครับ... พูดได้เต็มปากเต็มคำแล้วครับว่ามั่วจริงๆ ไม่มีทฤษฎี และเหตุผลสนับสนุนในการเลือกตัวแปรเลยครับ

ที่ผมสันนิษฐานไว้อีกเรื่องก็ไม่ผิด ใช้ค่าแรงในเขตกรุงเทพ แต่ยอดส่งออก และยอดเงินลงทุนดันใช้ทั้งประเทศ

ที่ผู้เขียนเขียนไว้ในบทอภิปราย เช่น "นี่ยังเป็นตัวอย่างหนึ่งของการต่อสู้เชิงวาทกรรม ว่าด้วยความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และการกดขี่ทางชนชั้น อันเป็นรากเหง้าของปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญของประเทศไทย ด้วยการอาศัย อำนาจหน้าที่ ในการทำให้ทรรศนะของตน กลายสภาพเป็นความรู้ รวมถึงความจริงครอบงำสังคม"
สมควรเก็บไว้อ่านเองครับ
05 ก.ค. 55 / 08:20
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673347 125.24.19.173

#9# - 673352 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ถ้าสิ่งที่ผมวิเคราะห์ผิดอย่างไรก็มาบอกด้วยนะครับ ถือเป็นวิทยาทานแก่ผมด้วย

แต่ถึงจุดนี้ผมสงสัยจริงว่าผู้เขียน (กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ ธนพร ศรียากูล และชยงการ ภมรมาศ) ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง หรือแกล้งไม่รู้?

บทความที่ทั้ง 3 ท่านเขียนไม่น่าเรียกว่า "วิจัย" เลยครับ ควรจะเรียกว่า "การทดลองทางสถิติเพื่อหาผลมาสนับสนุนจนกว่าจะได้สิ่งที่ตนเชื่อ" จะดีกว่า เพราะไม่มีแม้แต่ Literature Review เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของค่าแรงขั้นต่ำกับสภาพเศรษฐกิจ (เปิดดูรายการอ้างอิง ก็เป็นหลักฐานชัดเจน) ตัวแปรที่ใช้เหมือนคิดฝันขึ้นมาเอง และตัวแปรควบคุมก็ไม่มีสักตัว

Methodology ก็อ่อนจนน่าตกใจ แยกเป็น 2 Models คงเพื่อตีพิมพ์ สงสัยถ้าเอามารวมกันแล้วจะไม่ได้ผลที่ต้องการหรือเปล่า
Operationalization ของตัวแปรก็แย่อย่างที่ชี้ให้เห็นว่าใช้ค่าแรงในเขตกรุงเทพ แต่ใช้ค่าเงินลงทุนและส่งออกของทั้งประเทศ

ดูแค่นี้ก็ไม่ต้องดูการวิเคราะห์และอภิปรายแล้วครับ.....

แล้วคนที่นั่งฟังอยู่ และคนให้ตีพิมพ์นี่ ไม่มีใครถาม ไม่มีใครสงสัยเลยเหรอครับ?

เห็นแล้วของขึ้น... พูดอะไรแรงไปก็ขออภัยด้วยครับ
05 ก.ค. 55 / 09:05
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673352 125.24.19.173

#10# - 673360 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #8# และ #9#

แอบเข้าใจความรู้สึกของผู้ที่ศึกษามาทางเศรษฐศาสตร์ครับ ว่าจุดสนใจ รวมถึงการทำความเข้าใจ ค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก กับผู้ที่ศึกษามาทางสังคมศาสตร์

อธิบายง่ายๆ อย่างนี้ครับ สำหรับการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ทำนองนี้ นักเศษฐศาสตร์จะเริ่มจากการค้นหาสารพัดทฤษฎี ว่ามีอะไรที่มารองรับหรือไม่ จากนั้นก็วิเคราะห์หาสารพัดตัวแปร ว่าอะไรที่มันมีความสัมพันธ์บ้าง มากบ้าง น้อยบ้าง ก็ว่ากันไป ท้ายที่สุด ก็จะได้โมเดลเท่ห์ๆ ออกมา 1 ชุด อธิบายได้ดีน่าเชื่อถือทีเดียวครับ ว่าค่าความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น มีปัจจัยอะไรบ้าง ค่าแรงมันมีส่วนไหม ซึ่งก็คงตอบว่ามีแน่ๆ แต่เท่าไหร่ไม่รู้

ฉะนั้น การที่มีใครออกมาสวน บอกว่าค่าแรงไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถดังกล่าวของชาติเช่นนี้ จึงขัดใจ๊ขัดใจ แต่เชื่อไหมครับว่า...

โจทก์ของนักสังคมศาสตร์ ที่เขาสนใจทำกันในทความเรื่องนี้ เราตั้งต้นจากการบอกว่า มีผู้หลักผู้ใหญ่ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญหลายคนเลย ออกมาโจมตีว่านโยบายปรับค่าแรงเป็น 300 บาทนี้ จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ลงอย่างหนัก และไม่ใช่ว่าจะย่ำแย่ในอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้านะ บอกกันว่าจะแย่กันตั้งแต่ปีที่แล้วเลยหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ ารทบทวนวรรณกรรม หรือสารพัดทฤษฎีที่นักเศรษฐศาสตร์เคยชิน สำหรับนักสังคมศสต์ที่ต้องการพิสูจน์สิ่งที่เรียกว่า "วาทกรรม" มันจึงเป็นการค้นหาคำพูดทั้งหลายที่ว่า ว่าเขาพูดว่าขึ้นค่าแรงแล้ว อะไรที่จะมีปัญหาบ้าง ตั้งแต่การส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งก็คือตรรกะของการเลือกตั้วแปรนั่นหละครับ

การวิเคราะห์ที่ใช้ ไม่ใช่เพื่อจะบอกว่ามันไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเลยนะ แต่พยายามจะบอกว่า มันไม่ได้มีความสัมพันธ์ หรือสำคัญอะไรขาดนั้น ขนาดที่ตัวแปรเดียวจะพังทั้งระบบหมือนที่กาทบทวนวรรณกรรมบอกไว้ ว่าใครพูดอะไรไว้บ้าง

ลองนึกๆ ดูนะครับ แลกเปลี่ยนกัน สนุกดี ผมก็จะได้พลอยตระหนักให้มากขึ้นด้วย เป็นวิทยาทาน... เช่นเดียวกันเนอะ !!!
05 ก.ค. 55 / 19:08
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673360 158.108.224.161

#11# - 673361 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] หลังจากโพสต์เมื่อเช้าพึ่งกดดู profile ของ finn จึงพึ่งรู้ครับว่าเป็นคนเขียนบทความนั้นเอง ดีครับ จะได้แลกเปลี่ยนกันตรงๆ

การศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรนั้นต้องยอมรับเลยครับว่าก่อนที่ finn จะตอบมานั้นผมไม่เคยคิดถึงเลย ขออนุญาตไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนครับว่ามันครอบคลุมอะไรบ้าง แล้วจะกลับมาคุยด้วย

ที่่ผมติดใจอยู่คือ regression ที่ run มานั้นเป็นการทดสอบว่าตามเหตุการณ์ในอดีตหากค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นแล้วจะส่งผลให้การส่งออกลดลงหรือไม่ ซึ่งเป็นสมมติฐานทางเศรษฐศาสตร์อย่างแน่นอน

หากจะดูตามที่ finn พูดมาไม่ต้อง run regression เลยครับ แค่รอดูว่าผลมันออกมาจริงหรือไม่ก็พอ
05 ก.ค. 55 / 20:22
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673361 110.49.233.152

#12# - 673362 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผม google ดูคำว่าสังคมศาสตร์แล้วครับ มาจากภาษาอังกฤษว่า social science ออกจะเป็นการเรียกถึงกลุ่มวิชาซึ่งรวมเศรษฐศาสตร์เข้าไปด้วย ถ้างั้นการที่จะบอกว่าเศรษฐศาสตร์มีเป้าหมายไม่เหมือนกับสังคมศาสตร์นั้นน่าจะเป็นคำพูดที่คลาดเคลื่อนครับ

หรือ finn จะหมายถึงสังคมวิทยาครับ?
05 ก.ค. 55 / 20:45
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673362 110.49.233.152

#13# - 673363 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #11# และ #12#

ยินดีอย่างยิ่งครับที่จะได้แลกเปลี่ยนกัน... เอาเรื่องการจะรันหรือรอก่อนเนาะ ออกตัวกอนว่าโดนการเทรน ผมไม่ค่อยมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มากนัก นอกจากความเข้าใจอย่างงูๆ ปลาๆ จากการเรียนเล็กๆ น้อยๆ ครูพักลักจำจากคนรอบข้าง ก็อาศัยการช่วยเหลือจากพี่ๆ ที่เขียนงานด้วยกัน ซึ่งจบเศรษฐศาสตร์ เอกการเงินการธนาคาร มาโดยทั้ง ทั้งปริญญาตรี โท และเอก เราก็มานั่งแชร์กันอย่างนี้หละครับ ว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ เรื่องหลักการที่พยายามทำ อย่างที่บอก ว่าเป็นการวิเคราะห์ ซึ่งเอาเข้าจริง เป็นการเปิดเผยเสียมากกว่า สิ่งที่เรียกกว่า "วาทกรรม" ลองไปค้นดูใน google ก็อาจะพอพบเจอได้ไม่ยากนัก ว่ามันคืออะไร การที่เราต้องมานั่งรัน ก็เพื่อตอบโจทก์ดังกล่าว โดยอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต เพื่อจะบอกว่าเทาที่เราพบ ในช่วงเวลาประมาณ 10 กว่าปีย้อนหลังมาเนี่ย พอจะบอกได้ว่าสมมติฐานของผู้ที่ออกมร่วมกันประกอบสร้างวาทกรรมทั้งหลายนั้น เหลวไหล ไม่มีเหตุผล เรียกง่ายๆ ว่าเวอร์ครับ

ส่วนข้อเสนอแนะที่บอกว่า ง่ายจะตาย ไม่ต้องรันหรอก เดี๋ยวดูกันไป อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์มักบอกกันนั่นหละครับว่า ปรากฏการณ์ใดๆ ทางเศรษฐกิจ มันมีปัจจัยล้านแปดครับ ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นไม่เป็นไปอย่างที่เขาว่า เขาก็จะแก้ตัวว่า เหตุปัจจัยอื่นมันมาแทรก ที่สำคัญก็คือ มักไม่มีใครสนใจติดตาม ข้อที่ออกมาพูดก็ลอยไปตามลมแล้ว คราวหน้ามีอะไร ก็ออกมาโวยใหม่ อยู่กันมั่วๆ เรื่อยไปเช่นนี้ น่ารำคาญเนอะ...

ข้อต่อมา เรื่องสาขา สังคมศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ ไม่มีปัญหาครับว่าเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ แต่ข้อเท็จจริงอีกอย่างที่ต้องยอมรับก็คือ ประเด็นปัญหา จุดสนใจ วิธีการ กระทั่งลักษณะของผลการศึกษา มันไม่ค่อยจะตรงกันหรอกครับ ยิ่งในเมืองไทย ที่นักสังคมศาสตร์ไม่มีปัญญาคิดเลข นักเศรษฐศาสตร์ก็ไม่ข้าใจคำว่าสารพัดศัพท์อันสับสนที่นักสังคมศาสตร์ประดิบประดอยบัญญัติกันขึ้นมามากมาย ผมส่งบทความให้อาจารย์ทางสังคมศาสตร์อ่าน เจอตัวเลขก็บอกว่าไม่ไหวแล้ว งง ไม่รู้จักหรอก Johansen ไม่รู้จักหรอก Granger คืออะไร พอส่งให้อาจารย์เศรษฐศาสตร์อ่าน ก็บอกว่า อะไรอะวาทกรรม ล่าสุด กองบรรณาธิการกระซิบบอกมาว่าอาจารย์คนที่ 6 ถึงรับอ่านให้ ประเด็นที่คอมเม้นต์ก็ออกมาทำนองนี้แหละครับ เรื่องการรีวิว แล้วก็งงๆ สรุปมาว่า มีปัจจัยอีกมโหฬารเลยที่กี่ยวข้อง การเอาตัวแปรไม่กี่ตัวแปรมารัน ไม่ครบถ้วน ให้ไปเพิ่มมา เหมือนแกไม่ได้อ่านเลยครับว่า ที่ผมรันตัวแปรแค่นี้ เพราะต้นเรื่องมันพูดมาแค่นี้ แล้วมันก็สรุปมาว่าจะเกิดปัญหา ผมแค่พยายามจะบอกว่า มันพูดไม่เข้าท่า 555...

แลกเปลี่ยนกันนะครับ...
05 ก.ค. 55 / 21:27
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673363 158.108.224.161

#14# - 673365 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] 1. ถูกต้องครับที่ผมรู้สึกขัดใจเป็นอย่างแรงที่ข้อสรุปของบทความนี้ ตามที่ finn เขียนตอบไว้ใน #10 "ค่าแรงไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถดังกล่าวของชาติ" หรือในบทความในสยามรัฐ
"ลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กับการส่งออก เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน กล่าวก็คือ แปรผันตรง มิใช่แปรผกผัน"
ขัดทั้งความรู้ส่วนตัวของผม และขัดกับที่ finn ป็นผู้เขียนเองใน #10 ด้วยว่า "ค่าความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น มีปัจจัยอะไรบ้าง ค่าแรงมันมีส่วนไหม ซึ่งก็คงตอบว่ามีแน่ๆ แต่เท่าไหร่ไม่รู้"

คิดในแง่ดีที่สุดนี่คือความผิดพลาดในการใช้คำพูดหรือตีความ ในแง่ร้ายนี่คือการบิดเบือนการตีความข้อมูล

2. ผมยังยืนยันครับว่าไม่ต้อง run regression และก็ไม่ต้องรอ... สามารถทำได้ทันที... เช่น หากมีบุคคลอ้างว่าเศรษฐกิจจะฟุบ ฯลฯ ภายในวันนั้นวันนี้ (ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว) เราสามารถบอกได้ทันที่ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นจริงหรือไม่ มันประจักษ์ไปแล้วนี่ครับว่าไม่ได้เกิดขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
การที่บอกว่าถ้าไม่ run แล้วนักเศรษฐศาสตร์จะออกมากล่าวอ้างนั่นนี่นั้นถูกครับ... แต่ถึง run นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังออกมากล่าวอ้างอยู่ดี.. ดังนั้นการ run regression จึงไม่ใช่การแก้ปัญหาอะไรเลย

3. ผมเห็นด้วยครับว่าคนที่ออกมาพูดหลายๆคนในฝั่งคัดค้านการปรับค่าแรงในครั้งนี้พูดเกินจริง แต่ข้อสรุปของงานวิจัยนี้ยังเป็นเท็จอยู่ดี ที่ว่าค่าแรงมีความสัมพันธ์ "เป็นเหตุเป็นผล" ในเชิงบวกกับการส่งออก

4. เศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของสังคมศาสตร์ ... เหมือนผลมะม่วงเป็นส่วนหนึ่งของต้นมะม่วง... ถ้าบอกว่าผลมะม่วงลูกหนึ่งต่างกับอีกลูกหนึ่งอย่างไรนั้นผมว่ามีประโยชน์ แต่บอกว่าผลมะม่วงต่างจากต้นมะม่วงนั้น ไม่จำเป็นต้องพูดครับ มันคนละ unit of analysis ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
ผมเลยยิ่งสงสัยเข้าไปอีกครับว่าสังคมศาสตร์ที่ finn พูดถึงนั้นหมายถึงอะไร... หมายถึงสังคมวิทยา (Sociology) หรือเปล่า?
และผมยังยืนยันครับว่าสมมติฐานของการ run regression ในบทความเป็นสมมติฐานทางเศรษฐศาสตร์ แม้แต่เพียงเพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่นักวิชาการที่อ้างถึงออกมาพูดนั้นจริงหรือไม่ ก็เป็นสมมติฐานเชิงเศรษฐศาสตร์ครับ
05 ก.ค. 55 / 23:01
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673365 58.9.114.241

#15# - 673366 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #14#

ดีครับ ได้แลกเปลี่ยนกัน ก็สนุกดี เรื่องแรกก่อนเนอะ สำหรับการมีความสัมพันธ์หรือไม่มีความสัมพันธ์นั้น เราน่าจะเข้าใจได้ตรงกันกระมังว่า ด้วยวิธีการทางสถิติ เรากำลังพูดว่าด้วยค่านัยสำคัญทางสถิติที่เท่นี้ มันมีนัยสำคัญหรือไม่ มีก็ว่ามี ไม่มีก็ว่าไม่มี มันอาจจะสัมพันธ์กันนะ แต่สัมพันธ์กันไม่มากพอจะมีนัยสำคัญหรือเปล่า ทั้งนี้ ผมจำได้ว่าในบทความ Regression มันมีนัยสำคัญ แต่ปัญหาที่พส่วนใหญ่ มันเป็นความสัมพันธ์ลวง อันเกิดจากข้อมูลที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลที่มี trend ซึ่งผู้เขียนจงใจไม่ทำ first diff เพื่อ remove trend แกล้งให้มันสอดคล้องกับความรู้สึกอย่างสามัญสำนึก เพราะดูจากกราฟข้อมูลที่มี trend มันก็น่จะสัมพันธ์กัน จากนั้นจึงนำมาหา cointegration ซึ่งสามารถใช้ข้อมูที่เป็น non-stationary ได้ เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว เลยไปกล่าวถึงคู่ที่มี cointegration ผู้เขียนก็เลยลองนำมาทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล ด้วย Granger เพื่อชี้ว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันนะ ว่ากันด้วยสิ่งที่พวกผมเรียกว่า "ภาษาสถิติ" เนี่ย มันไม่น่าจะให้ผลอย่างที่ใครต่อใครพูด

สวนเรื่องที่ว่ารันแล้วนักเศรษฐศาสตร์ก็ไม่หยุดพูดอยู่ดี คิดในแง่ดี เราอาจจะยังทำไม่มากพอ ก็ลองทำให้มันมากพอ พอที่เขาจะสำเหนียกว่า พูดมั่วๆ อาจถูกด่า ซึ่งอันที่จริง พวกผมก็พยายามจี้สื่อ เรื่องการนำราคาไข่มาเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถของรัฐบาลมาสัก 2 ปีละ ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ ก็ยังไม่เห็นมีอีกนะ บทความก็ส่งไปงานประชุมของสมาคมสื่อเขาเองเลย ไม่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอหรอกครับ ก็ไปงานอื่น ลงวารสาร ลงหนังสือพิมพ์ อย่างที่ทำเนี่ยหละครับ พยายามทำกัน คิดในแง่ที่เป็นจริง ผมเป็นนักวิชาการ ถูกเทรนมาให้เป็นนักวิชาการ ไอ้คนพวกนี้มันไม่ค่อนสนสังคมเท่าไหร่หรอก มันเรียนเพื่อความรู้ ได้รู้ก็พอใจแล้ว สำเร็จประโยชน์แล้ว สังคมจะได้ผลพลอยได้ด้วยก็ยินดีด้วยนะ แต่ถ้าไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไร การเขียนเรื่องปรัชญาสำนักเยอรมันแบบที่นักวิชาการบางกลุ่มสนใจจะทำ ถามว่ามีใครได้อะไร ไม่มีหรอก เป็งานวิชาการเท่านั้น เอาแค่ว่ามันเป็นใครยังไม่มีคนค่อยจะรู้จักเท่าไหร่เลย ฮาาาา....

เรื่องต่อมา เป็นเท็จไม่เป็นเท็จ ผมก็บอกไปตามผลของสถิติหละครับ ไม่ได้เชื่อหรอกนะ แต่อย่างน้อย ผมก็มีหลักฐานอ้างอิง จริงมะ อยากย้ำอีกทีครับว่างานนี้ ไม่ได้เจตนาจะพิสูจน์ถูก แต่เป็นพิสูจน์ผิดครับ กล่าวคือ ผมไม่รู้หรอกว่าอะไรถูก ผมบอกได้แค่อะไรผิด

ส่วนสุดท้าย สังคมศาสตร์ แม้หลายครั้งมันจะถูกใช้แทนสังคมวิทยา (sociology) แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าผมหมายถึงมันนะ แต่ในความหมายของผมเนี่ย ผมหมายถึงมันในความหมายอย่างกว้าง กว้างจนใครหลายคนที่ยังติดกับกรอบของสาขาวิชา Discipline ที่เพิ่งจะแบ่งกันจนงง และทำให้เรื่องที่สาขาพล่ามัว หรือระยะหลังมักเรียกว่าสหวิทยาการ กลายเป็นเรื่องแปลกประหลาด ไม่เข้าพวก ทั้งนี้ ไอ้การรัน Regression จะเป็นสมมติฐานทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ เรียนตรงๆ ผมไม่ได้สนใจหรอกครับ มันจะเป็นสมมติฐานแบบไหนก็ช่าง ผู้เขียนเขาแค่ใช้ข้อูล และวิธีการเดียวกันกับนักเศรษฐศาสตร์นั่นแหละ มาวิเคราะห์ และปฏิเสธมัน

ส่วนมะม่วง ขอเปลี่ยนป็นมะละกอได้ไหมครับ ช่วงหลังนี้ทานอะไรแข็งๆ ลำบาก ใส่เหล็กครับ เห็นใจกันหน่อยนะ...
06 ก.ค. 55 / 01:21
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673366 158.108.224.161

#16# - 673367 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ดีครับ คุยกันแมนๆ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก
ตรงไหนผมไม่รู้ผมก็บอกว่าไม่รู้...

มะ่ม่วงสุกนี่ผมว่านิ่มพอกับมะละกอนะครับ... น่าจะเคี้ยวง่ายเหมือนกัน :)

finn อาจจะยังไม่เข้าใจประเด็นของผม ขอขยายความเพิ่มและตอบสิ่งที่โพสต์มาใน #15 ครับ

1. ไม่ควรเอาสถิติมาคุยครับ สถิติไม่สามารถพิสูจน์ความเป็นเหตุเป็นผล "Correlation does not imply causation" สิ่งที่ finn และคณะ สรุปมาในเปเปอร์นั้นผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง
ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าผมเก็บปริมาณการบริโภคข้าวของคนไทย (หรือจะมะละกอก็ได้) ในรอบ 30 ปี และสถิติการเสียชีวิต ในรอบ 30 ปี มาหาความสัมพันธ์ทางสถิติแล้วพบว่ามีความสัมพันธ์กัน... ผมสรุปได้เหรอครับว่าการกินข้าวมากขึ้นเป็นเหตุทำให้คนตายมากขึ้น?? ... ไม่ได้... เพราะมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย เช่น Demography ของคนที่อาจมีคนแก่มากขึ้นในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา เป็นต้น
เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าข้อสรุปที่เขียนมาผิด แถมยังขัดกับสิ่งที่ตัวเองเขียนใน #10 ด้วยว่า "ค่าความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น มีปัจจัยอะไรบ้าง ค่าแรงมันมีส่วนไหม ซึ่งก็คงตอบว่ามีแน่ๆ แต่เท่าไหร่ไม่รู้"

2. ผมบอกว่า run regression นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังสามารถแย้งได้... และบอกด้วยว่าไม่ต้อง run regression ก็สามารถพิสูจน์สิ่งที่ finn และคณะพยายามพิสูจน์ได้แล้วครับ

3. จริงๆแล้วประเด็นเรื่องที่เป็นเท็จนั้นผมมุ่งไปที่การใช้คำว่า "เป็ํนเหตุเป็นผลทำให้เกิด" ...
ถ้าสรุปว่าใน 22 ปีที่ผ่านมาความสัมพันธ์ทางสถิติเป็นบวกแค่นั้นผมรับได้...และเป็นการแย้ง "วาทกรรม" ว่าในอดีตโดยเฉลี่ยแล้วการขึ้นค่าแรงไม่ได้ตามมาด้วยการลดลงของการส่งออก (ถึงแม้ผมจะเห็นว่าเป็นความฟุ่มเฟือยทาง analysis) แต่บอกว่าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลให้ส่งออกได้มากขึ้น (ซึ่งเขียนไว้ชัดเจน) นั้นผมรับไม่ได้

4. ถ้าย้อนกลับไปอ่าน finn เองเป็นผู้เริ่ม "วาทกรรม" ในเชิงแยกสาขา ว่า "แอบเข้าใจความรู้สึกของผู้ที่ศึกษามาทางเศรษฐศาสตร์ครับ ว่าจุดสนใจ รวมถึงการทำความเข้าใจ ค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก กับผู้ที่ศึกษามาทางสังคมศาสตร์"
ผู้ที่จะมีความรู้เป็นสหวิทยาทางสังคมศาสตร์ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ด้วย การที่อ้างว่าไม่สนใจทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เหมือนใน #10 นั้นไม่ถูกต้อง และยังเป็นการปฏิเสธความเป็นสหวิทยา... เพราะแยกได้ชัดเจนระหว่างสังคมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์

กระทู้นี้ไม่มีคนอื่นมาคุยกันแล้วเหรอครับ?
06 ก.ค. 55 / 08:41
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673367 125.24.16.250

#17# - 673368 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มาอยู่เป็นเพื่อนได้ไหมครับ
06 ก.ค. 55 / 08:48
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673368 58.8.133.223

#18# - 673369 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] แค่เป็นเพื่อนก็เป็นพระคุณแล้วครับ 555

แต่เป็นมากกว่าเพื่อนไม่ได้เหรอครับพี่? 5555
06 ก.ค. 55 / 08:56
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673369 110.49.233.152

#19# - 673370 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] 555 เสียวแว๊บ
06 ก.ค. 55 / 09:06
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673370 58.8.133.223

#20# - 673376 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #16# - #19#

หายไป 1 วัน กลับมาดู ก็ยังมีเรื่องให้ได้พูดคุย ดีครับดี สนุกดี ว่าแต่ จะเอาอะไรก่อนดีนะ...

เริ่มจากเรื่องความสัมพันธ์กับความเป็นเหตุเป็นผลกันก็แล้วกัน ไอ้ที่รัน Regression โดยตั้งใจไม่ทำ First Diff พูดตรงๆ นะครับ รันเล่นๆ ให้ได้ลุ้นเท่านั้นเอง เพราะเราเชื่อว่าข้อมูล Non-Stationary ทำนองนี้ มันเป็นความสัมพันธ์ลวงแน่ ทำนอง น้ำหนังของผม กับค่า GDP ของประเทศ ที่มันขึ้นเหมือนกัน แต่ไม่เป็นเหตุเป็นผลกันเลย รัน Regression อาจ Sig ที่ .01 ก็ได้ ใครจะรู้ แต่หากคิดให้ดี เราก็อาจจะพอนึกได้ว่า นี่มันไม่เกี่ยวกันนี่หว่า แต่พอย้อนกลับมาเรื่องค่าแรงกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มันก็ออกจะพูดยากสักหน่อย เพราะนอกจากที่มัจะไม่ชัดแจ้งเหมือนน้ำหนักของผม กับ GDP แล้ว มันยังทท่าจะเป็นเหตุเป็นผลกันเสียด้วยสิ ผู้เขียนก็เลยเอาวิธีการที่เรียกว่า Johansen Cointegration Test ซึ่งมีไว้สำหรับทดสอบความสัมพันธ์ที่ว่าครับ ว่ามันมีความสัมพันธ์กันจริงๆ หรือเป็นเพีงความสัมพันธ์ลวง ซ้ำยังแถม Granger Causuality Test ให้อีกตะหาก หนังสือเขาว่าทำได้ หากมีใครว่าทำไม่ได้ ก็ต้องลองไปเถียงกะเขาดูหละครับ จนใจจริงๆ ที่สำคัญ ผู้เขียนก็ไม่ได้ยึดถืออะไรมากมายนัก ว่าสถิติมันคือสรณะของชีวิต ก็แค่เอามาล้อเลียน ว่าด้วยเครื่องมือแบบเดียวกันนั่นหละ ที่ตรรกะห่วยๆ ของใครสักคน จะถูกเปิดเผยให้เห็น

ไอ้เรื่องแยกสาขา ด้วยความสัตย์เลยนะครับว่า โดยส่วนตัว ผมก็ไม่รู้จะยกสาขาไปทำไม ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่หรอก ว่ามันจะสาขาอะไร งานเขียนในช่วงหลังมานี้ หากให้บอกว่าอยู่สาขาอะไร ก็ตอบลำบากครับ เพราะมันมั่วไปหมดแล้ว งานประชุม หรือวารสารที่ลง ทำในประเด็นและเครื่องมือแบบเดียวกันนี่แหละครับ แต่นำเสนอหรือตีพิมพ์ในงานสารพัดสาขา อาทิ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ สถิติธุรกิจและอุตสาหกรรมฯ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ บริหารธุรกิจ Public Administration, Social Research and Management เป็นต้น บทความเรื่องที่กำลังแลกเปลี่นกันอยู่นี้ ผมก็เพิ่งได้รับหนังสือเชิญจาก China-USA Business Review (ISSN1537-1514, USA) และ Chinese Business Review ISSN1537-1506, USA) ให้ส่งไปตีพิมพ์ ทั้งที่พูดกันกระบวนทัศน์ของสาขาวิชา ผมจบการศึกษา สาขาวิารัฐศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ที่แม้จะเป็นสังคมศาสตร์ แต่วาขาวิชาเอกที่เลือก ก็คือรัฐศาสตร์อยู่ดี ไม่ได้มีความรู้ความชำนาญอะไรพิเศษในทาง Business เลย ที่พูดได้นี่ก็แต่เพียงจำขี้ปากพี่ๆ ที่ทำๆ มาด้วยกันมาพูดเท่านั้น เรื่องจะแบ่งสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา หรืออะไรนั้น ไม่มีหรอกครับในหัว เพราะถ้าอุตส่าห์ค้นชื่อผมได้ ก็ลองค้น CV ผมในอินเตอร์เน็ตดูสิครับ ว่าผลงานมันสวิงได้ใจขนาดไหม เขียนบทความโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติมาหลายชิ้นและในช่วงหลัง แต่ความถนัด โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ที่ทำ เป็นเรื่องของความเป็นการเมืองของวรรณคดีครับ ศึกษา Function ของวรรณคดีในบริบททางประวัติศาสตร์ นอกจากปี พ.ศ. แล้ว ก็แทบจะไม่มีตัวเลข รวมถึงเครื่องมืออะไรเทือกๆ นั้นเลยหละครับ...

ส่วนเรื่องที่ใครจะเป็นมากกว่าเพื่อนกับใครนี่ ขออนุญาตนะครับ ตามสบายเลย หุหุ...
06 ก.ค. 55 / 23:05
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673376 27.130.166.191

#21# - 673378 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ถ้าแค่สรุปให้เห็นว่าตรรกะของคนนั้นๆห่วยนั้นผมโอเคครับ แต่ข้อสรุปในบทความไม่ใช่อย่างนั้น

เรื่องข้อสรุปทางสถิตินั้นไม่ว่าจะใช้วิธีอะไรก็ตามผมย้ำอีกที... สมมติว่ารันออกมาแล้วพบว่าปริมาณการบริโภคข้าวมีความสัมพันธ์ทางสถิติเชิงบวกกับอัตราคนตาย... จะสรุปว่าการบริโภคข้าวเป็นเหตุให้มีคนตายหรือครับ???? ผมไม่เถียงกับ Granger ที่ได้โนเบลด้านนี้หรอกครับ แต่ผมมั่นใจว่าจะใช้ causality test ของ Granger ก็ต้องมีทฤษฎี (ซึ่งบอกเหตุและผลของความสัมพันธ์) รองรับ จึงสมควรจะรันเทสต์และสรุปว่ามีความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกัน
ผมเอา quote ของ Granger มาฝากให้ครับ "...my definition was pragmatic and any applied researcher with two or more time series could apply it, so I got plenty of citations. Of course, many ridiculous papers appeared."
แสดงให้เห็นว่าวิธีการของเขาถูกเอาไปใช้ผิดๆได้

เรื่องแยกสาขานั้นผมก็ไม่ได้ใส่ใจตั้งแต่แรกอยู่ครับ จนกระทั่ง finn ได้บอกว่าเปเปอร์นี้เป็นเรื่องทางสังคมศาสตร์ ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ ผมถึงได้เริ่มพยายามเข้าใจครับ แต่ก็ช่างมันเถอะครับ

ส่วนเรื่องว่าผมไปอุตส่าห์ค้นชื่อนั้น ผมไม่ได้พยายามขนาดนั้น แค่กดไปที่ชื่อ finn ก็โผล่มาแล้ว
ผมยังอุทานกับตัวเองว่า "ฉิบหาย... นี่มันคนแต่งบทความนี่หว่า" 55555
07 ก.ค. 55 / 01:01
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673378 110.49.224.45

#22# - 673379 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #21#

ขำขันหรรษา ลั้นลา สนุกสนานดีครับ ได้พูดได้คุยกัน เรียนตามตรงว่างานเทือกนี้ ผมก็อาศัยออกความเห็นกับเขียนเป็นสำคัญ ไอ้เรื่องเครื่องมอเครื่องไม้ ว่าอะไรทำได้ไม่ได้เนี่ย รุ่นพี่ที่เขาจบเศรษฐศาสตร์นั่นหละ เป็นคนทำหลัก ผมมีแต่หน้าที่บอกว่าจะเอาอะไร อะไรเป็นประเด็นที่ผมจะนำมาเขียนได้ แกก็มีหน้าที่บอกว่าความหมายไปได้แค่ไหน อันไหนเกินเลย อะรเติมได้ เรียกว่าเป็นการรวมหัวกันก็ได้ครับ

จะด้วยทำงานด้วยกันมาพักใหญ่แล้วกระมัง ก็เลยคุ้นกันมาก บางทีก็ไม่ค่อยได้เห็นขัดเห็นแย้งกัน มีคนภายนอกอ่าน แล้วแสดงความเห็นบ้าง ก็เป็นประโยชน์ดีครับ ได้มีมิติในการมองที่มันหลากหลายขึ้น เนอะ... ว่าไหม

ส่วนเรื่องคนเขียน ใครเขียน อย่าไปใส่ใจเลยครับ บางครับทำให้มันเบลอๆ งงๆ อะ ผมว่าดีอยู่แล้ว เรียกเขาว่าผู้เขียนนั่นหละ ผมว่าดีที่สุด คุยกันง่าย...

เหนือสิ่งอื่นใด ต้องขอบคุณมาก ที่สละเวลามานั่งแลกเปลี่ยนกันเสียเยอะเลยทีเดียว คราวหน้ามีประเด็นอะไร ก็เอามาคุยกันอีกนะครับ หรือจะให้ผมลองทำอะไร เขียนอะไร ก็บอกได้ ถ้าผมพอจะมีปัญญา จะจัดการให้แน่นอนครับ
07 ก.ค. 55 / 10:06
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673379 180.214.208.32

#23# - 673380 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ดีครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง :)

มีอีกนิดเรื่อง Granger causality test ที่ผมดูมามันมีข้อจำกัดอยู่ที่จะทำให้ไม่เหมาะกับงานนี้
" Indeed, the Granger test is designed to handle pairs of variables, and may produce misleading results when the true relationship involves three or more variables."

ลองเช็คดูนะครับ

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนครับ
07 ก.ค. 55 / 10:51
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673380 110.49.224.45

#24# - 673383 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #23#

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ
07 ก.ค. 55 / 23:40
0 0
finn [icon smile : 92 bytes] (3370) : [ protect email from spamware ]
followup id 673383 158.108.228.226


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]