[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" ค่าแรงขั้นต่ำ "
เห็นข่าวจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศแล้วปวดใจ

เรื่องการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเนี่ย ถ้าผมเห็นว่าคณะกรรมการหรือรัฐบาลไม่ควรจะมีสิทธิ์ในการกำหนดผมควรจะทำยังไงครับ?

1. ผมเห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้คนที่ด้อยโอกาสที่สุด ซึ่งเป็นเป้าหมายในการช่วยเหลือของกฎหมายนี้ตกงาน

สำหรับผู้ที่ด้อยโอกาส/ทักษะนั้น อาวุธเดียวที่จะสู้กับแรงงานคนอื่นก็คือค่าแรง... การที่บังคับให้นายจ้างต้องจ้างที่ราคาหนึ่งนั้นก็แทบจะเท่ากับบังคับให้เขาตกงานทันที

Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเคยกล่าวไว้ว่า "We regard the minimum wage law as one of the most, if not the most, antiblack laws on the statute books."
"กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่เหยียดสีผิว (ทำร้าย) คนผิวดำที่สุด"
ซึ่งเป้นเรื่องจริงกับคนผิวดำ และสตรีและคนชราในหลายสิบปีที่แล้ว

2. ผมก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่พอลองอ่านรัฐธรรมนูญดูแล้ว ผมว่ากฎหมายค่าแรงขั้นต่ำควรจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔ "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"

ทำไมสิทธิ-เสรีภาพที่จะกำหนดค่าจ้าง (ของทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง) ไม่ได้รับการคุ้มครอง

3. นอกจากนั้นในหนังสือเศรษฐศาสตร์ทั่วไปก็ยอมรับกันว่าผลดี (กับคนบางกลุ่ม) ของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะหายไปในระยะยาวจากการที่ค่าแรงส่งผลให้เงินเฟ้อ

4. กฎหมายนี้ส่งผลกระทบต่อ SME's อย่างมาก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลงเมื่อเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ในต่างประเทศเช่น อเมริกา มีผู้ตั้งสังเกตว่าบริษัทใหญ่ เช่น WalMart มักจะออกมาสนับสนุนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเสมอ (โดยอ้างมนุษยธรรม ฯลฯ) แต่ผลที่มักเกิดขึ้นคือเป็นการกำจัดคู่แข่งให้ WalMart กลายๆ (จริงๆแล้ว ในเมืองไทยบริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัทก็ออกมาตีฆ้องร้องป่าวสนับสนุนนโยบายขึ้นค่าแรงอย่างจริงจัง ผมก็ไม่มั่นใจว่าด้วยสาเหตุนี้หรือไม่)

5. กระทบต่อความสามารถในการส่งออก โดยเฉพาะถ้าไม่มีการลดค่าเงิน... นักวิชาการไหนบอกว่าไม่กระทบผมก็ไม่เชื่อครับ

พี่ๆน้องๆ เห็นว่าผมคิดถูกหรือคิดผิดยังไงบ้างครับ?

ปล. จริงๆเรื่องนี้ผมเคยไปเขียนไว้บ้างในกระทู้พี่คุ้นนานมาแล้ว
08 ก.ย. 55 / 16:22
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
view 2475 : discuss 24 : rating - : bookmarked 0 : vote 0 182.52.78.107

#1# - 673905 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมไม่ีมีความรู้ด้านกฏหมายเช่นกันครับ แต่เดาว่ากฏหมายน่าจะให้สิทธิในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำกับ ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ ถ้าไม่ต้องการให้มีสิทธิ์ในการขึ้นค่าแรงก็ต้องแก้กันยาวเลยครับ ส่วนตัวผมขอตอบข้อ 1กับ2 และกันนะครับ

1. เข้าใจว่าคุณหมายความว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเนี่ย จะทำให้คนชั้นล่างสุดถูกเลย์ออฟใช่ไหมครับ? ซึ่งก็อาจจะจริงในบางครั้ง เพราะว่า ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ถ้าไม่มีค่าแรงขั้นต่ำกำหนดไว้ อาจเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันเพื่อกดค่าแรงก็ได้ครับ ทำให้ค่าแรงที่ได้ไม่สะท้อนกับเงินเฟ้อ ผมว่าอาจจะเป็นการกดขี่แรงงานมากกว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำอีกนะครับ

2.การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ผมว่ามันไม่ได้ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในประเด็นไหนๆเลย ผมเข้าใจว่าในข้อนี้ รธน หมายถึง เสรีภาพที่บุคคลจะไม่ถูกอยู่ภายใต้การควบคุมของคนใดคนหนึ่ง มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีอิสระในการเดินทาง และมีความเสมอภาค คือ สามารถได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันจากทุกๆฝ่าย การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นไปเพื่อให้แรงงานได้รับเงินให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน ดังนั้นผมจึงไม่เห็นว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำจะไปละเมิดความเสมอภาคของนายจ้างและลูกจ้างตรงไหนเลยครับ
08 ก.ย. 55 / 17:21
0 0
Noname [icon smile : 92 bytes] (5011) : n/a : n/a : n/a
followup id 673905 182.52.147.219

#2# - 673909 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ขอบคุณครับ

1. ผมก็ว่าไปตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แหละครับ ในกรณีที่จะไม่มีคนตกงานก็น่าจะเป็นเมื่อค่าแรงที่กฎหมายกำหนดอยฺู่ที่ราคาตลาด หรือต่ำกว่า (ซึ่งก็ไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเลย) แต่ถ้ากำหนดไว้สูงกว่าราคาตลาดก็ต้องมีคนตกงานแน่ เนื่องจากจะมี Supply มากกว่า Demand และคนที่มีโอกาสจะตกงานมากที่สุดก็คือคนที่ทักษะต่ำที่สุด

ในกรณีที่นายจ้างจะรวมตัวกันเพื่อกดราคาค่าแรง ผมว่าเป็นไปได้น้อย เนื่องจากเป็นตลาดค่อนข้างแข่งขันเสรีครับ

2. เรื่องความเสมอภาคนั้นคงไม่ได้ละเมิดอะไรครับ แต่ผมว่าเรื่องสิทธิและเสรีภาพนั้นยังรวมไปถึงการที่เราจะสามารถเลือกจ้างหรือรับจ้างทำงานที่ราคาใดก็ได้ด้วย
ในตลาดเสรีนั้นการแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นเมื่อมีความสมัครใจเท่านั้น เมื่อทั้ง 2ฝ่ายสมัครใจ ผมว่าไม่น่าจะจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายมาวุ่นวาย
เรื่องความเสมอภาค ผมเคยอ่านการตีความของรัฐธรรมนูญสหรัฐของฝ่ายที่นิยมเสรีภาพ เขาจะตีความว่าเป็นความเสมอภาคต่อกฎหมายครับ
09 ก.ย. 55 / 12:54
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673909 110.49.241.141

#3# - 673910 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คิดได้อีก 1 ข้อที่เราไม่ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเยอะๆครับ

เขียนเป็นข้อ 6. แล้วกันครับ

6. ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงไปใช้เครื่องจักร (capital substitution) เร็วกว่าที่ควร ทำให้แรงงานอาจปรับตัวและฝึกทักษะไม่ทัน ทำให้เกิดการว่างงานในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในระยะกลางด้วยครับ
09 ก.ย. 55 / 13:49
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673910 110.49.100.235

#4# - 673918 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] นายทุนผู้หน้าสงสาร
10 ก.ย. 55 / 09:34
0 0
wood [icon smile : 92 bytes] (6339) : n/a : n/a : n/a
followup id 673918 58.137.13.253

#5# - 673919 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ครับ

แต่มาตอบคำถามว่าควรทำอย่างไร

ต้องฟ้องศาลปกครองครับว่าการกำหนดนั้นไม่ชอบ
ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ

และที่ว่า
*เมื่อทั้ง 2ฝ่ายสมัครใจ ผมว่าไม่น่าจะจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายมาวุ่นวาย*
ต้องไม่ลืมนะครับว่าอำนาจต่อรองต่างกัน
แม้แต่ธุรกิจด้วยกัน ยังต้องมีกฎหมายพวกป้องกันการผูกขาด แข่งขันทางการค้า การทุ่มตลาด มาใช้บังคับเลยครับ
10 ก.ย. 55 / 10:11
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673919 58.8.244.103

#6# - 673922 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คุณ wood...
ผมว่านายทุนไม่น่าสงสารซะทุกคนครับ พวกที่กำไรหดหายไปบ้างไม่น่าสงสารเท่าไหร่ แต่พวกที่อยู่ไม่ได้ต้องปิดกันไปพวกนี้น่าสงสาร (และทำให้ปริมาณงานในตลาดแรงงานลดลงด้วย)
แต่ที่ผมว่าน่าสงสารจริงๆคือ แรงงานด้อยทักษะ (ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของกฎหมาย) ที่เสี่ยงจะตกงานด้วยเหตุผลที่ว่ามาแล้ว

พี่ธนเทพ...
ขอบคุณครับ ไว้ผมจะลองศึกษาเรื่องการฟ้องศาลปกครอง แต่ถ้าฟ้องจริงผมว่าผมคงโดนคนไม่รู้จักรุมกระทืบแน่ๆเลยครับ 5555

เรื่องอำนาจต่อรอง ผมเห็นด้วยกับพี่ครับ แต่ผมว่าการที่รัฐออกกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำมีผลเสียมากกว่า
(และก็เห็นว่า กฎหมายป้องกันการผูกขาด-ทุ่มตลาดนั้นก็มีผลเสียมากกว่าผลดีครับ)
10 ก.ย. 55 / 13:19
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673922 182.52.78.102

#7# - 673943 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ลองถามทุกท่านเล่นๆครับ...สมมติถ้าท่านเป็นนายจ้างในประเทศที่ไม่มีกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ จะคิด "เอาเปรียบ" "กดราคา" "รวมตัวกันกดราคา" ลูกจ้างหรือเปล่า?
11 ก.ย. 55 / 18:22
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673943 110.49.248.122

#8# - 673944 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ฟ้องศาลปกครองอาจจะมีคนเห็นด้วยมากก็ได้นะ

ตอบก่อนตามข้อสมมติว่า มีหรือไม่มีกฎหมาย ก็ไม่เอาเปรียบครับ

แต่ประเทศนี้ รถยนต์เหมือนกันยังมีแซงซ้ายป่ายขวา มาขวาเข้าซ้ายให้เห็นเป็นประจำ
ทั้ง ๆ ที่มี พรบ. จราจรทางบก กระป๋องปาดยุโรป ฝรั่งปาดญี่ปุ่น บางครั้งมีเกาหลีแจม แถมคนถูกไม่ยอม คนผิดเคือง

หรือเราควรจะยกเลิก พรบ. แรงงานสัมพันธ์ ไม่ต้องมีสหภาพแรงงาน
11 ก.ย. 55 / 21:36
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673944 110.168.19.214

#9# - 673946 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ?? ต้องมี กม.คุ็มครองแรงาน มีเพื่อกดขี่นายทุน
มีใครเคยสำรวจบ้างว่า นักเรียนมัธยม ได้เงินไป รร. เท่า??
12 ก.ย. 55 / 08:51
0 0
wood [icon smile : 92 bytes] (6339) : n/a : n/a : n/a
followup id 673946 203.151.15.245

#10# - 673948 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับ minimum wage law และผมคิดว่านายจ้างในประเทศนี้มีจำนวนมากพอ ที่จะทำให้การตั้ง cartel รวมหัวกันกดค่าแรงเป็นไปได้ยาก

แต่ผมเห็นด้วยกับ Antitrust law นะ เพราะกว่าจะปล่อยให้กลไกตลาดเข้ามาแก้ มันทำให้เกิด damage มากเกินไป ที่ฮ่องกงนี่ Real Estate ถูกคุมโดยไม่กี่ตระกูล (Cheung Kong, Sun Hung Kai, New World)

ไม่ทราบว่าคุณ tp คิดยังไงกับเคส Standard Oil, U.S. Steel, AT&T ครับ? ว่างๆน่าจะลองมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
12 ก.ย. 55 / 09:01
0 0
Annie [icon smile : 92 bytes] (4828) : n/a : n/a : n/a
followup id 673948 59.148.210.166

#11# - 673949 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ในความเห็นส่วนตัว
กฎหมาย มาจากกติกาสังคมในการอยู่ร่วมกันครับ

แต่ก็ไม่ได้ดีไปทุกฉบับ หรือเมื่อสถานะการณ์เปลี่ยนแปลง
ก็ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกันไป
12 ก.ย. 55 / 09:02
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673949 110.168.207.21

#12# - 673950 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เรื่องรวมหัว เคยเห็นแบบหลวม ๆ ไม่ได้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
แต่ก็ไม่ได้เป็นการเอาเปรียบ

ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ฝ่ายบุคคลจะมีการพบปะกันประจำทุกเดือน
เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น
และมีข้อตกลงกันว่าจะไม่รับพนักงานจากบริษัทในนิคมเดียวกัน
เฉพาะบางตำแหน่ง เพราะจะอัพเงินเดือนไปเรื่อย ๆ
12 ก.ย. 55 / 10:01
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673950 110.168.207.21

#13# - 673951 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ดีใจจังครับที่มีคนสนใจ... จะเห็นเหมือนเห็นต่างผมก็ดีใจนะครับ มาคุยกัน :)

พี่ธนเทพ.. ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็จะตอบเหมือนพี่ครับว่า "ไม่เอาเปรียบ" และมีคนส่วนน้อยที่คิดเอาเปรียบ แต่ผมว่าก็ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ เหมือนกับที่คุณ Annie เขียนใน #10

ถ้าจะเทียบกับกรณีของการขับรถในเมืองไทย ผมว่าไม่เหมาะครับ เพราะผู้ขับขี่มีแรงจูงใจน้อยมากที่จะอยู่ในระเบียบ ต่างจากในการจ้างงานที่หากจ้างราคาต่ำก็อาจไม่ได้คน หรือได้คนไม่เก่งซึ่งเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่จะจ้างราคาสูง (และอาจไม่ใช่เพราะมนูษยธรรม)

เรื่องสหภาพแรงงาน ผมว่าต้องดูที่รายละเอียดนิดนึงครับ มีอยู่ก็เป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับลูกจ้าง แต่ต้องมีการตรวจสอบว่าไม่มีการทำผิดกฎหมาย เช่น ใช้กำลังข่มขู่บังคับให้คนมาเป็นสมาชิก ทำร้ายร่างกาย ทำลายข้าวของบริษัท หรือหยุดงานโดยพลการ (ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติงานตามข้อตกลง/สัญญาในการจ้างงาน) (สมมติแจ้งบริษัท 1 เดือนล่วงหน้าตามกฎว่าถ้าไม่ขึ้นเงินเดือน พนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพทั้งหมด xxx คน จะลาออก... อย่างนี้ผมเห็นว่ามีสิทธิ์โดยชอบธรรมครับ)

เรื่องการรวมหัวกันของนายจ้างอย่างใน #12 ผมเห็นด้วยกับพี่ครับว่าก็ยังโอเค... และก็ควรเป็นลักษณะเหมือนกับสหภาพแรงงานที่พึ่งเขียนถึงครับ
-------

คุณ wood ครับ ผมอ่านไม่เข้าใจ เลยไม่ทราบว่าจะตอบอย่างไร ถ้ามีประเด็นจะสนทนารบกวนช่วยตอบใหม่อีกสักครั้งนะครับ

-------

คุณ Annie เรื่องอำนาจผูกขาดตลาดนั้น โดยคำนิยามผมว่าต้องอยู่ที่การจำกัดการเข้า-ออกจากตลาด ไม่ได้ดูที่จำนวนบริษัทครับ ถ้าบริษัทดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้ใช้อำนาจเถื่อนผิดกฎหมายในการกีดกันคู่แข่ง ถึงแม้จะมีอยู่เจ้าเดียวในตลาดผมก็เห็นว่าเขาไม่ได้ทำอะไรผิด เรื่องอดีตบริษัทในสหรัฐที่พูดมา ผมรับตามตรงว่าไม่ทราบรายละเอียดครับ และยังไม่มีเวลาไปค้น :) (ถ้าเล่าให้ฟังคร่าวๆได้จะดีมากเลยครับ 555) เลยไม่สามารถตอบได้ว่ามีผลดีหรือไม่อย่างไร แต่โดยสรุปแล้วผมว่ารัฐควรควรเป็นแค่ตำรวจมามาดูการผิดกฎหมายที่คุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินก็พอครับ เช่นการทำผิดสัญญา การขโมยทรัพย์สินทั้งวัตถุทั่วไปและทางปัญญา และการใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ประมาณนี้มากกว่าครับ

นอกจากนั้นผมยังเชื่อว่าบริษัทที่มีอำนาจผูกขาดส่วนใหญ่เกิดจากรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนครับ ... น้ำมัน โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา... รัฐบาลทั้งนั้น และผมว่าธุรกิจทั่วไปไม่สามารถเป็นคนขายเจ้าเดียวในตลาดได้นานหรอกครับ ยิ่งตั้งกำไรสูงเดี๋ยวก็มีคู่แข่ง ถ้าตั้งกำไรต่ำก็ไม่ได้มีผลเสียอะไรต่อสังคม
12 ก.ย. 55 / 14:35
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673951 182.52.78.28

#14# - 673952 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมคิดว่าเคส antitrust ในเมกา มีทั้งที่ สมเหตุสมผล และไม่สมเหตุสมผล ตอนนี้ทำงานอยู่แต่ถ้ามีเวลาเมื่อไรจะมาเขียนให้ครับ แต่ผมสนใจ remark ของคุณ tp ที่ว่า monopoly เกิดจาก government intervention

เคสที่สมเหตุสมผล เป็นเหตุผลที่ทำไมผมถึงไม่เอียงไปทาง unrestrained free market มากนัก แต่อย่างว่า ผมไม่รู้ argument ของทางฝั่งนั้นเท่าไร ผมเคยอ่าน Hazlitt แต่ไม่เคยอ่านของ Friedman, Hayek หรือ von Mises แบบจริงๆจังๆ เคยอ่านพวก Rawls, Mills ตอนเทคคลาส Moral Philosophy อยู่แปปเดียว ถ้ามีเล่มไหนแนะนำจะดีมากครับ (แต่คงไม่ได้อ่านเร็วๆนี้ ฮ่าๆ)

อยากทราบว่าคุณ tp against stimulus ช่วง 2008-2009 ในเมกา และประเทศต่างๆด้วยละเปล่าครับ
12 ก.ย. 55 / 15:01
0 0
Annie [icon smile : 92 bytes] (4828) : n/a : n/a : n/a
followup id 673952 59.148.210.166

#15# - 673953 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ดีครับ ;)

ผมเองก็ไม่ได้อ่านเยอะหรอกครับ อ่านหนังสือไม่ค่อยจบเล่ม แต่ถ้าที่เคยอ่านแล้วชอบก็
- Free to Choose ของ Milton Friedman
- Economic Facts and Fallacies ของ Thomas Sowell
- Organized Crime ของ Thomas DiLorenzo อันนี้มีแจก pdf ฟรีครับ :) กำลังอ่านอยู่ได้บทนึงแล้ว 55555
http://mises.org/document/6985/Organized-Crime-The-Unvarnished-Truth-About-Government

อยากแชร์อีกเล่มคือหนังสือที่เกลียดมาก "23 Things They Don't Tell You About Capitalism" ของ Ha-Joon Chang ...อ่านแล้วเขียนโน้ตแย้งแทบทุกหน้าจนจบเล่ม ถ้าไม่เคยได้ฟัง argument ของฝั่ง Austrian/Free Market คงเคลิ้มตามอาจารย์ชาวเกาหลีจาก เคมบริดจ์คนนี้ไปแล้ว

เรื่อง stimulus ผมไม่เห็นด้วยเป็นปกติอยู่แล้วครับ :) เคยเขียนไว้ในกระทู้ก่อนหน้า ขอก๊อปมาแปะนะครับ http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=68358

"เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ขอตอบพี่ว่า ผมก็ไม่เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของรัฐครับ
เอาเหตุผลที่คิดได้ตอนนี้ก่อนนะครับ

1. รัฐแทบจะไม่ได้มีรายได้จากการผลิตและบริการ เงินที่รัฐได้มานั้นต้องมาจากประชาชนเกือบทั้งสิ้น
เท่ากับว่ารัฐต้องเก็บภาษี และเอาเงินนั้นใส่กลับลงไ่ปผ่าน bureaucrats ทั้งหลาย อย่างนี้ผมเห็นว่าไม่เป็นการกระตุ้นครับ กลับเป็นความสูญเสียประสิทธิภาพ
2. รัฐไม่ได้มีความรู้มากกว่าเอกชน ที่จะทำให้สามารถเลือกอุดหนุนภาคอุตสาหกรรมที่จะโตได้มากกว่าภาคอุตสาหกรรม อื่น โดยธรรมชาติของผู้มีอำนาจทางการเมืองทั่วไป เวลาอุดหนุนก็คงเลือกพวกพ้องเป็นหลัก
3. เงินภาษีที่ไม่ได้ถูกเก็บขึ้นนั้นก็ไม่ได้อยู่เฉยๆครับ แต่มันจะกลายเป็นการลงทุนทั้งทางตรง (ลงทุนเอง) และทางอ้อม (ผ่านเงินฝากในสถาบันการเงิน) และการบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งเป็นเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจที่ผ่านการไตร่ตรองโดยเจ้าของเงิน (น่าจะรัดกุมกว่าการไตร่ตรองโดยรัฐ) และจะก่อให้เกิดนวัตกรรมและพัฒนาการของทั้งสินค้า บริการ และกระบวนการผลิต"
12 ก.ย. 55 / 16:14
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673953 182.52.78.28

#16# - 673954 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] #9# ผมหมายถึ่งทำไม่จะต้องคุ้มครองแต่แรงงาน ทำไม่ไม่คุ้มครองนายจ้างบ้าง เพราะ..........
กลุ่มไหนอ่อนแอ ด้อยโอกาศ ไม่มีอำนาจต่อรอง ยอมได้รับการคุ้มครอง การยกเลิกทาส มันหน้าจะเป็นการคุ้มครองแรงงานในยุคนั้น มาสมัยนี้
คงไม่พอ
ถ้าแรงงานมีน้อยไม่พอ ค่าตัวยอมขึ้นเช่นยุคสมัยที่ไทย เป็น 5 เสือแห่งเอเซีย ค่าแรง วิศวะ และอื่นๆๆ เกิดโรคสมองไหล
ปัจจุบันไทยมีแรงงานมากไหม (รวมต่างดาว) ค่าแรงกับค่าครองชีพสัมพันธ์พอที่จะดำรงค์ชีพเหมีอนมนุษย์
ค่าขนมนักเรียนบ้างคนมากกว่าค่าแรงทั้งวัน ส่วนใหญ่ค่าอาหารกลางวันลูกกรรมกรได้เท่าไร เทียบกับค่าแรงเหลีอเท่าไร แรงงานก็มีครอบครัว ให้ทำงานกันทั้งสามี-ภรรยา ได้วันเท่าไร
14 ก.ย. 55 / 09:26
0 0
wood [icon smile : 92 bytes] (6339) : n/a : n/a : n/a
followup id 673954 58.137.13.253

#17# - 673956 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คุณ Wood ... ผมสงสัยว่าเราอาจเข้าใจกันผิดบางอย่าง

ผมเห็นด้วยว่าเราทุกคนควรช่วยให้่ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผมแค่เห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ใช่วิธีในการช่วยที่ดีครับ
14 ก.ย. 55 / 17:29
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673956 110.49.248.29

#18# - 673957 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คุณ Annie พอดีผมอ่านเจอเลยเก็บมาฝากครับ

"Dominick Armentano demonstrated in his book, Antitrust and Monopoly: Anatomy of a Policy Failure, Rockefeller’s Standard Oil Company caused the price of refined petroleum to fall from over 30 cents/gallon in 1869 to 5.9 cents in 1897 while creating myriad new products and stimulating innovation in the entire industry. For this, Rockefeller was prosecuted and forced to break up his company despite the fact that he had more than 300 competitors when he supposedly “monopo- lized” the oil industry.

...Dominick Armentano carefully examined fifty-five of the most famous antitrust cases in U.S. history and concluded that in every single case the accused firms were dropping prices, expanding production, innovating, creating new products, and generally benefiting consumers. It was not consumers who were being harmed, but the less-efficient, sour-grape competitors of these companies. For example, the American Tobacco Company was found guilty of “monopolization” in 1911 even though the price of cigarettes (per thousand) had declined from $2.77 in 1895 to $2.20 in 1907, all despite a 40 percent increase in raw ma- terial costs to the company."

จากหนังสือ Organized Crime โดย Thomas DiLorenzo บทที่ 6. Antitrust, Anti-Truth
14 ก.ย. 55 / 18:40
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673957 110.49.248.29

#19# - 673959 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ดูข้างบนแล้ว ไปกรอกทรายใส่กระสอบ ยกของขึ้นที่สูงดีกว่า
เชิญท่านสนทนากันตามสบายครับ

เอาเรื่องค่าแรงนะ ควรมีครับ แต่เท่าไร คิดอย่างไรทางเศรษฐศาสตร์
300 บาท ทั่วประเทศ สงสารจังหวัดพะเยาครับ
ก่อน 300 ภูเก็ตยังแพงว่ากรุงเทพเลย

หากค่าแรงขั้นต่ำไม่ช่วยให้ดีขึ้น
อะไรพอช่วยได้บ้างครับ
14 ก.ย. 55 / 20:35
0 0
ธนเทพ [icon smile : 92 bytes] (4055) : n/a : n/a : n/a
followup id 673959 124.121.9.201

#20# - 673975 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] 555....เตรียมกระสอบแล้วเหรอครับพี่... ผมเริ่มกลัวเหมือนกัน :)

เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ ผมว่ายิ่งแย่ใหญ่ครับ....อย่างที่พี่ว่า...แต่ละที่มันไม่ควรเท่ากันอยู่แล้ว

ถ้าถามความเห็นผมว่าไม่ให้มีค่าแรงขั้นต่ำแล้วจะช่วยคนจน-คนด้อยโอกาสยังไง... ผมว่าเราทุกคนช่วยได้ครับ ก็ทำเป็นลักษณะของการกุศล เช่นสมมติ จ้างคนฝีมือ 300 บาทต่อวัน แต่เห็นเขาลำบากก็จ้างเขาไป 350 บาท

หรือจะบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลอะไรก็ได้ จะเป็นทุนอาหารกลางวันหรือทุนการศึกษาเด็กยากจน (ก็เป็นการแบ่งเบาภาระของพ่อแม่เด็ก) องค์กรการกุศลที่มีการฝึกพัฒนาทักษะให้แรงงาน หรือการกุศลอื่นๆ ก็ดีครับ อาจจะเอามาลดภาษีได้ด้วย จะได้ไม่ต้องไปบริจาคให้รัฐบาลครับ...เสียดายเงิน น่ากลัวคนจนจะได้รับไม่ถึงครึ่ง

การช่วยแบบนี้ไม่ทำให้ใครตกงาน ไม่ทำให้ธุรกิจใครเสียหาย ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ และเป็นการเอาเงินของตนเองไปช่วยคนจน ไม่ใช่การเอาเงินคนอื่นไปช่วยคนจน (เหมือนการตั้งค่าแรงขั้นต่ำ) ครับ
15 ก.ย. 55 / 16:04
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 673975 182.52.78.224

#21# - 674000 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ให้ตรงๆ 300 บาท กลับบริจาก ต่างกันไหม ที่แนนๆสร้างนิสัยใหม่ รอแจก
ถ้ารอบริจากแล้วไม่ใครบริจาก เป็นคอมมิวนิเลยดีกว่า
ขอไปข่น ทรายด้วยคน
18 ก.ย. 55 / 08:18
0 0
wood [icon smile : 92 bytes] (6339) : n/a : n/a : n/a
followup id 674000 203.151.15.245

#22# - 674001 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] Thank you krub tp. Will go through them when I have time

I am a strong believer in capitalism. But some intervention is acceptable. I believe people should have equal opportunity, and the government should strive to provide that. Note that this is not the same as equality. Equality has no inherent value. Why should someone who invented Google or a cure for cancer have the same amount of money as 99% of the people? I don't really think charity works too well in some countries, though.

#21
The concern here is by raising minimum wage to 300b/day, the government is helping some unskilled labors at the expense of other unskilled labors who will find it harder to find jobs. (also hurt competitiveness of the country - see US manufacturing industry)

And I'm not sure if you are being sarcastic, but communism has been working so well in the past right? Name one surviving communist country that does well. Soviet, North Korea, Cuba? China is not even a communist country.
18 ก.ย. 55 / 08:40
0 0
Annie [icon smile : 92 bytes] (4828) : n/a : n/a : n/a
followup id 674001 59.148.210.166

#23# - 674002 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำก็สร้างนิสัยรอรัฐบาลแจกเหมือนกันครับ แต่การบริจาคคนบริจาคก็มีสิทธิเลือกให้กับมูลนิธิหรือองค์กรที่ให้แล้วเกิดผลดีครับ

การใช้อำนาจรัฐบังคับให้คนเอาเงินไปช่วยคนอื่นก็ป็นหลักการของสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อยู่แล้วนี่ครับ
18 ก.ย. 55 / 10:00
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 674002 110.49.224.120

#24# - 674004 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ขอบคุณเช่นกันครับคุณ Annie
แล้วการแทรกแซงของรัฐอย่างไรครับที่เรียกว่ารับได้?

สำหรับคุณ Wood นั้นผมตีความว่าแกหมายความว่า เกิดรอบริจาคไม่ไหวคนจนปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์ไปเลยจะแย่ครับ
18 ก.ย. 55 / 13:44
0 0
tp116 [icon smile : 92 bytes] (4265) : n/a : n/a : n/a
followup id 674004 182.52.78.46


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]