[suanboard monotone logo : 2777 bytes]
[header decor line : 64 bytes]
HOME RULE FAVOURITE MEMBER ZONE REACTIVATE FORGET PASSWORD    

SEARCH [icon freecompose : 217 bytes]
[icon register : 195 bytes] สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก : โพสต์รูป, รูปแบบตัวอักษร, ไอคอน, bookmark, ค้นหาข้อความ ฯลฯ [icon login : 178 bytes]

[icon-delete : 101 bytes]
" จบจุฬามีงานทำไหม "
คืนนี้มีตัวเลขการทำงาน การว่างงาน การเรียนต่อของบัณทิต จุฬาปี 53 มาฝาก ให้น้องๆไช้ตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย ข้อมูลนี้ไม่มีในเวบใดๆ ใครอยากรุ้ต้องมาเข้าสวนบอร์ด

วันนี้ว่ากันโดยภาพรวมของคณะ ยังไม่แยกรายสาขา และยังไม่ลงรายละเอียดเรื่องรายได้ และที่ทำงาน

คณะแพทย์ จบ 231 คน ทำงานแล้ว 98.2% ศืกษาต่อ 1.2%

คณะทันตแพทย์ จบ123 คน ทำงานแล้ว 99.2% เหลือเรียนต่อทันที 1 คน สงสัยว่าจะเก่งกว่าเพื่อน ไม่ใช่เรียนซ้ำชั้นนะครับ เพราะจบแล้ว

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จบ 138 คน ทำงานแล้ว 85.5% กำลังศืกษาต่อ 13.8% ที่เหลือหนื่งคนยังไม่ทำงาน สงสัยว่าจะกำลังจีบสาวอยู่ ขอแต่งงานไรงี้

คณะเภสัชศาสตร์ จบมา 174 คน ทำงานแล้ว 93.9% เรียนต่อ 3% ที่เหลืออีก 5 คนยังไม่ทำงาน คงวางแผนลับอะไรอยู่แน่นอน

คณะสหเวชศาสตร์ คณะนี้มีกายภาพ เทคนิคการแพทย์ และพวกบริหารเตรื่องมือแพทย์ จบมา154 คน ทำงานแล้ว 76.3% เรียนต่อ 14 % ยังไม่ทำงาน 15 คน ราว 10% ยังไม่ถือว่าตกงาน คงเลือกอะไรสักอย่างอยู่

คณะจิตวิทยา จบมา103คน ทำงานแล้ว 66.0% ทำปริญญาโทต่อ 13 คน 12.6% ยังไม่ทำงาน 22 คน ราว 21% ส่วนใหญ่ทำงานเอกชน ปีที่แล้วเด็กสวนเข้าไป 4 คน เป็นการเลือกที่มีข้อมูลดีมาก สายนี้เริ่มมา เด็กศิลปะเรียนได้หรือเปล่า
12 ต.ค. 55 / 21:37
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
view 33499 : discuss 72 : rating - : bookmarked 0 : vote 1 124.121.76.199

#1# - 674410 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จบมา 132 คน ได้งานทำแล้ว 53.9% ทำโทต่อ 42 คน 32.8% ยังไม่ทำงาน 17 คน 13.3% คณะนี้ควรหุ่นแมน หล่อ เท่ ยกน้ำหนักได้ 100 กิโล เพราะต้องใกล้ชิดสาวๆเยอะมาก ผอมกะหร่อง ห้ามเลือกคณะนี้เด็ดขาด

คณะวิทยาศาสตร์ จบเยอะ ตั้ง768 คน ทำงานแล้ว 46.8% ศืกษาต่อ 264 คน 38% ยังไม่ทำงาน 105 คน 15% คณะนี้มีทุนเรียนต่อโท เอก มาก เช่น สถาบัน จุฬาภรณื วิทยาลัย ปีโตรเคมี โพลิเมอร์ เป็นต้น
12 ต.ค. 55 / 21:52
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674410 124.121.76.199

#2# - 674411 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะวิศวกรรมศาสตร์ จบเยอะตั้ง 968 ตน ทำงานแล้ว 72.2% ศืกษาต่อ 21.9% ที่เหลือ 5.9% ยังไม่ทำงาน หลายสาเหตุ เช่น เตรียมตัวเรียนนอก หรือว่างงาน

คนที่เรียนต่อในทุกคณะ ไม่ใช่ว่างงานนะครับ พวกที่รับเข้าเรียนโทต่อ จะเป็นพวกผลการเรียนดีระดับหนื่งทีเดียว ผู้หญิงที่มาเรียนวิศวะมีสิทธิว่างงานได้ เพราะหลายสาขามากเป็นงานที่ไม่เหมาะกับผู้หญิง แม้แต่งานออกแบบ ประมูลราคา เพราะพวกผู้ชายจะอืดอัดที่จะคุยกันตรงๆ
12 ต.ค. 55 / 22:10
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674411 124.121.76.199

#3# - 674413 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จบเยอะนะ ตั้ง 268 คน ทำงานแล้ว 67.3% สืกษาต่อ 14.4% ยังไม่ทำงาน 48 คน 18.3% น่ารู้ว่าเป็นสาขาใด ตรงนี้สำคัญมาก

คณะอักษรศาสตร์ จบตั้ง 292 คน ทำงานแล้ว 64.7% เรียนต่อ 21.9% ยังไม่ทำงาน 13.3% ส่วนใหญ่สาวๆอักษร มักจะเรียนโทต่อด้านยุโรเปี้ยน แนว IR หรือด้านวัฒนธรรม หลักสูตรนานาชาติ เพื่อจะได้มี specialisation
12 ต.ค. 55 / 22:23
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674413 124.121.76.199

#4# - 674414 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะศิลปกรรมศาสตร์

เป็นคณะใหม่ของจุฬา คนกำลังติดตามดูว่า ตลาดตอบรับอย่างไรเทียบกับศิลปากร

จบมา 134 คน ทำงานแล้ว 57% ศืกษาต่อ 11 %ยังไม่ทำงาน 31.3% ถือว่าว่างงานระดับหนื่งทีเดียว งานสาขานี้ต้องการประสบการณ์สูง ต้องเจาะลืกรายสาขา


คณะครุศาสตร์

เดิมเคยให้ข้อมูลว่าครุศาสตร์ทำราชการสอนเพียง 10% ที่เหลือทำเอกชน สงสัยว่าจะตกงานหรือไม่ ในขณะที่ มศว เข้าราชการครูกันมาก ล่าสุด พบว่าครุศาสตร์ทำราชการ รัฐวิสาหกิจถืงเกือบ 40%

จบมา 260 คน ทำงานแล้ว 70.6% ศืกษาต่อ 15.7% ยังไม่ทำงานราว 13.3%
12 ต.ค. 55 / 22:46
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674414 124.121.76.199

#5# - 674417 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะ นิติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ภาค คือภาคปกติ และหลักสูตร Full Fee

ธรรมชาติของนักเรียนกฏหมาย จะทำอยู่ 3-4 แบบ
เรียนจบ น.บ ออกไปทำงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท
หรือ ขยันเรียนอย่างเข้มงวดตัวเองสุดๆ ให้จบ นบ และเนติบัณทิต พร้อมกันตอนรับปริญญา
หรือ เรียนจบ น.บ แล้ว ใช้เวลาอีก หนื่งปี สอบเนติให้ได้
หรือ เรียนจบ น.บ แล้วไปเรียนโทนอก

ตณะนี้จืงมีคนศืกษาต่อมาก พวกไม่เข้าใจก็คิดว่าว่างงาน ต้องดูเป็นมหาวิทยาลัยไป

นิติภาคปกติ
จบมา219 คน ทำงานแล้ว 33.3% เรียนต่อ63%เหลือยังไม่ทำงาน 4% ไม่แน่ใจว่าอยากทำงานหรือเปล่า

นิติศาสตร์ภาค Full Fee

ทำงานแล้ว 78% เรียนต่อ 17.1% เหลืออีก 4.9% ยังไม่ทำงาน
12 ต.ค. 55 / 23:12
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674417 124.121.76.199

#6# - 674419 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะนิเทศศาสตร์

คณะนี้มีประเด็นมาก เพราะสาขานี้เปิดกันมากแทบทุกมหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน จนคนสงสัยว่าจะว่างงานเยอะมั้ย ตัวเลขจืงสำคัญกว่าบลาๆๆ ที่พบดดยทั่วไป

จบมา215 คน ทำงานแล้ว 68.3% เรียนต่อ 15.1% ที่เหลือ ยังไม่ทำงาน ราว 16.6%
12 ต.ค. 55 / 23:23
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674419 124.121.76.199

#7# - 674420 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

นักเรียนสวนกุหลาบร่วมร้อย หรือมากกว่า เลือกเรียนสายพาณิชย์บัญชี บริหารธุรกิจ ไฟแนนซ์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการ คณะนี้จืงเปรียบเสมือน proxy ชี้ อนาคต

จบตั้ง 634 คน มากทีเดียว ทำงานแล้ว 84.7% เรียนโทต่อ 7.4% ยังไม่ทำงาน 7.9%

แนวทางของคณะนี้ คือ เมื่อเรียนจบแล้วต้องทำงานมีประสบการณ์สัก 2 ปี เพื่อให้ได้ตามเงื่อนไขการเรียนต่อ MBA และสาขาอื่น
12 ต.ค. 55 / 23:43
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674420 124.121.76.199

#8# - 674422 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะ รัฐศาสตร์ มี 4 แผนก ปกครอง รปศ การต่างประเทศ และสังคมวิทยา


จบมา 205 คน ทำงานแล้ว 63.2% ศืกษาต่อ 17.8% ยังไม่ทำงาน 18.9%

ทำงานราชการ 6%รัฐวิสาหกิจ 4% เจ้าของกิจการ 6% นอกนั้นทำกับธุรกิจเอกชน

องค๋กรระหว่างประเทศ ไม่มี ส่วนใหญ่จะเรียนต่อเอา ปริญญาโทไปสมัคร
13 ต.ค. 55 / 00:00
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674422 124.121.76.199

#9# - 674423 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะสุดท้าย เมื่อยมือแล้วล่ะ แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการเลือกคณะ

คณะ เศรษฐศาสตร์

แนวของคณะนี้ก็คือจะเรียนต่อไม่ในต่างประเทศ ก็ภายในประเทศ รู้กันว่าปริญญาตรีไม่เพียงพอโลดแล่นในยุทธจักร ถ้าได้ปริญญาเอก ยิ่งดี

จบมา274 คน ทำงานแล้ว 70.7% เรียนต่อทันที 20% ที่เหลือน่าจะกำลังเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ สอบ GMAT GRE Toefl หรือสอบชิงทุน ก็เป็นกันอย่างนี้ทุกปี พวกที่ทำงานได้ประสบการณ์ เดี๋ยวก็ ฮิปฮอบ กังนัมสไตล์ไปเรียนต่อ
13 ต.ค. 55 / 00:12
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674423 124.121.76.199

#10# - 674424 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] การสำรวจนี้ทำ 3 รอบ เพิ่งได้ข้อมูลมา ความน่าเชื่อถือของข้อมูลนี้ ลดลงในคณะที่ผุ้ตอบแบบสอบถาม น้อยผิดปกติ คือ วิศวะตอบ 70% ของผู้จบการศืกษา วิทยาศาสตร์ 90% ศิลปกรรมศาสตร์ 83% นิติ 80%

คณะอื่นๆเกือบ 100%

คิดว่าที่เลือกเรียนกันไป 3-4 รุ่นที่ผ่านมา โอเค ล่ะ
13 ต.ค. 55 / 00:39
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674424 124.121.76.199

#11# - 674426 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] สรุป

หลายคำถามที่ไม่มีคำตอบที่มั่นใจ ตอนนี้มีข้อมูลที่ชัดเจนครบ

ผู้ปกครองมีเวลาช่วยอ่าน ช่วยคิด รู้สภาพแวดล้อม รู้จักนักเรียน จะช่วยนักเรียนได้ดีขื้น

นักเรียนที่เห็นความถนัด ความอยากของตนเอง มีข้อมูลเปรียบเทียบมหาวิทยาลัย สามารถวางแผนการเรียนตั้งแต่ ม2 สามารถเจาะลืกรายภาควิชาได้ด้วย เลือกอย่างมั่นใจ เรียนอย่างมั่นใจ ประสบความสำเร็จในการเรียน มีงานทำ เรียนต่อ

สามารถขจัดข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวมั่ว ที่ทำให้เข้าใจผิด ข้อมูลระดับนี้รู้ด้วยว่าจบไปจะไปทำงานที่ไหน ภาคใด หรือ กทม ที่จริงวางแผนได้จนถืงหน่วยงานที่จะเข้าทำงาน การเข้าทำงาน อย่างน้อยก็การันตีรายได้ในชีวิตขั้นต่ำ 30 ล้านบาท สำคัญมาก

ที่ดีใจมาก คือ คณะที่น้องๆเลือกไป3-4 รุ่นที่ผ่าน เข้าเป้าหมด ถือว่าไวมาก
และที่ดีใจอีกอย่างคือ นักเรียนที่ไม่เก่งมากก็มีเส้นทางที่ดี

คำถามที่เคยคาใจ เช่น คณะวิทยา ปีที่แล้วเข้าไป 60 มีงาน มีโอกาสเรียนต่อ คณะจิตวิทยา งานภาคเอกชนเปิด สายศิลปะเรียนได้ด้วย คณะสหเวชศาสตร์ ชัดเจน เรียนได้ เห็นภาพชัดของสัตวแพทย์ เภสัช
สถาปัตย์ อักษร วิศวะ จุฬาครุศาสตร์ นิติ นิเทศ บัญชี และศิลปกรรม

จุฬาลุยได้ทุกคณะ โอเค
13 ต.ค. 55 / 07:41
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674426 124.121.76.199

#12# - 674428 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ไว้ค่อยมาเปรียบเทียบคณะของมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ฟัง
และจะเปรียบเทียบทางเลือก เช่น ระหว่าง การเงินกับวิศวะ

ตอนนี้ให้ข้อมูลว่า บัณทิตคณะต่างๆไปทำงานที่ไหนกัน แต่ละมหาวิทยาลัยก็ต่างกัน แล้วจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดควรหลีก ถ้าหลีกไม่ได้ ต้องวางแผนหางาน และเรียนต่อโทอย่างไร ควรเลือกหน่วยงานประเภทใด

แพทย์ ทำราชการแทบหมด ก็อยู่ช่วงใช้ทุน มธ คงใช้นักเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ ประเมินว่ารายได้ที่ไม่ใช่เพียงเงินเดือนอยู่ที่47000 ออกต่างจังหวัด เป็นส่วนใหญ่ โรงพยาบาลอำเภอต่างๆ ได้แฟนใหม่กันเที่ยวนี้ เรียนได้ทุกที่ที่เข้าได้

ทันตแพทยื เริ่มงานราชการ 90% ที่เหลือไปทำงานกับเอกชนทันที หรือตั้งกิจการส่วนตัว เรียนได้เลย มีงาน100% เรียนได้ทุกที่ นั่งเอียงขวานานๆ ลุกขื้นเต้นกังนัมสไตล์ ช่วยผ่อนคลายได้

สัตวแพทย์ ราชการ 12% เอกชน 73% ที่เหลือตั้งกิจการของตนเอง และทำรัฐวิสาหกิจ สาขานี้ดีมานด์สูงมากให้100% มีงานทำ รุ่ง ตามการหางานให้จุฬาอันดับ1 เกษตร ราว90% อันดับ2 ลาดกระบัง อันดับ3 มหิดลอันดับ 4 เชียงใหม่ได้งาน 100% เหมือนกัน คนเป็นโรคภูมิแพ้ไม่ควรเลือก สัตว์เป็นพาหะของโรค
13 ต.ค. 55 / 08:33
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674428 124.121.76.199

#13# - 674429 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เภสัชศาสตร์ คณะนี้มีข่าวซิ่วมาก จะเรียนหมอกัน

จบจุฬามีงาน 100% ร วันที่สำรวจ รวมเรียนต่อ ทำราชการ 25% รัฐวิสาหกิจ 8% ที่เหลือทำบริษัทเอกชน และอื่นๆ รายละเอียดเภสัชทำอะไร ที่ไหน ดูได้จาก ของ ม เชียงใหม่

มองจากงานมาเร็ว จุฬาที่1 ศิลปากร ที่2 80% มหิดลมาที่3 เชียงใหม่ก็ร้อยเปอร์เซนต์มีงาน สอนอยู่หลายมหาวิทยาลัย ที่บูรพา ค่าเทอมตั้งปีละ 140000 หาเรียนที่ถูกๆหน่อยจะดี

สหเวชศาสตร์ เป็นข้าราชการ 20% ที่เหลือทำเอกชน รายละเอียดสาขาดูในกระทู้ก่อนหน้า จุฬา มหิดล พอๆกันในการมีงานทำ
13 ต.ค. 55 / 09:41
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674429 124.121.76.199

#14# - 674430 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] วิทยาศาสตร์การกีฬา

ขอบอกว่านับแต่นี้ วิทย์การกีฬา จะเข้ามาชิงงานของพลศืกษาเรียบ เพราะทำได้หลายอย่าง ตั้งแต่คุมน้ำหนัก สอนอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง ดุหุ่นให้เหมาะกับอาชีพ ไม่ชอบออกกำลัง ไม่เหมาะ

ทำราชการ7% ทำกิจการส่วนตัว 10% ที่เหลือทำกับภาคเอกชน สอนอยู่ 2-3 มหาวิทยาลัย เลือกจุฬาไว้ก่อน หางานได้ดี มันไม่ใช่ว่าที่ไหนดีกว่า ขื้นอยู่กับการตอบรับของตลาด การจัดการสร้าง job fair และลักษณะที่ business friendly ที่คนของแต่ละมหาวิทยาลัยถูกหล่อหลอมมาต่างกันอย่างมาก

คนที่จะเรียนพละ ควรสอบเข้าครุ พลศืกษา มีงานชัวร์ บรรจุที่ไหนอีกเรื่องหนื่ง

ปีที่แล้ว เข้าวิทย์กีฬา 4 คน
13 ต.ค. 55 / 10:02
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674430 124.121.76.199

#15# - 674431 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะวิทยาศาสตร์

นั่งอ่านผลการมีงานทำของบัณทิตคณะนี้ ของจุฬา เทียบกับลาดกระบัง และเกษตร เข้าใจเลยที่คนบอกว่าเรียนวิทยาศาสตร์กลัวตกงาน แล้วซิ่ว มันเป็นคำพูดเหมารวม เพราะหากแยกแยะลงรายละเอียด จะพบว่าหลายสาขามีอัตราการเข้างานสูงมาก

ที่จริง อยากเอาของมจธ มาเทียบด้วย แต่ตารางในคอมมันเอียงข้าง

นี่คือตัวเลขการมีงานทำของวิทยาศาสตร์ มก

http://www.unigang.com/Article/1181

วิทยาศาสตร์ จุฬา

คณะวิทยาศาสตร์ จบเยอะ ตั้ง768 คน ทำงานแล้ว 46.8% ศืกษาต่อ 264 คน 38% ยังไม่ทำงาน 105 คน 15% คณะนี้มีทุนเรียนต่อโท เอก มาก เช่น สถาบัน จุฬาภรณื วิทยาลัย ปีโตรเคมี โพลิเมอร์ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ลาดกระบัง

เป็นคณะที่อัตราการมีงานทำทันทีสูงกว่า เกษตร และจุฬา มหิดล เพราะเน้นวิทยาศาสตร์ประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม

การมีงานทำของลาดกระบัง วิทยาศาสตร์

ทำงานแล้ว 68% ศืกษาต่อ 21.2% ยังไม่ทำงาน 11% เท่านั้น

สาขาที่มีงานทำมากของลาดกระบัง คือ

เคมือุตสาหกรรม
วิทยาการคอมพิวเตอร์
จุลชีวอุตสาหกรรม
สถิติประยุกต์
เคมีอุตสาหกรรม เครื่องมือวิเคราะห์
คณิตศาสตร์ประยุกต์ วงเล็บ กับอุตสาหกรรมนั่นแหละ
เทคโนโลยี่ชีวภาพ
เทคโนโลยี่โพลิเมอร์
ฟิสิกส์ประยุกต์
เทคโนโลยี่ปีโตรเคมี

ตัวเลขนี้รวมเรียนต่อด้วย

มหิดล กับจุฬา เน้น pure science ลาดกระบัง เน้น applied science ที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิต งานจืงมีมาก สายมหิดล จุฬา เหมาะทำ วิจัย สอน เรียนต่อ ถ้ามีโครงการวิจัยของ ปตท ที่ระยองเกิด แบบเกาหลีจืงจะโอเค

ดูเงินเดือนวิทย์ ลาดกระบัง มจธ ดูเองนะจ๊ะ

ลาดกระบังเนี่ย ภาษาหุ้นเรียก หุ้นราคาถูกผิดปรกติ
13 ต.ค. 55 / 12:46
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674431 124.121.76.199

#16# - 674433 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] วิศวกรรมศาสตร์

พูดตรงๆว่าค่อนข้างสงสัยตัวเลขผู้ตอบคำถามการมีงานทำของวิศวะ จุฬา ที่หายไปตั้ง30 % ของบัณทิตที่เรียนจบ ถ้าจบแล้วมีงานทำก็ต้องรีบดี๊ด๊ามารายงานแหละ เทียบกับของลาดกระบังที่มีผู้ตอบเกือบร้อยเปอรืเซนต์ อันนี้น่าเชื่อถือมากกว่า ถ้าสามร้อยคนของวิศวะ จุฬาที่ไม่มาตอบ คือ ผู้หางานทำไม่ได้ นี่จะเป็นเรื่องใหญ่มากๆ

นี่คือตัวเลขการทำงานของวิศวะ เกษตร และมหิดล

http://www.unigang.com/Article/1181

และนี่คือ ตัวเลขผู้มีงานทำของ วิศวะ จุฬา ที่มีผู้ตอบการสำรวจเพียงเจ็ดสิบ%

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จบเยอะตั้ง 968 ตน ทำงานแล้ว 72.2% ศืกษาต่อ 21.9% ที่เหลือ 5.9% ยังไม่ทำงาน หลายสาเหตุ เช่น เตรียมตัวเรียนนอก หรือว่างงาน

คนที่เรียนต่อในทุกคณะ ไม่ใช่ว่างงานนะครับ พวกที่รับเข้าเรียนโทต่อ จะเป็นพวกผลการเรียนดีระดับหนื่งทีเดียว ผู้หญิงที่มาเรียนวิศวะมีสิทธิว่างงานได้ เพราะหลายสาขามากเป็นงานที่ไม่เหมาะกับผู้หญิง แม้แต่งานออกแบบ ประมูลราคา เพราะพวกผู้ชายจะอืดอัดที่จะคุยกันตรงๆ

ตัวเลขมีงานของ วิศวะ มจธ ไม่รวมศืกษาต่อ อยู่ที่ 63% ;ว่าง 10% เท่าลาดกระบีง

มหิดลมีตัวเลขมีงานทำ 33% ว่าง 77%

ดูของลาดกระบัง ดีกว่าเกษตร และมหิดลมาก หากไม่นับเรียนต่อ ลาดกระบังมีอัตรการมีงานทำร่วม70% มหิดล 33% เกษตรต่ำกว่า 50% มาก

คณะที่มีงานทำมากที่สุดของลาดกระบังกระจายมาก

วิศวกรรมไฟฟ้า จาก 122 ว่าง 9 ตัวเลขเรียนต่อของลาดกระบังราว 20% ของบัณทิต วิศวะ

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จาก 103 ยังไม่ทำงาน 8

;วิศวกรรมโยธา จาก 53 ว่าง 5

วิศวกรรม สารสนเทศ 113 ว่าง 13

วิศวกรรมเครื่องกล 69 ว่าง 3

วิศวกรรมเกษตร 23 ว่าง 6

วิศวกรรมระบบควบคุม 78 ว่าง 10

วิศวกรรมการวัดคุม 33 ว่าง 3

วิศวกรรมอุตสาหการ 22 ว่าง 6

วิศวกรรมโทรคมนาคม 176 ว่าง 27

วิศวกรรมเคมี 56 ว่าง 2

วิศวกรรมแมคาทรอนิกส์ 48 ว่าง 5

วิศวกรรมอาหาร 50 ว่าง 3
13 ต.ค. 55 / 14:23
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674433 124.121.76.199

#17# - 674434 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ทำไมพระจอมมีงานทำในอัตราสูง คำตอบน่าจะเป็นว่า

หนื่ง ตลาดยอมรับ ตลาดต้องการคนที่ปฎิบัติงานได้ ไม่รู้ละที่ไหนดีกว่า แต่เรื่องจ้างใครตลาดตัดสิน

สอง พระจอมเข้าคุมงานราชการ บริษัทที่จะต้องดีลกับราชการก็ต้องการคนที่ติดต่อได้ไปทำดีล ก็ต้องคนจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เช่นโยธา ไฟฟ้า อีเลกโทรนิกส์

สาม หลักสูตรของพระจอมสนองต่อความต้องการปัจจุบัน ลองเทียบดู งานที่ตรงกับหลักสูตรของพระจอมกำลังขยายตัว

เช่น โทรคมนาคม ระบบอัตโนมัติ ระบบวัดคุม precision industry

สี่ หลักสูตรของจุฬาตั้งมาแล้ว ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมไม่ขยายตามแผน เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานถลุงเหล็ก ของเกษตร เช่น การผลิตเครื่องบิน

ห้าความต้องการคนทำงานระดับสุดยอด ออกแบบได้มีเพียง 5 % ของวิศวะทั้งหมด ความต้องการเป็นระดับปฎิบัติการ แต่สุดยอดฝีมือน่าจะยังอยู่ที่จุฬา

หก ความแตกแยกระหว่างสถาบัน ดูถูกคนมันไม่ดี

หลักสูตรวิศวะจุฬา

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resources Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ (Metallurgical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม (Mining and Petroleum Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
ภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี (Nuclear Technology
13 ต.ค. 55 / 14:52
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674434 124.121.76.199

#18# - 674436 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มจธ

อย่างเงียบๆ บัณทิต มจธ เข้าทำราชการ รัฐวิสาหกิจปีละเป็น 1000 ขนาดวิศวะ ยังเข้าทำงานเอกชนเพียง 60 เปอร์เซนต๋เอง ในไม่กี่ปี มจธ จะเข้าคุมงานวิศวะ เทคโนโลยี่เกลี้ยง คนเข้าทำราชการ รัฐวิสาหกิจนี่เป็นพวกมองไกลมาก น้องๆเจอรุ่นพี่ที่ไปเรียน มจธ รีบเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวซะ เวลาไปติดต่อราชการจะไม่ลำบาก

ได้งานสายนี้เร็วมาก แสดงว่าคอนเนคชั่นดีมาก เพราะมาสายนี้มาก เงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ย จืงต่ำกว่า ลาดกระบัง

สายเอกชนก็มีเงินเดือนสูงเหมือนลาดกระบังแหละ เข้าใจว่าคนที่หางานลำบาก คือ คนที่คะแนนต่ำ สายช่างเป็นส่วนใหญ่ ที่นี่เรียนโทต่อกันมาก คนที่ยังไม่เรียนก็ตั้งใจต่อโทเกินครื่ง มหาวิทยาลัยนี้จะมีอิทธิพลมาก ในอนาคดขอทำนาย เค้าดังหลายเรื่องมาก
ปัจจัยความก้าวหน้าที่เค้าให้ความเห็น คือ อังกฤษ คอม การทำงานจริง และเทคนิกการวิจัย

ชาบู ชาบู เหมือนกัน ปีที่แล้วเข้าไป 35 คน

เอารายงานของลาดกระบังเรื่องแยกชั้นเงินเดือนมาทำบ้าง จะเท่ห์มากกว่าเดิมนะจ๊ะ ทั้งลาดกระบัง และธนบุรีมี osk อาวุโสเป็นนายกสภาอยู่ ป๋าทองฉัตร นายกพระจอมธนบุรี เดิมบ้านอยู่ตรงตืกตรงข้ามประตูจักรเพชรนั่นแหละ ป๋าเดินข้ามถนนก็ถืงโรงเรียนแล้ว

ปีที่แล้วเข้า มจธ 35 คน เยี่ยมมาก
13 ต.ค. 55 / 15:07
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674436 124.121.76.199

#19# - 674437 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ไว้จะไปถามที่มาที่ไปว่าทำไมวิศวะ จุฬาตกสำรวจถืง 30%

ภาควิชาของ มจธ วัสดุ และสิ่งแวดล้อม มีงานน้อย

http://www.eng.kmutt.ac.th/home/?lang=en&id=curriculum/undergrad
13 ต.ค. 55 / 17:49
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674437 124.121.121.61

#20# - 674438 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] จะเลือกเข้าที่ไหนดี
เมื่อผมเลือกมหาวิทยาลัย เดินคิดหลายวัน ตอนนั้นมีให้เลือกสองแห่ง

ผมพอใจกับสภาพกายภาพ สิ่งแวดล้อมไหม เพราะผมต้องใช้ชีวิตตั้ง4 ปี ต้นไม้ สถาปัตยกรรม ที่นั่งเล่น ถนนหนทาง อาคาร ความสะอาด ห้องน้ำ ห้องเรียน หอพัก ผมต้องการอะไรที่กว้าง โล่ง สบาย โรงอาหารที่ถูก ดี ไม่ร้อน

ผมดูผู้คน พฤติกรรม มีสิ่งที่ผมชอบไหม เทียบกับที่ไม่ชอบ การแต่งกาย ระเบียบวินัย การใช้ห้องน้ำ บรรยากาศห้องเรียน มีเลคเชอร์ดีๆใหม มีอาจารยืและความคิดที่น่าสนใจไหม มีกิจกรรมที่ผมชอบใหม มีบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ความอยากรู้อยากเห็นของผมไหม มีเพื่อนที่ผมตื่นเต้นกับวิธีคิด การมองโลกของพวกเขาใหม

เมื่อผมเข้ามหาวิทยาลัย อาจารย์บอกผมว่า 4 ปีที่นี่คุณจะได้มีเวลาศืกษา คิด คิด อ่านหนังสือ เรียนรู้ตนเอง และสังคมรอบด้าน คุณจะดูดซับมันจนกลายเป็นบุคลิค วัฒนธรรมของตนเอง สิ่งแวดล้อมจะสร้างคุณในบรรยากาศของมัน ผมจืงสนใจว่าห้องสมุดมีหนังสือดีๆให้ผมอ่านไหม มีสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจตลอดเวลาหรือไม่ และผมต้องมีเวลาว่างที่สามารถนั่งคิดอะไรที่เป็นตัวตนของผมบ้าง ผมอยากมีเพื่อนหลายๆอาชีพที่ผมสนใจจะเรียนรู้จากเขา

ผมจะยินดีที่คนภายนอกยอมรับตัวผม ผ่านชื่อเสียงสถาบันที่ผมเรียน ในสถาบันนี้ จะต้องบอกได้ว่าผมจะมีทางเลือกในการใช้ชีวิตอนาคตอย่างไร งานในโรงงาน งานในออฟฟิซ งานคิด งานปฎิบัติ ผมจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าผมต้องไปเรียนแพทย์ตจว 6 ปี ฝืกงานอีก 3 ปี เก้าปี ชีวิตพ่อแม่ผมจะเป็นอย่างไร เราจะยังสนิทกันหรือไม่

เดินเข้าไปค้นหาคำตอบเหล่านี้ในที่ที่คุณต้องการเลือก ชีวิตของคุณ
13 ต.ค. 55 / 19:52
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674438 124.121.121.61

#21# - 674440 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] พี่จากัวร์ขยันหาข้อมูลจังครับ แต่คอมเมนท์ที่17 ที่คณะวิดวะจุฬาน่าจะตกภาคยานยนต์ไปนะครับ ผมจำได้ว่าน่าจะมีอีกหลายภาค มีมารีนด้วยรึป่าวไม่แน่ใจ ส่วนที่ว่าทำไมเด็กวิดวะตกสำรวจไป30% ผมว่าเค้าคงไม่อยากตอบครับ เดี๋ยวนี้เด็กจบมาแล้วไปทำอย่างอื่นเยอะครับ อย่างอยู่บ้านเฉยๆนี่ผมว่าเกิน10%
13 ต.ค. 55 / 22:25
0 0
Kant [icon smile : 92 bytes] (7727) : n/a : n/a : n/a
followup id 674440 115.67.4.114

#22# - 674441 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] Kant ลืมใส่ โครงการอินเตอร์ของทุกมหาวิทยาลัยไป tks

ข้อมูลที่ใช้ขอเขามาบ้าง คุยมาบ้าง นี่ยังมีอีกเยอะ ยังไงจะได้มีฐานข้อมูลครบพอให้ตัดสินใจกัน

จุฬา อินเตอร์

http://www.ise.eng.chula.ac.th/web/
13 ต.ค. 55 / 22:48
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674441 124.121.121.61

#23# - 674442 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ที่วิศวะ จุฬากำลังคืกคัก ดูเวบคณะละกัน

กำลังสร้างตืก 15 ขั้น มีพื้นที่เพิ่มคงเห็นอะไรใหม่ๆ

จุฬากำลังสร้างตืกเชื่อมงานวิจัยอีกแห่งใกล้มาบุญครอง

http://www.eng.chula.ac.th/
13 ต.ค. 55 / 22:54
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674442 124.121.121.61

#24# - 674444 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] วันก่อนไปเที่ยวจุฬา คณะแพทย์กับโซนสามย่านนี่สร้างอาคารกันสนุกไปเลยครับ หอพักนิสิตนี่แทบจะทำใหม่หมด อาคารกระจกของคณะแพทย์ที่กำลังสร้างก็สวย วิดวะนี่เห็นว่าจะสร้างโรงอาหารใหม่ อิจฉาเด็กจุฬาสมัยนี้จัง
14 ต.ค. 55 / 01:02
0 0
Kant [icon smile : 92 bytes] (7727) : n/a : n/a : n/a
followup id 674444 115.67.4.114

#25# - 674445 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ความเห็นของ Kant เป็นเรื่องจริง คนที่ยังไม่ทำงาน จะด่วนสรุปว่าเป็นคนหางานทำไม่ได้ทั้งหมดคงไม่ได้ เจาะลืกถามคนที่ี่ยังไม่ทำงาน เกิน30%-50% บอกว่าไม่ต้องการหางานทำ

สมัยนานมาแล้ว ในสังคมฝรั่ง คนทุกคนต้องทำงานเพราะพ่อ แม่ถือว่าหมดหน้าที่เลี้ยงดูเมื่อเรียนจบ ต่อให้บ้านรวยก็ต้องไปหาเลี้ยงชีพเอาเอง

สังคมที่มีความซับซ้อน แตกต่างทางเศรษฐกิจสูงอย่างในเอเซีย ลูกและพ่อแม่รวมกันเป็นหนื่งกระเป๋า โดยเฉพาะครอบครัวลูกคนเดียว ที่มีอยู่มาก

เคยถามเด็กจุฬาหลายคนว่าจะทำอะไรต่อ มีคำตอบแปลกๆ

จะขับรถให้แม่ กินข้าวกับแม่ แม่หนูทำธุรกิจ รายได้เยอะ ดีกว่าหนูไปทำงานบริษัท ช่วยจำ คุย แล้วสรุปว่าหนูคงมีอาชีพเป็น consultant ของแม่ เงินเดือนตามที่อยากได้ แม่อารมณ์ดีก็ได้เยอะ ฮ่า

หลายคนบอกว่าเตรียมสอบ GRE GMAT TOEFL รอสมัครมหาวิทยาลัยใช้เวลา สักปีกว่า ไม่ทำงานค่า

บางคนบอกว่า จะไปอยู่บ้านคุมไม่ให้พ่อมีกิ๊ก ลดรายจ่าย เท่ากับรายได้เพิ่มเดือนละแสน

หลายๆคนบอกว่า จะทำธุรกิจค่า ต้องนั่งดูสถานการณืให้ชัดเจนก่อน แนวนี้เชื่อว่าทำไม่กี่โครงการในชีวิต สำเร็จก็อยู่ได้

อีกหลายคนนั่งรอcycle หุ้นขาลง กะจะทำ 10 เท่า ไปทำงานไม่มีเวลาติดตาม

ที่บอกว่า อยู่บ้านดูแลพ่อ แม่ ปู่ ย่า ยิ่งปู่ ย่า อายุยืนเท่าไหร่ รายได้จากบำนาญ การบริหารทรัพย์สินยิ่งมาก ใช้ชาวบ้านทำงานนั่นแหละ ก็มีมาก

ยุคนี้หลายครอบครัวอยู่ได้ โดยอาศัยการเพิ่ม รายได้จากทรัพย์สิน หุ้น ทอง เป็นแนว 3generations

สาวสวยคนหนื่ง มีแฟนอายุ 30 บอกว่าไม่ทำงานค่า จะแต่งงานมีลูก แฟนบอกว่าจะยกเงินเดือนๆละ สี่หมื่นกว่าให้หมด แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านหนู เดือนละสี่หมื่นกว่าไม่เลวค่า จะให้เค้าใช้วันละ 300 พอ นี่ก็อีกแนว สงสารแฟนมัน

ยุคนี้คนจำนวนมากไม่ใช่แรงงาน ที่ต้องรับงานจ้างเป็นเดือน กลายเป็นโมเดลครอบครัวที่หลากหลายมาก

นักเรียนเอแบก กรุงเทพหลายคนก็ออกแนวนี้แหละ

ธรรมศาสตร์ใช้นักเศรษฐศาสตร์ทำรายงาน แยกคนที่ไม่ต้องการหางานทำออกหมด แล้วประกาศว่า มธ มีงานทำ 100 %

คนเรียนมหาวิทยาลัยุคนี้ จืงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก เรียนเพื่อรักษาสถานะของครอบครัว รักษาสมบัติให้อยู่รอด ดูดีในสังคม หาอะไรที่พอใจในชีวิตทำ ไม่ใช่คู่แข่งในตลาดแรงงาน

กลุ่มที่สอง เรียนเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของตนเอง และครอบครัวต้องการงานเงินเร็ว รายได้สูง

โมเดลของคุณชัดเจนมั้ย
14 ต.ค. 55 / 09:35
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674445 124.121.121.61

#26# - 674447 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เห็นด้วยเลยครับ พี่อธิบายได้แจ่มชัดมาก เพื่อนๆผมส่วนมากเป็นอย่างนี้เลย ส่วนคนที่บ้านไม่มีธุรกิจก็จะทำงานจนถึงจุดนึงก็จะลาออกมาทำอย่างอื่น บางคนมาตั้งธุรกิจเอง บางคนเอาเงินมาลงทุนในหุ้น ตอนนี้เหลือเพื่อนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนแค่ประมาณ 10-20% นี่ขนาดพวกผมอายุยังไม่เยอะนะครับ อย่างรายล่าสุดลาออกจากเชฟรอนเงินเดือนแสนกว่าบาท ออกมาทำธุรกิจเอง เห็นบ่นว่าเหนื่อยและเบื่อ ทั้งที่คนนี้เรียนโทสองใบ นับเวลาเรียนในมหาวิทยาลัยเกือบสิบปี ก็ทนเรียนได้ แต่มาทำงานกลับทำได้ระยะเวลาสั้นกว่า สังคมมันค่อยๆเปลี่ยนไปจริงๆครับ
14 ต.ค. 55 / 11:17
0 0
Kant [icon smile : 92 bytes] (7727) : n/a : n/a : n/a
followup id 674447 115.67.230.82

#27# - 674451 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] @ Kant ข้อมูลน่าตื่นเต้นมาก รุ่นหลังเหลือเป็นมนุษย์เงินเดือนเพียง 10-20% ทิ้งงานเงินเดือนสูง

ช่วยเพิ่มนิดนืง ว่าเปอร์เซนต์หลักๆ เขาออกไปทำอะไร ประสบความสำเร็จใหม ตั้งตัวได้ไหม

เป็นเทรนของวิศวะทุกสถาบันหรือเปล่า เช่น พระจอม เกษตร หรือเฉพาะวิศวะ จุฬา

ถ้าออกไปแนวนี้จำเป็นไหมที่ต้องเข้าเบอร์หนื่งอย่าง วิศวะ จุฬา ที่นี่ให้ประโยชน์อะไร หางานได้หมดทุกคนไหม เข้าบริษัทพวกอะไรกันบ้าง

ถ้าเช่นนั้นหันไปเรียนแนวบัญชี การเงิน ไฟแนนซ์ แทนเรียนวิศวะดีกว่าไหม

พี่เขียนไว้ยังงี้ไม่รู้ถูกหรือเปล่ารบกวนเมนท์หน่อย แล้วที่มีตัวเลข วิศวะ เกษตร มหิดล มีงานทำน้อยนี่จริงไหม



เขียนไว้ว่า

จบวิศวกรรมออกไปทำงานอะไร

40-50 เปอร์เซนต์ออกไปทำงานที่อยู่ใน chain เรียกว่า engineering related occupations เช่น เป็นนายแบงค์ ตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหารบริษัท บริษัทที่ปรืกษา ทำกิจการอสังหาริมทรัพย์ ส่งออกสินค้า ทำธุรกิจส่วนตัวซื้อ ขาย โน่น นี่ ตั้งโรงงานเอง ง่ายๆเช่น ผลิตถุงดำ เอาว่ากระจายทั้งภาค การเงิน หลักทรัพย์ อาหาร น้ำ อสังหา ขนส่ง โรงงาน การบิน การเดินเรือ อาจารย์

อีก 25 เปอร์เชนต์เป็นพวกขายของ เครื่องจักร เทคโนโลยี่ ขายวัตถุดิบ เช่น ปูน เหล็ก หิน สี รถ

อีก 25-30 เปอร์เซนต์ทำงาน engineer จริงๆ เช่น สร้างทาง ทำรถไฟฟ้า งานพลังงาน ระบบไฟฟ้า สายการผลิต

ก็เป็นมาแบบนี้ร่วม50-60 ปี

ทำไมวิศวกร จืงไปทำงานอื่นหลากหลาย
การปล่อยกู้โครงการขนาดใหญ่ของธนาคาร เช่น สร้างเขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน นิคมอุตสาหกรรม การผลิตอะไรที่ต้องกู้สักห้าพันล้าน ส่งออก นำเข้า อสังหาริมทรัพย์ ตั้งโรงงาน ของพวกนี้ วิศวะเข้าใจระบบ มองเห็นประเด็น สายอื่นมองไม่ออก เกือบ 75 เปอร์เซนต์ของเงินกู้ทั้งระบบ งานมูลค่าสูง ตำแหน่งก็ใหญ่ ขื้นผู้บริหารง่าย ไปเยี่ยมลูกค้าบ่อยๆ เค้าก็ชวนไปบริหาร จับเป็นลูกเขยก็มาก

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ก็เยอะ ก็กำไร ขาดทุน ของบริษัทพวกนี้รู้ เลยรวยจากหุ้นกันมาก




รอ Kant
14 ต.ค. 55 / 22:25
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674451 124.121.73.54

#28# - 674452 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] อีกคำถามที่สงสัยมาก คือ เพื่อนรุ่นเดียวกันที่ไปเรียนหมอ หมอฟัน เภสัช เทียบกับวิศวะแล้วเป็นอย่างไร ณ ตอนนี้ เอาเรื่องเศรษฐกิจ การสร้างครอบครัวน่ะ

ถ้า Kant และเพื่อนจะเป็นนักเรียนเอนใหม่ปีนี้ยังจะเลือกแบบเดิมหรือเปล่า หรือเลือกคณะอื่น

พวกเด็กวิศวะรุ่นหลังไปได้แฟนแนวไหนกัน อยากรู้ ฮ่า ฮ๋า
14 ต.ค. 55 / 22:37
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674452 124.121.73.54

#29# - 674456 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ข้อมูล เกษตรศาสตร์ปี 2551 ได้งานมากเหมือนกัน หลายคณะดีกว่าจุฬา

http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=68522
15 ต.ค. 55 / 15:38
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674456 124.121.73.54

#30# - 674458 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมว่าเด็กวิดวะมหาลัยอื่นไม่เหมือนจุฬาครับ อย่างเกษตรนี่เห็นไปทำงานรัฐวิสาหกิจกันเยอะ ในกฟน.กฟผ.กปน. จะมีเด็กเกษตรเยอะ เหมือนๆชวนกันเข้าไป ในขณะที่เด็กจุฬาจะไม่รับราชการหรืออยู่รัฐวิสาหกิจเลยครับ ส่วนที่ว่าเด็กวิดวะไปทำงานได้หลากหลาย อันนี้เห็นด้วยครับ จริงๆผมว่าที่เรียนกันในมหาลัยเอาไปใช้ในวิชาชีพจริงๆน้อย ใช้ทักษะอย่างอื่นมากกว่า อีกคณะที่เห็นชัดคือ เด็กอักษรครับ เด็กคณะนี้ส่วนมากต้องไปต่อโทบริหารกัน แล้วก็ไปทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษาศาสตร์ แล้วเค้ามาเลือกเรียนทำไม ทำไมไม่ไปเรียนเศรษฐศาสตร์หรือบัญชีตั้งแต่ต้น ผมว่ามันเป็นค่านิยมอ่ะครับ เอาไว้เจอเด็กอักษรจะลองถามๆเจาะประเด็นพวกนี้ดูครับ
15 ต.ค. 55 / 22:19
0 0
Kant [icon smile : 92 bytes] (7727) : n/a : n/a : n/a
followup id 674458 58.8.85.53

#31# - 674459 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ส่วนคณะที่ดูดให้ยังทำงานตรงสายที่เรียนมาได้มากที่สุดน่าจะเป็นหมอทั้งหลายครับ เพื่อนๆผมที่เรียนหมอกัน มีส่วนน้อยมากๆๆที่ลาออกมาทำอย่างอื่น ส่วนประเด็นให้ลองเทียบคนที่จบมาแต่ละคณะ ผมว่าวิดวะเนี่ยหลากหลายที่สุดแล้วครับ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนเลือกที่จะไปทำอะไร พวกที่ไปเล่นหุ้นชีวิตก็จะคล้ายไปทางคนที่เรียนมาทางเสดสาด อีกอันที่น่าสนใจคือพอถามว่า ถ้าให้ย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร พวกเด็กวิดวะกว่าครึ่งบอกว่าไม่เรียนวิดวะครับ
15 ต.ค. 55 / 22:31
0 0
Kant [icon smile : 92 bytes] (7727) : n/a : n/a : n/a
followup id 674459 58.8.85.53

#32# - 674461 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ข้อมูลของ Kant น่าสนใจมาก
พลิกกลับไปดูข้อมูลของลาดกระบัง มจธ มจพ และเกษตร พบว่า วิศวะ จุฬาสูญเสียความเป็นผู้นำในการกำหนดแผนงาน จัดงบ จัดซื้อ จัดจ้าง ตรวจรับงานราชการ รัฐวิสากิจด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม และในอนาคต น่าจะเป็นสารสนเทศ ให้แก่ 3 พระจอมไปเรียบร้อย เทรนด์นี้จะเห็นชัดขื้นเรื่อยๆ

วิศวะ มจธ เข้าทำราชการ รัฐวิสาหกิจร่วม 400 คน 40% ของบัณฑิต ลาดกระบังก็เยอะมาก มจพ ด้วย มิน่างานวิจัยของสามพระจอมจืงมีทุนหนุนหลังมาก มหาวิทยาลัยก้าวหน้ารวดเร็ว เกษตร ถ้าเป็นตามที่ Kant พูด น่าจะมีส่วนแบ่งในราชการ รัฐวิสาหกิจมากเหมือนกัน จุฬาออกไปสร้างธุรกิจเองมั้ง โดนบอยคอทหรือเปล่า ถ้าไม่มีเครือข่ายในราชการ รัฐวิสาหกิจที่เรียนไปก็ไม่มีประโยชน์

ตัวเลขวิศวะ จุฬา ปีนี้เข้าราชการ 2 คน รัฐวิสาหกิจ 14 คนเอง ภ้าจะรุ่งยาก จุฬาคงไปอยู่กับบริษัทใหญ่ เจอ KPI กันหนัก เลยลาออก แนวของวิศวะที่อื่นเน้นความมั่นคง มองยาว

ข้อมูล

http://www.kmitl.ac.th/plandiv/plan%20web2/research/work52.pdf

http://www.kmutt.ac.th/pd/inoffice/working52.pdf
16 ต.ค. 55 / 11:49
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674461 110.168.3.67

#33# - 674463 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] จบจุฬาออกไปทำงานอะไรกันบ้าง จากตัวเลขผู้ทำงานแล้ว ไม่รวมผู้ศืกษาต่อ ไม่รวมผู้นอนอยู่บ้าน

ตัวเลขนี้ จะช่วยการตัดสินใจเลือกคณะ จบตรีต้องการทำงานเลย หรือเรียนต่อ

จะทำราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรเอกชน ทางบ้านต้องเตรียมทุนเท่าใด ใช้เวลาเท่าใดจืงจะได้งาน แต่ละมหาวืทยาลัยมีแหล่งงานต่างกัน จุดรวมพลต่างกัน

วิทยาศาสตร์

ทำราชการ 4.55 15 คน เอกชน 50% รัฐวิสาหกิจ2% เจ้าของกิจการ 8% ไม่ระบุอาชีพ 32% ต่างจากพระจอม


จิตวิทยา
ราชการ 15% บริษัท 45% อิสระหรือเจ้าของกิจการ 10% ไม่ระบุอาชีพ 27%


วิศวกรรมศาสตร์

ราชการ รัฐวิสาหกิจ 3% เอกชน 60% อิสระะ 3%
องค๋กรต่างประเทศ 3% ไม่ระบุอาชีพ 32%


ถาปัด
ราชการ 3% เอกชน 64% อิสระ เจ้าของ 9% ไม่ระบุอาชีพ 25%

อักษร

ราชการ 4% ต่างจาก มศว และ ศิลปากรมาก รัฐวิสาหกิจ 1.7% เอกชน 58.3% อิสระ เจ้าของ 7.2% องค์การต่างประเทศ 5.6% ไม่ระบุอาชีพ 18%

ศิลปกรรม

ราชการ5% เอกชน 56% อิสระ เจ้าของ11% อื่นๆ ไม่ระบุ 28%


ครุศาสตร์

ราชการ 38% เอกชน 32% อิสระ เจ้าของ 6% องคืการตปท 3 คน ไม่ระบุุ 22%
16 ต.ค. 55 / 12:52
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674463 110.168.3.67

#34# - 674464 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] นิติ

จริงๆต้องวัดหลังจบเนติ หรือจบโท ในขั้นปริญญาตรี

ราชการ6% เอกชน 57% ไม่ระบุ 37%

นิเทศ

ราชการ รัฐวิสาหกิจ 3% เอกชน 42% อิสระ4% องค์กรต่างประเทศ 7% พวกสำนักข่าวต่างๆ อื่นๆ 18% ไม่ระบุ 27%

พาณิชย์ บัญชี

ราชการ 2% รัฐวิสาหกิจ 3% เอกชน 80% อิสระ เจ้าของ 3%องค์การต่างประเทศ 16 คน 3% ไม่ระบุ 10%

รัฐศาสตร์

ราชการ 7 คน 6% รัฐวิสาหกิจ 4 คน เอกชน 58% อิระ เจ้าของ 6% อื่นๆ ไม่ระบุ 28%
16 ต.ค. 55 / 13:15
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674464 110.168.3.67

#35# - 674465 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เศรษฐศาสตร์

ทำราชการ รัฐวิสาหกิจ ราว 11% ส่วนใหญ่ทำรัฐวิสาหกิจ เอกชนราว 50% เจ้าของกิจการ 5% องคืกรต่างประเทศ 5 คน ไม่ระบุ 30%

แพทย์ ทันตะ

ข้าราชการเกือบหมด ก็ต้องใช้ทุนนี่นา

สัตวแหทย์

ราชการ 12% เอกชน 73% อิสระ 3%

เภสัช

ราชการ 25% รัฐวิสาหกิจ 8% อื่นๆ 10% ที่เหลือ เอกชน

สหเวช

ราชการ 205 อี่นๆ 20% ที่เหลือ เอกชน

วิทย์กีฬา

ราชการ รัฐวิสาหกิจ 9% อิสระ เจ้าของ 9% ที่เหลือ เอกชน
16 ต.ค. 55 / 13:38
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674465 110.168.3.67

#36# - 674467 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ร้อนๆเลย

http://www.planning.ku.ac.th/planning/downloads/information_manager/work/work_index.htm
16 ต.ค. 55 / 13:57
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674467 110.168.3.67

#37# - 674469 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ระวังกันหน่อย โลกมิได้สวยงาม

หยิบสถิติ ปี 52 มาดู ช่วงปลายๆปี 51 เกิดวิกฤติ subprime ในสหรัฐ หุ้นตกแรงภาคธุรกิจกลัวกันมาก หยิบสถิตินักเรียนจุฬารุ่นปี 52 มาดู ก็คงเริ่มหางานกันปี 53 ;มีคณะที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจมากอยู่หลายคณะ

วิศวะ ตัวเลขผู้มีงานทำของหลายคณะทรุดฮวบลง

วิศวกรรมศาสตร์ จาก 895 คน


มีงานทำ 18.3% 159 คน

ทำงานแล้วและศืกษาต่อ 315 คน

36.6% ยังไม่ทำงาน 196 คน

ศืืกษาต่อ 195 คน 22.5%

เนื่องจากวิศวะ จุฬาพื่งพิงงานภาคเอกชนเป็นหลัก ไม่กระจายแหล่งงานเหมือนสถาบันอื่น เช่น เกษตร งานราชการ ทั้งมหาวิทยาลัย 50% ลาดกระบัง พระจอม มศว ศิลปากร

การจัด job fair ใน2 ปีหลังดันตัวเลขขี้นมาที่ปี 2553 คิดว่าจุฬาเสียความสามารถในการแข่งขันงานราชการ รัฐวิสาหกิจไปแล้ว หรือเปล่า

การสร้างความโดดเด่นขาดพันธมิตรก็อันตรายมาก เพราะในเด็กแต่ละปี 1 ล้านคนเนี่ย นักเรียนจุฬามีน้อยมาก

เป็นกรณีศืกษาที่ดีให้สวนกุหลาบว่า เราควรมีเพื่อนมากๆทุกโรงเรียน ไม่หมิ่นใคร และจำเป็นต้องสร้าง connection กันไว้ กรณีวิศวะ จุฬา งานจะขยายตัวเมื่อเเศรษฐกิจขยายตัว ต้องบรัหารเงิน และความเสี่ยงให้เป็นถ้าเรียนคณะนี้ และต้องมีเงินสำรอง

เหมือนหุ้น ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงสูง ลองวิเคราะห็เศรษฐกิจไทยดู
16 ต.ค. 55 / 15:41
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674469 110.168.3.67

#38# - 674471 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะต่อมาที่sensitive สูงยามเศรษฐกิจทรุด คือ อักษรศาสตร์

จาก283 คนมีงานทำ 121 คน ทำงานด้วยเรียนต่อด้วย 14 คน รวม 52.3% เรียนต่อ 24% ทำราชการ และรัฐวิสาหกิข เพียง 9 คน

คณะนิเทศศาสตร์

จาก 214 คน ทำงาน 84 คน ราว 52% เรียนต่อ 16.3% ไม่ทำงาน 31.3% %0 คน

คณะเศรษฐศาสตร์

มีงานทำ 102 คนจาก 238 ตน เรียนต่อ 82 คน 35% ไม่ทำงาน 51คน 21.7%

รัฐศาสตร์

จาก 197 คน ทำงาน 112 คน 56.9% เรียนต่อ 54 คน 24.7% ไม่ทำงาน 31 คน 15.7%

;วิทยาศาสตร์

จาก 598 ตน ทำงาน 222 คน 40.1% เรียนต่อ 211 คน 38.1% ไม่ทำงาน 121 คน /21.8%

ก็ไม่แน่ใจว่า ผู้ที่ไม่ทำงานเป็นผู้หลอมรวมกับครอบครัว โดยไม่ต้องทำงานหรือไม่

ไม่แน่ใจว่าที่เรียนต่อทั้งหมด เพื่อรอเศรษฐกิจฟื้นหรือไม่ ต้องมีตัวเลขการมีงานทำระดับปริญญาโทมายืนยัน

ก็ไม่แน่ใจว่ามีผู้เดือดร้อนหรือไม่ ในช่วงที่ต้องเรียนต่อด้องเตรียมทุนไว้
16 ต.ค. 55 / 18:04
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674471 110.169.179.59

#39# - 674472 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ข้อแนะนำบางเรื่อง

คงอยู่ที่การตัดสินใจของผู้เรียนว่า

จะใช้วิธีประเมินรายได้ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ กับเอกชนอย่างไร

จะมีแผนรองรับหลังเรียนจบอย่างไร ในกรณีงานภาคเอกชนหดตัว

ถ้าเป็นผู้หญิงการปรับตัวยากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องไปทำงานห่างไกลบ้านมาก

บางคณะอย่างวิทยา อาจต้องการนักเรียนที่สุดยอด เรียนให้ถืงปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยคงต้องตั้งหน่วยหางานราชการ รัฐวิสาหกิจขื้น

แต่มีความจริงที่ว่า เด็กที่เข้าจุฬาส่วนใหญ่มาจากครอบครัว ธุรกิจ ในกรุงเทพ ต่างจังหวัดน้อย ผุ้หญิง 70% ต่างจากพระจอม การเห็นความสำคัญเรื่องหางาน เลือกงานคงต่างกันออกไป

คณะอื่นๆ โอเคล่ะ
16 ต.ค. 55 / 18:25
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674472 110.169.179.59

#40# - 674474 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] อ่านคำตอบเรื่องการทำงาน การย้ายงานของเด็ก จุฬา มธ เลยครับ คนจบสองมหาวิทยาลัยนี้คุยกัน ดีมากๆ

http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2012/01/B11610545/B11610545.html
16 ต.ค. 55 / 23:41
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674474 110.169.179.59

#41# - 674475 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] จะเอาเงินเดือนระดับ top ของวิศวะ จุฬา มาให้ดู ดีเวอร์
16 ต.ค. 55 / 23:53
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674475 110.169.179.59

#42# - 674476 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] บัณฑิตหญิง วิศวะ หางาน

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=34d31b407d27670e
17 ต.ค. 55 / 09:54
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674476 110.169.179.59

#43# - 674496 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] มีข้อมูลกองโตมาวางอยู่ใกล้ๆ นั่งคุยกับหลายคน คนเก็บข้อมูล อาจารย์หลายคณะ ข้อมูลระดับภาควิชา ตั้งแต ปตรี ป โท ป เอก

จะมาบอกสิ่งที่คัดกรอง วิเคราะห์อย่างดีให้เด็กสวนกุหลาบ

เริ่มอย่างนี้ละกัน

กรุงเทพวันนี้อยู่ยากด้วยเงินเดือน รายได้ 15000 -20000 ถ้าไม่มีบ้าน ไม่มีอะไรเลย เบอร์ 10 เขียนว่า ค่าวัสดุก่อสร้าง ราคาที่ดินแพงขื้นทุกวัน บางทีร่วม 50% ต่อปี แล้วจะตั้งตัวอย่างไร

ก่อนลงเงินเดือนรายสาขาวิชา ทั้งป ตรี โท เอก ที่สำคัญ ขอวาดภาพกว้างๆว่าคนเราสร้างตัวกันอย่างไร

1 หาคุ่ครองที่ช่วยกันได้ พื่งพากันได้ ถ้าคุณมีฝีมือ หารายได้เข้าบ้าน ภรรยามีทรัพย์สินที่มูลค่าเพิ่มขื้นเรื่อยๆ โอเคเลย เคยเห็นหนุ่มพระจอมกับสาวเกษตร โมเดลนี้

2 คู่ครองเริ่มต้นจากไร้ทรัพย์สิน ช่วยกันสร้างกระแสเงินสด รายได้มากขื้น ลงทุนเป็น มีลูกคนเดียว เห็นมากมาย

3 สร้างความชำนัญในวิชาชีพ มีรายได้เดือนละแสนขื้น ถืงสองแสนไปได้ล่ะ เด๊๋ยวจะโชว์ตัวเลข

4 เป็น ceo ธุรกิจของตนเอง ที่สำเร็จ จะเป็นหุ้น ทอง ค้าขาย รับเหมา ได้ทั้งนั้น

5 มีผู้นำทาง บุกเบิก ไม่ว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ต่า ยาย จบแล้วสานกิจการต่อ อาศัยท่านเหล่านี้เป็นหลัก ทำตัวเป็นผู้ช่วย

6 คิดโมเดลธุรกิจ โมเดลชีวิตที่ชัดเจนได้

บางโมเดล

ประหยัด ค้าขายที่บ้าน ไม่มีรายจ่ายเดินทาง รถยนต์ สังคม ลูกค้าวิ่งมาหา ประหยัด รุ่น 2 สบาย

หมอหลายคน ข้าราชการ ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด มีบ้านขนาดเดียวกันถูกกว่ากทม 10 เท่ากว่า ปล่อยให้ทรัพย์สินราคาขื้น

บางคนรอเศรษฐกิจตก ซือสินทรัพย์ถูกกว่าปกติ หนื่งเท่า

บางคน แลเห็นโอกาส พื้นที่กาญจน์ สุราษฎร์ สมุย พงัน ผลรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจังหวัดต่างๆ หรือproduct ใหม่

การศืกษาขั้นมหาวิทยาลัย ช่วยจุดมุ่งหมายชีวิต งานของสังคมอย่างไร ลองคิดเชื่อมโยงดู แล้วยังขาดอะไร

มีหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ไม่ต้องการสอน และไม่ควรสอน คุณต้องตั้งโจทย์เอง ตอบเอง
19 ต.ค. 55 / 23:40
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674496 115.87.39.67

#44# - 674497 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เงินเดือนคณะพาณิชย์ บัญชี

คณะนี้ อาจารย์เภสัช วิทยา และวิศวะ อาวูโส บอกว่า ถ้าเด็กหัวดีระดับเข้าทั้งสามคณะที่ว่าได้ มาเรียนคณะนี้ จะไปดี ไปเร็ว ไปแรงกว่าเรียนสามคณะที่กล่าว

เงินเดือน ป ตรี ปี 2553

จากเฉลี่ย ถืงสูงสุด ในแต่ละแผนก




การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 20000>>>>>>>>>45000

บัญชี 20000>>>>>>>>>63000

การตลาด 13000>>>>>>>>>>>35000

ะนาคาร การเงิน เท่าการตลาด

ประกันภัย ปี 2552 เริ่มสูงสุด 100000


ปริญญาโท

บริหารธุรกิจ 75000>>>>>>>>>-320000

เทคโนสารสนเทศธุรกิจ 38000>>>>>>90000

การกำกับดูแลกิจการ 35000>>>>>>110000

การจัดการการเงิน 47000>>>>>115000

การบัญชีี 48000>>>>>>>110000

การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 40000>>>>90000

การพัฒนาซอฟท์แวร์ธุรกิจ 50000>>>>>300000

การเงิน 42000>>>>> 100000

การตลาดเหมือนการเงิน

คำแนะนำ

ถ้าสอบได้คณะนี้เอาเลย รอสำรองก็เอา รอบแรกพวกหมอ โอลิมปิกมาเยอะ สละสิทธิ์แน่นอน

น้องๆที่ไปเรียนวิศวะ หมอ สารสนเทศ การจัดการ เศรษฐสาสตร์ วิทยา เภสัช และคณะอื่นๆ นิเทศน์ ทุกมหาวิทยาลัย ควรต่อโทที่นี่หรือ มธ หรือ นิด้า สาขาพวกนี้

น้องๆที่ไปเรียนมหาลัยอื่นๆ มาสมัครด้วย ดีมาก

ยังไงเข้าหลักสูตรมินิ ประกาศ อบรมจากที่นี่จะเป็น profile ที่ดีมากๆ และจะช่วยเรื่องความคิดมาก

เทรนด์เมืองไทยตอนนี้ ต้องการนักบริหารเทคโนโลยี่ นักบริหารวิศวกรรม นักบริหารอสังหาริมทรัพย์ ไม่ค่อยต้องการ specialist เพิ่ม
20 ต.ค. 55 / 00:24
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674497 115.87.39.67

#45# - 674499 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] คณะนี้บัณฑิตได้เกียรตินิยมตั้ง 40% ไทร์น้อย การันตีอนาคตเรียนต่อ สมัครงานง่าย ไม่เหนื่อยด้วย บุคลิกดีไม่มอมแมมแบบวิศวะ สาวสวยมาก ขอบอก อาจารย์น่ารัก สมัครได้ทั้งวิทย์ ศิลปะ

http://www.acc.chula.ac.th/index.php?option=com_content&view=frontpage&Itemid=1
20 ต.ค. 55 / 01:05
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674499 115.87.39.67

#46# - 674567 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] รายงานของคณะ บัญชี ธรรมศาสตร์ น่าสนใจมาก

http://www.unigang.com/Article/1402
25 ต.ค. 55 / 11:00
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674567 124.121.134.197

#47# - 674688 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ก็อปมา

อยากบอกว่ามหาลัยนั้นมีผลกับการเลือกทำงานค่อนข้างมาก เพราะว่าสาขาบัญชีจะมีบริษัทตรวจสอบบัญชีที่เรียกว่า Big4 ได้แก่ PwC EY KPMG และ Deloitte ซึ่งบริษัททั้งสี่ที่นี้เป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีระดับโลกที่เด็กบัญชีส่วนใหญ่อยากเข้ากัน เพราะเงินเดือนค่อนข้างดี (เทียบกับจบบัญชีด้วยกัน) โอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง (แต่งานก็หนักมาก 55) และทั้งสี่ที่เขาก็จะรับเด็กที่จบจาก จุฬา มธ เกษตร บางเขน และเอแบค เป็นส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริงแต่ถามว่ามีมหาลัยอื่นไหม ก็มีนะไม่ใช่ไม่มีแต่เป็นจำนวนที่น้อยกว่ามากๆๆคือน้องก็ต้องมีอะไรที่เด่นจริงๆ เช่น เกรดเยอะ กิจกรรมเด่น เก่งภาษาเป็นต้น
ส่วนที่ จขกท. บอกว่าเดี๋ยวนี้คนเขาไม่วัดกันที่ความสามารถแล้วหรอเนี่ย อยากบอกน้องว่า "ถ้าเราเก่งจริงก็ไม่ต้องกลัว" เพราะบริษัทเหล่านี้ก่อนรับเข้าทำงานเขาจะมีการทดสอบหลายอย่างมากโดยจะเน้นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ และมีการสอบสัมภาษณ์ด้วย ยังไงถ้าอยากเรียนทางสายนี้ก็ควรเตรียมตัวเรื่องภาษาอังกฤษไว้จ๊ะ
03 พ.ย. 55 / 11:44
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 674688 124.121.198.104

#48# - 675364 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ข้อมูลล่าสุด สวนกุหลาบ

http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=68691
17 ม.ค. 56 / 09:29
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 675364 110.169.172.132

#49# - 676512 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] น้องๆสวนกุหลาบควรรู้ว่ารุ่นพี่ๆสามสี่ปีก่อนหน้านี้ ไปเรียนอะไร ที่ไหน เพื่อเอาไว้เป็นข้อมูล การเลือกของรุนพี่ๆเค้าต้องผ่านการคิดพอสมควร

เริ่มที่คณะ สาขาวิชาที่เรียน

สถิติปั 2554 เด็กสวนเข้าเรียนแพทย์ 42 ดดยทั่วไปก็ปีละ 50 เรียนทันตแพทย์ 13 ซิ่วมาเข้าในปีต่อมาราว 10 เภสัช 2 สัตวแพทย์ 4 กายภาพบำบัด1 สาธารณสุข 1ดูเหมือนเด็กสวนจะเรียนเภสัชน้อย คงไม่ตื่นเต้นมั้ง

เรียนวิศวะ 133 แบ่งๆกันไป จุฬา เกษตร พระจอม พระจอมส่วนใหญ่อยู่กันที่ มจธ เด็กสวนอยู่ในวิศวะจุฬาอันดับต้นๆทีเดียว

เมื่อเข้าไปเรียนจะพบเพื่อนเก่าที่แยกไปเรียนที่มหิดลวิทย์ และเตรียมอุดมราว100 คน มหิดลวิทย์มาเข้าเรียนที่วิศวะ จุฬาเยอะพอๆกับสวนกุหลาบ

ตอนแยกกันตอน ม3 เขาก็ทำสัญญาผูกพันระยะยาวในรุ่นกันไว้เรียบร้อย ก่อนจาก

จบสวนไปไม่เหงาในทุกที่ มีคนรู้จักพี่ๆ น้องๆ ในแต่ละที่ทั้งจุฬา เกษตร พระจอม ธรรมศาสตร์ มหิดล มศว ศิลปากร

รุนพี่ๆ ไปเรียนสายบัญชี บริหาร การจัดการ เศรษฐศาสตร์ ราวปีละ 110
ส่วนใหญ่ไปธรรมศาสตร์ เกษตร จุฬา ไปเอแบคราวปีละ 6-7 คน เอแบกนี่ดีนะครับ


วิทยาศาสตร์เนี่ยปีละ 50 คน เลือกสาขาได้ถูกต้องมาก มีงานชัวร์ ไปกันทั้งจุฬา พระจอม มหิดล

แยกไปเรียนนิติ รัฐศาสตร์ ปีละ 50 ทั้งจุฬา มธ เกษตร มศว อ้อ มีที่แยกไปเรียนรามอีกปีละ 6-7 คน คุณภาพเหมือนกัน

ไปเรียน นิเทศศาสตร์ วารสาร 30 > ธรรมศาสตร์ จุฬา ม กรุงเทพ
ด้านนี้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพดังทีเดียว

สถาปัตย์ 15 เทคโนสารสนเทศ ราวปีละ 20 งานนี้ความต้องการสูง

อักษร ศิลปศาสตร์ มนุษย์ 25
คณะที่คนเข้าเรียนต่ำกว่าสิบคน คือ อุตสาหกรรมเกษตร 9 ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 8 การโรงแรม การครัว เช่นดุสิตธานี 7 เกษตร 6 จิตวิทยา 4 ออกแบบ 5 lศิลปกรรม 5 วิทย์กีฬา 4 ครุศาสตร์ 4 ประมง 3 สังคม 5กลุ่มนี้รวมๆ ราวร้อยนืง

ไปนอก ไปทุน 13 การบินพลเรือน 4

ผลิต ม6 มาปีละ600 ไปได้ดีหมดแหละ คนที่ไม่พอใจปีหน้าซิ่วใหม่ได้ 55
เด็กสวนเนี่ยดูจะเน้นคณะ สาขาที่ชอบ มากกว่าสถาบัน

จุฬาราวปีละ 130 พอๆกับเกษตร ธรรมศาสตร์ 7-80 มหิดล 40- พระจอมราว 60 มศว ยี่สิบกว่า ศิลปากร 15-20 อื่นๆเช่น พระมงกุฏ บูรพา มช มข มฟล ราชมงคลเทคโนโลยี่ ราชภัฎ ราว 60

ที่สวนกุหลาบมีนักเรียนไปเรียนม เอกชน เช่น สถาบันเทคโนโลยี่ไทย ญี่ปุ่น เอแบค ดุสิตธานี การบินพลเรือนที่จบมารายได้สูง ไปสายอาชีพไปเลย

ไปเรียนม เอกชน ราว 40

อื่นๆ เช่น มกรุงเทพ รังสิต หอการค้า สามมหาวิทยาลัยนี้เด่นในเรื่องนิเทศศาสตร์บ้าง ธุรกิจบ้าง ศิลป ดนตรี ทำหนัง ก็ไปเรียนสายนี้กัน ไม่ต่างจาก ม รัฐ จบมาประสบความสำเร็จในชีวิตเยอะแยะ คนเรียนเอกชนมีตังค์ จบมาตั้งธุรกิจตนเองได้สบาย

ที่สวนกุหลาบเรานับถือคนจากทุกสถาบันการศืกษา น้องๆจำไว้ให้ดี แล้วคุณจะทำงานร่วมกับผู้คนได้ในทุกอาชีพ ห้ามหมิ่นคนที่สถาบันการศืกษา หรือความรู้เป็นอันขาด เคารพผู้คนเข้าไว้ แล้วคนจะนับถือคุณ

สวนกุหลาบไม่มีวัฒนธรรมที่ดูหมิ่นคน

คนจบม เอกชนได้ดีกว่า ม รัฐก็มีมากมาย

มหาวิทยาลัยเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น

ชื่อมหาวิทยาลัยไม่ได้การันตีว่าคุณจะรวยแน่นอน

รักษาแนวรักเพื่อน นัขถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้องไว้

คุณจะเป็นคนที่มีประโยชน์ในทุกสถาบันที่เข้าเรียนครับ
04 พ.ย. 57 / 23:31
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676512 171.96.172.22

#50# - 676513 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] นี่เป็นรอบแอดมิชขั่น พวกรับตรงของจุฬา มธ เกษตร พระจอม และมหาวิทยาลัยอื่นๆรับเข้าไปแล้วหนื่งรอบ เช่น วิศวะ จุฬา กสพท และคณะอื่นๆ ถ้ารอรอบแอดอย่างเดียว เสี่ยงมาก ปีหลังๆคนกลัว ไม่สละสิทธิรับตรงมากนัก มีสละสิทธิแค่ 20% เอง

ในทุกคณะที่น้องๆเข้าเรียน คุณมีสิทธิสร้างบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีสิทธิเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ ตั้งธุรกิจของตนเองได้ มันอยู่ที่คุณ คุณจะเรียนม รัฐ ม เอกชน รามคำแหง ราชมงคล ราชภัฏ คุณสามารถประสบความสำเร็จได้ มีงานทำได้

เอาใจช่วยน้องๆทุกคน

ใช้เวลาในมหาวิทยาลัยมีเพื่อนใหม่จากโรงเรียนต่างๆ มีโอกาสรู้จักกับสาวๆสวยๆมากมาย

แต่ระวังเรียนไม่จบ เด็กวิศวะ จุฬาตกฟิสิกส์ปี 1 ถืง 400 คน ไทร์เพียบ
อย่าประมาทกับชีวิตมหาวิทยาลัย

เจอเด็กโรงเรียนที่ภาษาดีๆควรจีบไว้เป็นแฟน 55

คณะวิชา และสาขาที่เด็กสวนสอบผ่านเข้าเรียนรอบแอดมิชชั่นปี 2554

รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระดับกลาง ประจำปี 2555 "
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย [1010101001] มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน : 335 คน (ช:335,ญ:0)


1 46563 นายปรานต์ปราชญ์ เสาวภานันท์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0792 2552
2 46633 นายธนภัทร ศุภการัง คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0296 2552
3 46657 นายนพวิชญ์ วุฒิวรพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1808 2552
4 49199 นายอิสระพงศ์ วงษ์ปิ่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาการบัญชี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0787 2552
5 46961 นายศุภฤกษ์ สานสุขสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0809 2553
6 47152 นายหฤษฎ์ เพ็งเจริญ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0001 2553
7 47158 นายสุรศักดิ์ ชุติปัญญาภรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1281 2553
8 47187 นายเมธัส บัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0124 2553
9 47220 นายเกียรติกุล ท่าไว คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 0719 2553
10 47226 นายชุติพนธ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0065 2553
11 47232 นายรวิน ถกลวิโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0022 2553
12 47253 นายไพชยนต์ แก้วมณี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0867 2553
13 47256 นายอธิชา อัศวฐิติรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0295 2553
14 47262 นายเริงรัฐ น้อยใจบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (โครงการฯ ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0127 2553
15 47271 นายวิโรจน์ ปรีชาพลสิทธิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0885 2553
16 47291 นายณัฐนพ ธรรมสุพิมล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยมหิดล 1275 2553
17 47297 นายพิชญุตม์ เตือนจิตต์ คณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) มหาวิทยาลัยมหิดล 1262 2553
18 47301 นายก่อกฤษฎิ์ ด่านประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ และสาขาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรร่วมนานาชาติ 2 ปริญญา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0134 2553
19 47302 นายแมนเมธัส จูธารี คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0295 2553
20 47310 นายณัฐพงศ์ ธีระกุล คณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร 0973 2553
21 47312 นายสุจิตร ชูตระกูล คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0792 2553
22 47314 นายพงศ์สิทธิ์ แสนรุ่งโรจน์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0008 2553
23 47322 นายวรพงษ์ ภู่ระย้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1541 2553
24 47333 นายสัณหวิทย์ แสงรุ่งเรือง คณะสหเวชศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1425 2553
25 47342 นายณภัทร พูลพิพัฒนันท์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0788 2553
26 47353 นายธนิทธิ อยู่คงดี คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0142 2553
27 47358 นายธรรมสรณ์ อุณหะจิรังรักษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0032 2553
28 47363 นายณัฐวุฒิ แพะเจริญชัย คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0146 2553
29 47379 นายพุฒิพงศ์ เตือนจิตต์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหิดล 1285 2553
30 47410 นายปัญญวัชร จารุวัฒนกุล คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0821 2553
31 47420 นายจิราธิป วสุวัฏฏกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0116 2553
32 47426 นายทศพล พรวิทยา คณะจิตวิทยา (รูปแบบที่ 3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0035 2553
33 47437 นายศุภณัฐ ปัญจธนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล 1279 2553
34 47441 นายพงศธร พิทักษ์ไตรรงค์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0788 2553
35 47443 นายภาณุพัศ ธารีบูรณ์ชัย คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0064 2553
36 47445 นายธัชนนท์ จิรศุภางค์กุล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0030 2553
37 47455 นายอภินันท์ อินบุญนะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (การจัดการแหล่งท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2774 2553
38 47458 นายภาคิน กอบสุขศุภลาภ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาการบัญชี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0787 2553
39 47485 นายปิติพัฒน์ พุฒขาว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ (ออกแบบแอนนิเมชั่น) มหาวิทยาลัยศิลปากร 1567 2553
40 47498 นายพุฒิพงศ์ จิระอนันต์กุล คณะจิตวิทยา (รูปแบบที่ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0033 2553
41 47499 นายกิตติ์ธเนศ อภิณัฐหิรัญโชติ คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) สอบภาษาจีน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1504 2553
42 47506 นายพงศกร ศุภเวคิน คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0067 2553
43 47507 นายอชิตพล จันทร์เจริญพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 0716 2553
44 47529 นายวรากร ศรีสันติสุข คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1255 2553
45 47536 นายพีร จิรวัฒนรังสี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0030 2553
46 47544 นายพิทวัส วีระนรพานิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0125 2553
47 47580 นายสุอัทธา รัตนกิจกมล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 0494 2553
48 47595 นายอติชาติ เนียมพูลทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0883 2553
49 47598 นายธนวิน ธเนศธนาธร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0885 2553
50 47623 นายธนวิชญ์ กลัดเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0245 2553
51 47635 นายกันต์ อัครลาวัณย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0030 2553
52 47640 นายเอกพัฒน์ ภิญโญ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0065 2553
53 47656 นายคมสัน วงศ์สมมาตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0142 2553
54 47672 นายพร้อมทรัพย์ กาญจนเวชกุล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0030 2553
55 47710 นายเชาว์วรรธน์ โชคถาวรสกุล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0070 2553
56 47721 นายเจตริน ตระกูลพรายงาม คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0002 2553
57 47734 นายณัฐพล อมรเวชยกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0809 2553
58 47854 นายณัฐสิทธิ์ ชุณหะวัต คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0003 2553
59 47855 นายพศิน ตันติสุวรรณกุล คณะจิตวิทยา (รูปแบบที่ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0033 2553
60 47862 นายพงศกร แซ่เจ็ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0884 2553
61 47867 นายอวิรุทธ์ ศิริโสภณา คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาวรรณคดี กลุ่มวรรณคดีไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0079 2553
62 47870 นายพิชญ์พงศ์ ภักดีพันธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0686 2553
63 47875 นายพีรพล อนันตวราศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0116 2553
64 47879 นายชานนท์ ปิ่นน้อย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0121 2553
65 47881 นายศุภธัช เมฆรังสิมันต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0021 2553
66 47888 นายสิทธิโชค กัลยารัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า+ไฟฟ้าสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 1277 2553
67 49267 นายวัฒนา เตียรณบรรจง คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทอร์น 3274 2553
68 49268 นายสิรภพ จงอานนท์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0151 2553
69 49271 นายยศสรัล เตียวโชคตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 0539 2553
70 49274 นายพงศกร กุลดิลกชัย คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1485 2553
71 49280 นายกานต์กันต์ ตาระกา คณะนิติศาสตร์ มธ.ศูนย์ลำปาง พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0782 2553
72 49282 นายทัตพงศ์ รัตนะโสภณชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0021 2553
73 49283 นายดาวัต กิตติธรรมวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0019 2553
74 49285 นายสุเทพ ดงหลง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0885 2553
75 49297 นายวรฉัตร อุ่นหัตถประดิษฐ์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0145 2553
76 49319 นายศิลป์ศรุต เกตุหลิน คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1492 2553
77 49325 นายนพภล สุขเกษม คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหิดล 1285 2553
78 49341 นายอรุณ สกุลเรืองโรจน์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร 1554 2553
79 49356 นายกรวิชญ จันทราช คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0810 2553
80 04812 นายทีปกร ศตกุลพัชร คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 0527 2554
81 47365 นายณัฐพงศ์ ก่อวณิชกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย (วท.บ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0697 2554
82 47576 นายพรพล ธนสุวรรณธาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ (ออกแบบแอนนิเมชั่น) มหาวิทยาลัยศิลปากร 1567 2554
83 47920 นายณภัทร กาญจนวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0011 2554
84 47993 นายวสัน เกียรติปริทัศน์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0690 2554
85 47995 นายอิษวัต ไชยนันทน์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0148 2554
86 47997 นายกิตติคุณ ชาติรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0869 2554
87 47998 นายธนากร สุวรรณากรรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2055 2554
88 47999 นายปีใหม่ สวัสดิ์ธนวณิชย์ คณะโบราณคดี สาขาวิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร 1520 2554
89 48000 นายชยุต วงศ์กลธูต คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0067 2554
90 48001 นายณัฐวัฒน์ ธีระชาญณรงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0125 2554
91 48003 นายปรมินทร์ แก้วมา คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0273 2554
92 48004 นายจามรเทพ จรูญศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กาญจนบุรี สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 1267 2554
93 48008 นายธนัท นิภานันท์ คณะนิติศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0046 2554
94 48009 นายธนโชติ สุวรรณเวชทิพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0124 2554
95 48010 นายนราวิชญ์ ธนาวงศ์วัชร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0679 2554
96 48014 นายปารณัท ศักดิ์สุภาพชน คณะวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0009 2554
97 48016 นายธีรพงษ์ วิชานานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0032 2554
98 48021 นายเจตวัฒน์ สิทธิผลวนิชกุล คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0151 2554
99 48024 นายเมธาวี แสงชัน คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1842 2554
100 48029 นายพีร์ โตโพธิ์ไทย คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1260 2554
101 48037 นายไตรย ต่อศรีเจริญ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0029 2554
102 48039 นายปริญญา รัชดาทิตย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0120 2554
103 48040 นายวโรดม คชกิจจารักษ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0236 2554
104 48042 นายชัชวิน ปาสุวรรณ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรนานาชาติ (SIIT) วท.บ. (เทคโนฯ สารสนเทศ-วิทยาการคอมฯ) รูปแบบ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0908 2554
105 48045 นายกฤษภณ ศุภสมุทร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1565 2554
106 48047 นายเขมะพัฒน์ บุญธนทัต คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0124 2554
107 48049 นายปราชญา ชีวนรสุชากุล คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0143 2554
108 48050 นายธนิน ขำเชิดชูไชย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0788 2554
109 48055 นายกฤตธี เอวาสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0252 2554
110 48058 นายกฤษฎางค์ ครองวิริยะภาพ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0007 2554
111 48063 นายภัทรพงศ์ คงปราโมทย์ คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (มจพ.ปราจีนบุรี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 0749 2554
112 48065 นายปรวีร์ ชัยวิรัตนะ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0011 2554
113 48067 นายพีรพันธุ์ โลจนานนท์ วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1849 2554
114 48069 นายธนิยะ คุ้มพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0885 2554
115 48071 นายวิชญ์พัชร เก็งทอง คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1260 2554
116 48072 นายฌานชน มงคลคำนวณเขตต์ คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาภาษาตะวันออก-ภาษาเขมร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1454 2554
117 48073 นายภาณุวิชญ์ คงเหลือสิน คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0084 2554
118 48076 นายธนัตถ์ ทรัพย์รวงทอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการระหว่างประเทศ เลือกสอบภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 0553 2554
119 48081 นายชวรงค์ ใจหาญ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.ศูนย์ลำปาง พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0912 2554
120 48082 นายคีตกานท์ สายอรุณ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร 1562 2554
121 48085 นายสันติภาพ ศิลารักษ์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0285 2554
122 48086 นายธนภัทร กาญจนพยัฆ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0147 2554
123 48087 นายจิรภัทร ตุ้มกลีบ คณะประมง สาขาวิชาประมง (สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0071 2554
124 48089 นายวิชญ์พล พงศ์สิทธิชัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร (เทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีการบรรจุ เทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0235 2554
125 48090 นายธนทัต มนูญสัมฤทธิ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0065 2554
126 48091 นายภาคิน ฉายสำรวย คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) สาขาวิชาสถิติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1435 2554
127 48092 นายวราวัฒน์ คชกิจจารักษ์ คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1489 2554
128 48093 นายณภัส นุตสติ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0070 2554
129 48094 นายณัฐศรัณย์ จีรานุโกศล คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0044 2554
130 48095 นายวิศรุต รวีสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์เชิงวิทยาการคอมพิวเตอร์ (โครงการปกติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 0728 2554
131 48098 นายธนบูรณ์ เชียงปิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา 1032 2554
132 48099 นายไพรัชต์ วรรณวิทยาภา คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0278 2554
133 48101 นายรัฐนริศร เทพกุญชร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเอกออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 1876 2554
134 48104 นายฐิติพันธ์ ปั้นแตง คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0288 2554
135 48105 นายรชต เถลิงสุข คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร 1554 2554
136 48107 นายวุฒิภัทร เพชรสว่าง คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0041 2554
137 48110 นายธนพล โกมลรัตนเสถียร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1842 2554
138 48115 นายณัฐภัทร อัตเศรณีย์ คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0286 2554
139 48122 นายณัฐกล ฉัตรเรืองกมล คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0039 2554
140 48123 นายขจรณัฐ หวาง คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0146 2554
141 48126 นายพิภัช กาญจนารักษ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 5 ปี (ท่าพระจันทร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0790 2554
142 48128 นายสุประวีณ์ นิลประเสริฐ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1273 2554
143 48130 นายรัชชานนท์ เกรียงวิทยา คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงิน (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0281 2554
144 48134 นายนัสวิน จันทร์ผง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2710 2554
145 48140 นายณัฐชนน คงธนเฉลิมพร คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1317 2554
146 48142 นายธนกร ทรงธรรมากุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0264 2554
147 48148 นายปฐมพงษ์ อัสดรพรพิเชียร คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2801 2554
148 48155 นายณัฐพันธุ์ สุขคันธรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0110 2554
149 48157 นายพีรพัศ สุพรรณศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยมหิดล 1275 2554
150 48158 นายปราชญา ชนะสงคราม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0268 2554
151 48163 นายอิทธิเชษฐ์ เอื้อกชกร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (4 ปี) สาขาเศรษฐศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1513 2554
152 48166 นายชยทัต ทับสุวรรณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0030 2554
153 48167 นายปรัชญา เอี่ยมยิ่งพานิช คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0272 2554
154 48171 นายณัฐดนัย นิลจำรัส สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรนานาชาติ (SIIT) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0906 2554
155 48173 นายวรัญชิต เชยกลิ่นเทศ คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3414 2554
156 48177 นายกฤดิภูมิ นิติธนาภัทร คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0145 2554
157 48178 นายสรวิศ กฤษณรักษ์ปาณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0294 2554
158 48181 นายคณุตม์ เตชวุฒิกร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรนานาชาติ (SIIT) วท.บ. (เทคโนฯ สารสนเทศ-วิทยาการคอมฯ) รูปแบบ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0908 2554
159 48184 นายกวิน เอื้อกิตติโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0682 2554
160 48186 นายกันต์กวี เกียรติ์กรัณย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0669 2554
161 48187 นายชวัลวิทย์ รักษพล คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0273 2554
162 48189 นายพิพัฒน์ จิตทีปกร คณะอุตสาหกรรมเกษตร (เทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีการบรรจุ เทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0235 2554
163 48190 นายภานุพงศ์ เลิศธนธรรม คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0031 2554
164 48191 นายพีรพัศ ลิ้มธรรมมหิศร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0111 2554
165 48193 นายชยุต เสริมสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0809 2554
166 48194 นายศุภวัฒ มรกตอัมพร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบ 1) มหาวิทยาลัยศิลปากร 1572 2554
167 48198 นายกฤษณ์ กาญจนไวกูณฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0117 2554
168 48200 นายปัณณวิชญ์ เฟืองทอง สถาบันสมทบวิทยาลัยการชลประทาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0135 2554
169 48203 นายจักรพล ลี้เจริญพงศ์ คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1483 2554
170 48205 นายนนทพัทธ์ คุณสาระ คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0249 2554
171 48206 นายกิตติ ชาญชลยุทธ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0860 2554
172 48211 นายภัทร ไหลสุพรรณวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0125 2554
173 48212 นายต้นเฟิน แซ่ก๊วย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0809 2554
174 48215 นายกมลพล ตู้จินดา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรนานาชาติ (SIIT) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0906 2554
175 48217 นายภูริณัฐ โพธิ์สวัสดิ์ คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ (แบบที่ 1) มหาวิทยาลัยบูรพา 1095 2554
176 48222 นายภควัต กิจสิริการ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0068 2554
177 48223 นายรุสดี วันทอง คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0290 2554
178 48225 นายธนรักษ์ กล่ำแสง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0693 2554
179 48227 นายกิตติธัช เสือสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1428 2554
180 48230 นายพงศ์สุเมธ สุภาภัทรานนท์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาการบัญชี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0787 2554
181 48231 นายกฤติน ประกายรุ้งทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มไฟฟ้า (วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1806 2554
182 48235 นายวราศัย ยงค์วงศ์ไกรศรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0030 2554
183 48243 นายรัชชานนท์ วาริชวัฒนะ คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0249 2554
184 48244 นายวศิ ตันศราวิพุธ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร 1517 2554
185 48251 นายดนตร์ ภุขันอนันต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0687 2554
186 48257 นายปกชาติ อรุณเนตรทอง คณะบริหารธุรกิจ-บพิตรพิมุข จักรวรรดิ สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2097 2554
187 48258 นายศรัณย์ บุษราคัมตระกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0021 2554
188 48259 นายสาธิต จิรไพศาลกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0250 2554
189 48260 นายนิธิชาญ สิรภัทรพงศ์กุล คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาวิชาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 0759 2554
190 48262 นายเชิดชนินทร์ ฤทธิ์ธาอภินันท์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0143 2554
191 48263 นายธรรศ ตันเสถียร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0679 2554
192 48264 นายศุภรัชต์ เจียมอมรรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0012 2554
193 48265 นายกิติคุณ ผดุงม่วงทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1273 2554
194 48272 นายอัณณพ เกตุโชติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2710 2554
195 48273 นายเอกชัย พ่วงแสนสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล 1278 2554
196 48276 นายกษิดิศ เจริญไทย สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1377 2554
197 48278 นายกณต์ธร สุทธจินดา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล 1278 2554
198 48279 นายชนะบดิณทร์ ชลชาติตระกูล คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 3506 2554
199 48287 นายวรวิช ผดุงศิลป์ไพโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0252 2554
200 48288 นายตัถย์ ลลิตวจีวงศ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0895 2554
201 48291 นายกิตติพงษ์ เอื้ออนันต์ตระกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1273 2554
202 48292 นายกัณฑวัชร์ ปุระวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (4 ปี) สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา (รูปแบบ 2) สอบวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1475 2554
203 48295 นายบุญเอนก ตันเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (การจัดการแหล่งท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2774 2554
204 48296 นายธิเบต ล้ำคุณากร คณะเกษตร สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0061 2554
205 48297 นายวีรวัฒน์ เอี่ยมวิจารณ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 3505 2554
206 48301 นายสิทธิโชค น้อยสี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0025 2554
207 48303 นายฐานวัฒน์ พรมิ่งมาศ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0113 2554
208 48305 นายชยานันต์ จันทร์สมบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 0518 2554
209 48306 นายสมมนัส แพรกทอง สถาบันสมทบวิทยาลัยการชลประทาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0135 2554
210 48307 นายกวี สุธีกุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรนานาชาติ (SIIT) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0906 2554
211 48310 นายนพรัตน์ เจริญศรีสมบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0018 2554
212 48311 นายวิทู แสงพิทักษ์ สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1368 2554
213 48314 นายชิษณุชา ตั้งคุณสมบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต วิทยาเขตบางเขน (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0133 2554
214 48319 นายสันตวัฒน์ พรหมรินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0078 2554
215 48320 นายอาชาน ณธันยพัต สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หลักสูตรนานาชาติ (SIIT) วท.บ. (เทคโนฯ สารสนเทศ-วิทยาการคอมฯ) รูปแบบ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0909 2554
216 48327 นายกุลธร อัศวพาณิชย์เจริญ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาการบัญชี (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0787 2554
217 48331 นายสุชาติ ตั้งนิมิตโชค คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา (สาขาจิตวิทยาคลินิก) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0154 2554
218 48337 นายสุประวีณ์ ธนาศรีสวัสดิ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0064 2554
219 48341 นายสุประวีณ เอกจิตต์ คณะนิติศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0046 2554
220 48342 นายสุประวีณ์ ชูมงคลรัตน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1570 2554
221 48344 นายพีรณัฐ ธนาวิศิษฐกุล คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (4 ปี) สาขาวิชารัฐศาสตร์ (รัฐประศาสนศาสตร์) พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1500 2554
222 48349 นายพิทยุตม์ เสกธีระ คณะเกษตร สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0063 2554
223 48350 นายณภัทร เกตุนวม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0032 2554
224 48352 นายสุจิรัชย์ อัฏฐะวิบูลย์กุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1428 2554
225 48353 นายพีรพล กาญจนขันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0052 2554
226 48358 นายนนทพัทธ์ ศรีพงษ์กุล สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1377 2554
227 48361 นายชัชชล จูประเสริฐพร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2049 2554
228 48365 นายวิทยารัฐ พวงงาม คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0142 2554
229 48367 นายธนภาค วราสุธนกุล คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) สอบภาษาจีน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1504 2554
230 48368 นายพรรษวัชร์ วรมิศร์ คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี)สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1487 2554
231 48372 นายโสพัชร สุวรรณโชติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0117 2554
232 48374 นายเอกชัย วชิรดำรงไชย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 3044 2554
233 48381 นายศุภวิชญ์ มีรักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (พลังงาน เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0683 2554
234 48382 นายธนพล สุขอิ่ม คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1485 2554
235 48387 นายศุภณัฐ แต่งเจริญสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0125 2554
236 48396 นายวงศ์ธวัช อัครพันธ์กุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0269 2554
237 48400 นายปกรณ์ จันทร์โพธิ์ศรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0031 2554
238 48401 นายชัยวัฒน์ กนิษฐเสน คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1836 2554
239 48402 นายภาสวร เมฆพุก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (โครงการฯ ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0127 2554
240 48404 นายคณิน เจริญรัศมีเกียรติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0125 2554
241 48405 นายกฤติน ลภนโชติ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0146 2554
242 48409 นายภูมิภาค พงษ์เกตุกรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0681 2554
243 48410 นายพันธุ์ณรงค์ ศรีนะภาพรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0023 2554
244 48411 นายสิปปนนท์ วิชชุตเวส คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1431 2554
245 48413 นายสิรภพ ศริพันธุ์ คณะเกษตร สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0061 2554
246 48418 นายจิรเมธ สิงคารวานิช คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0078 2554
247 48420 นายรติพงษ์ กิตติวิริยะวงษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล 1278 2554
248 48422 นายปราโมทย์ วงศ์คำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล 1278 2554
249 48423 นายเอกธนัช ทองอุไรพร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0029 2554
250 48424 นายมฆวัน อัจฉริยผดุง วิทยาลัยนานาชาติ กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 1100 2554
251 48426 นายสุวิจักขณ์ สำราญสุขรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0873 2554
252 48429 นายพศิน โตสวัสดิ์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสินค้าแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2067 2554
253 48430 นายก่อเกียรติ ตั้งตระกูลสมบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1818 2554
254 48437 นายชาญชัย เรืองสินวัฒนา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ค.อ.บ. 5 ปี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0698 2554
255 48444 นายพีระพงศ์ หนูพรหม คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2871 2554
256 48446 นายรชฏ เลิศศิลป์เจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0252 2554
257 48450 นายชนกานต์ สุขสิริทรัพย์กุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1255 2554
258 48453 นายธนานันท์ เกียรติสำรอง คณะอุตสาหกรรมเกษตร (เทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีการบรรจุ เทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0235 2554
259 48454 นายกุลพัฒน์ ตรองพาณิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0018 2554
260 48457 นายศตายุ ตันธนะสาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0004 2554
261 48459 นายภานุวัฒน์ โตลานุวัตร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0691 2554
262 48461 นายคณินพัฒน์ พลสุธรรม์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0144 2554
263 48462 นายศุภวุฒิ ภัทรจินดานุวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1428 2554
264 48473 นายอธิษฐ์ เผ่ากันทรากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0021 2554
265 48477 นายนนท์ ทรัพย์มั่นคงทวี คณะวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0009 2554
266 48481 นายวัชรพร ยิ้มรุ่งฤกษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0684 2554
267 48483 นายนภนันท์ สิงห์สม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 1021 2554
268 48564 นายสุรกานต์ ชัยเพชร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยทักษิณ 0634 2554
269 48565 นายบรรพต มุมกระโทก คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (โครงการสมทบพิเศษ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 0744 2554
270 48566 นายอานนท์ วิศวกิจเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0670 2554
271 48567 นายพุฒิพงศ์ ฟางศรีสุนันทา คณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร 1521 2554
272 48568 นายสิรภพ เสือทองคำ คณะนิติศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0046 2554
273 48569 นายคามิน ปวีรวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0693 2554
274 48570 นายสันติภาพ กนิษฐสวัสดิ์ คณะเกษตรกำแพงแสน สาขาวิชาเกษตรศาสตร์(กีฏวิทยา โรคพืช ปฐพีวิทยา พืชสวน พืชไร่นา ฯลฯ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0238 2554
275 48572 นายชวลิต หล่อประสงค์สุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา 1032 2554
276 48574 นายปาณัสม์ ตรีรัศมีพร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0710 2554
277 48577 นายพชร คุ้มพงษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0150 2554
278 48585 นายบัณฑูร ปิ่นทอง คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ (วิทยาเขตจันทบุรี) มหาวิทยาลัยบูรพา 1109 2554
279 48592 นายปรัชญา สุขขาวพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ-การจัดการอุตสาหกรรม (ศูนย์กลาง นครราชสีมา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2195 2554
280 48593 นายณุพงศ์กฤศ ธนาวัฒน์โสภณ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศิลปากร 1555 2554
281 48594 นายธณัชพงศ์ รวีโรจน์ธนาดุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต (โครงการฯ ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0128 2554
282 49359 นายจิรัตถ์ พรหมรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0874 2554
283 49360 นายสิรวิชญ์ มณีเนตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0124 2554
284 49362 นายณัฐภัทร โอภาสวรกิจจา คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0148 2554
285 49364 นายวริทธิ์ แสงทอง คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ (รูปแบบที่ 1) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2878 2554
286 49367 นายธรรศ อาภาศิลป์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0143 2554
287 49995 นายสุรสินธุ์ ตั้งธนาเกียรติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1760 2554
288 50001 นายณัฐนันท์ อมรสมานลักษณ์ คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1259 2554
289 50002 นายคมชาญ รามัญอุดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหการ เครื่องกล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0125 2554
290 50012 นายกิตติภพ ไตรสินสมบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0021 2554
291 50013 นายกิติภณ ทองไพบูลย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์-ทุ่งใหญ่ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2150 2554
292 50021 นายสุวิทย์ คณานุกูล คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1830 2554
293 50022 นายสงกรานต์ หงส์รัตนวิจิตร คณะเกษตร สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0062 2554
294 50024 นายดิลกธรรม สิชฌรังษี คณะอุตสาหกรรมเกษตร (เทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีการบรรจุ เทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0235 2554
295 50025 นายประเสริฐ แพร่จันทร์ศรี คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0152 2554
296 50029 นายนรเศรษฐ์ เกษารัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0146 2554
297 50033 นายทิวัตถ์ คงวิเชียรวัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร 1517 2554
298 50034 นายสุทธินัย แสงมาลี คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา 1066 2554
299 50035 นายธนกร ธนกรเกษมศรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0018 2554
300 50036 นายวีรภัทร ทรงอาวุธ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0266 2554
301 50038 นายวรินทร โฆษิตกิตติวณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TEPE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0890 2554
302 50043 นายธนดล อัครวิลาส คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0687 2554
303 50045 นายพีรเชษฐ์ ชาติศิริวัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0021 2554
304 50054 นายภูริภัทร วรรณฤดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0685 2554
305 50056 นายคณิน ตั้งจิตติพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 0670 2554
306 50058 นายภูเบศ แก้วธรรม คณะเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0057 2554
307 50059 นายกิตติพศ วาจาขจรฤทธิ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและบัญชีมหาบัณฑิต (บูรณาการ) 5 ปี (ท่าพระจันทร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0789 2554
308 50061 นายศาตรา อุทัยโรจนรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0139 2554
309 50063 นายเกียรติศักดิ จันทระวิชะ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 1897 2554
310 50066 นายสิทธิพจน์ พงษ์แพทย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยบูรพา 1034 2554
311 50067 นายพิชญภูมิ จินตกานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0146 2554
312 50068 นายณัฎฐ์นภัส เวียงเกตุ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 0424 2554
313 50070 นายเจริญ วิกรานต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0004 2554
314 50073 นายธนภัทร จารุเจตรังสรรค์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0064 2554
315 50075 นายนันทพงษ์ สว่างศรีบรรเทิง คณะการสื่อสารมวลชน พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 0599 2554
316 50076 นายรณชัย หลักคำ คณะพลศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1507 2554
317 50085 นายต้นเรือ อ่อนศรี คณะโบราณคดี สาขาวิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 1518 2554
318 50087 นายศุภเสกข์ มาตา คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1320 2554
319 50088 นายณัฐวัสส์ ศรีโสภาพ คณะนิติศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0778 2554
320 50089 นายปธานิน ชัยสุวรรณ สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1377 2554
321 50091 นายสัณห์สิษฐ์ ตังสุรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2710 2554
322 50096 นายกฤชฎา อายุยืน คณะอักษรศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบ 2 (เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส) มหาวิทยาลัยศิลปากร 1525 2554
323 50099 นายอานันท์ ธุระเจน คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารงานยุติธรรมฯ) ภาคพิเศษ สอบวิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0209 2554
324 50100 นายภัทรวิศฎ์ โชติช่วง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบ 1) มหาวิทยาลัยศิลปากร 1572 2554
325 50102 นายคุณานนต์ แก้วทอง คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0200 2554
326 50103 นายพุฒิเมธ ประสิทธิ์วัฒนะกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา 1032 2554
327 50104 นายระพีพล แซ่อึ้ง คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0795 2554
328 50105 นายยุคลเดช แซ่อึ้ง คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0807 2554
329 50107 นายชาญกิจ สุขสงวน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0037 2554
330 50108 นายพิษณุ อุ่นเจริญ คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐประศาสนศาสตร์) เลือกสอบวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0174 2554
331 50109 นายอัมรินทร์ บัวอิ่ม คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาภาษาตะวันออก-ภาษาเขมร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1454 2554
332 50111 นายคณาวุฒิ ครุฑนางรอง วิทยาลัยราชสุดา สาขาวิชาล่ามภาษามือไทย (พื้นฐานศิลปศาสตร์) เลือกสอบวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยมหิดล 1295 2554
333 50118 นายธีร์ เทียนธีระโชติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0903 2554
334 50764 นายวริศร์ ศิริโสม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล 1278 2554
335 50766 นายชนะพล รอดไฝ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 0029 2554

ที่มา :: http://admission55.tk/
04 พ.ย. 57 / 23:44
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676513 171.96.172.22

#51# - 676517 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ตอนต่อไป ขื่อ

จบจุฬามีงานทำไหม ตอน 2 แนะเด็กสวนกุหลาบ
10 พ.ย. 57 / 09:30
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676517 171.96.170.161

#52# - 676591 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] บัณทิตใหม่ในตลาดแรงงานปี 2557 สวนกุหลาบ

นักเรียนสวนกุหลาบรุ่นปี 2552 คงเรียนจบกันหมดแล้ว ยกเว้นคนที่เรียนหมอ ทันตะ หรือสถาปัตย์ น่าสนใจว่าคณะ สาขา และมหาวิทยาลัยที่พวกเขาเลือกเรียน สอดคล้องกับตลาดแรงงานหรือไม่

เรียนวิศวะ 125 คน ส่วนใหญ่เรียนที่จุฬา พระจอมธนบุรีอันดับสองราว 20 คน นอกนั้นก็กระจายไปทั่ว เงินเดือนวิศวะเฉลี่ยอยู่ที่25000 บวกค่าภาษา 5000-10000 บวกโบนัสราว 4-6 เดือน บวกโอที น่าจะมีรายได้รวมเดือนละสี่- ห้าหมื่น สถิติการมีงานทำล่าสุดของลาดกระบัง และ มธ มีงานทำแทบทั้งหมด

ที่น่าประทับใจ คือ มหาวิทยาลัยอย่างสามพระจอมจัดงาน jobs fair กันบ่อย มีบริษัทไปรับสมัครงานถืงมหาวิทยาลัยเกินร้อยบริษัท วิศวะคอมพ์ อักษร จุฬาก็จัด

สูตรคือ ถ้าคุณทำได้ในลำดับที่300 คนแรกของสาขาที่คุณเรียน รุ่งแน่นอน
ผู้หญิงที่เรียนวิศวะมีปัญหาเรื่องหางาน และสถานที่ทำงาน

ปีที่ผ่านมา เกษตร พระจอมเพิ่มจำนวนรับ และสาขาใหม่มากขื้น เทไปที่เกษตรและพระจอมมากขื้น วิศวะแยกย่อยได้เป็น 45 สาขานะครับ มหาวิทยาลัยเดียวสอนได้ไม่หมด เงินเดือนเฉลี่ยพอๆกันทุกมหาวิทยาลัย แต่บริษัทที่ไปรับสมัครจะต่างกัน ปูนใหญ่ ปูนกลาง ปูนเล็กไปรับถืงที่ทุกมหาวิทยาลัย สายการบิน ธนาคารก็เหมือนกัน

เงินเดือนเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลต่ำกว่าที่จุฬา มธ พระจอมทั้งสามแห่งค่อนข้างมาก แต่อัตราการมีงานทำสูงเกือบ 90% เน้นว่าเฉพาะมทร เขต กทม ครับ

คนที่จะเข้าเรียนวิศวะต้องระวัง อัตรารีไทร์สูง 25% วิชาฟิสิกส์ที่จุฬาตกกันครื่งชั้น ที่พระนครเหนือรีไทร์ ร่วม 60% คนที่เรียนจุฬา ห้ามสบตากับสาวอักษร บัญชี รัฐศาสตร์ นิเทศน์ เดินคิดเรื่องสูตรฟิสิกส์เข้าไว้

ม นเรศวร บัณทิต70 % เข้ามาทำงานใน กทม บัณฑิต มช ส่วนใหญ่ทำงานในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะนักศืกษาเป็นโควต้าภาคแทบทั้งหมด

ยังไม่เห็นรายงานของมหิดล แต่คาดว่าไม่มีปัญหา อาจารย์ต้องช่วยจัด jobs fair บ่อยๆ

นักเรียนสวนกุหลาบรุ่นนี้ แยกไปเรียนบัญชี บริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์เกือบ 120 คน จุฬา มธ ปีหลังๆมีเกษตรเยอะ บัญชีมีงานทำหมด ด้านอื่นๆก็ด้วย สาขานี้ยิ่งมีประสบการณ์ เกิน 5 ปี ไปแรง ถ้าเข้าทำงานบริษัทยักษ์ใหญ่ของฝรั่ง สองสามปีก็มีเงินไปเรียนนอกได้แล้ว

วิชาชีพแนวบัญชีเนี่ย มีมาตรฐาน เรียนเอแบค ภาษาดีก็ดังเยอะ สาวๆคอนแวนต์ มาแตร์ สตรีวิทย์มาสายนี้กันเยอะมาก อยากดูรายงานของ ม หอการค้าไทยทำย่อมาก น่าจะทำรายงานฉบับเต็มนะครับ

เข้าไปเรียนแพทย์ 51 ทันตะ 13 สายสุขภาพด้านอื่นๆ ร่วม 80 คน

เงินเดือนน่าจะอยู่ใกล้ 50000 แต่เรียนนานมาก คนที่สุดยอดไม่ใช่หมอ แต่เป็นเจ้าของเครือโรงพยาบาลที่จบวิทยาศาสตร์มา พวกคริสเตียน ถ้าจะเอาต่างชาติเข้ามารักษาอีก 3 ล้านคนตามแผน งานของสายนี้จะเยอะขื้น วันนี้คุยเรื่องหาเงินใช้ของน้องๆอย่างเดียวนะครับ

จริงๆแล้วสถิติบอกว่ามีอีก 55 อาชีพที่รายได้ดีกว่าเรียนหมอ เหนื่อยน้อยกว่า สบายกว่า ระยะหลังนักเรียนเก่งๆเรียนพวกนี้ได้ หันไปเรียน bba บริหารกันเยอะ มาแตร์ อัสสัมคอนแวนท์ อัสสัมศืกษามาสายธุรกิจหมด นักเรียนบางคนบอกว่า ถ้าทำงานเรียนหนัก เท่าหมอสิบปี สร้างธุรกิจรวยไปแล้ว

เทคโนโลยี่สารสนเทศ 14 คน งานเยอะเหมือนกัน แต่ควรเรียนเอาประกาศผู้เชี่ยวชาญอะไรสักอย่าง

เหมือนๆกับประกันภัยที่ต้องสอบ soa 10 ระดับ มีงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายสิบบริษัท

รัฐบาลจะทำ digital economy บอกแผนกำลังคนหน่อยน่าจะดี

สถาปัตย์ ออกแบบ ตกแต่ง 30 คณะนี้เลือกถูกสาขาไปโลด

นิติศาสตร์ 24 แม้ว่าจะมีคนเรียนกันมาก คุณเรียนให้ได้ top 300 ของปีนั้นก็ไปได้แล้ว รัฐศาสตร์ก็เหมือนกัน ไม่เห็นมีใครตกงานสักคน

วิทยาศาสตร์ 44 ไปถูกสาขาไปแรงมาก แต่ต้องตั้งองค์กรเป็นแบบหมอปราเสริฐ

ผมเคยสงสัยว่าคนที่เรียนนิเทศ 21 คนเนี่ยจะตกงานหรือเปล่า พอตามดู มีคนตั้งบริษัทไปเรียบร้อย ธุรกิจนี้มีมูลค่าสองแสนล้านบาท คนที่จะเรียนต้องทำเป็นเช่นทำหนังสือเป้น ชอบตัดต่อ ชอบทำละคร ชอบพูด ทำอะไรขื้นยูทูป มาแล้ว แต่งเพลงได้ อยากทำห้องอัด เรียนแล้วรุ่ง ไม่ใช่วิชาท่องแล้วนะครับ ชอบหาโฆษณาไรงี้

อีกร่วม 60 คนไปเรียนอะไรแปลกๆที่คนรุ่นผมคิดไม่ถืง วันก่อนเห็นมีประกาศหาล่ามญี่ปุ่นเดือนละสองแสนใน alumni พวกไปเรียน thai nichi คิดถูก สงสัยว่าเขาไปเรียนดุริยางค์ทำไม เพราะเขาจะทำธุรกิจดนตรี คนไปเรียนเรื่องการบิน ปรากฏว่างานเพียบ

ผู้ที่จบไทย ญี่ปุ่น ดุสิตธานี การบินพลเรือน สายกีฬาเป็นเรื่องความถนัด ความสามารถส่วนบุคคลห้ามเลียนแบบ

ผู้ที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยเอกชน งานค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว งานภาคเอกชน โอกาสความสำเร็จไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐ เป็นเรื่องความสามารถเฉพาะบุคคล และครอบครัว


โลกทุกวันนี้ การวางแผนของเด็กรุนใหม่ทุกวันนี้ เปลี่ยนจนตามไม่ค่อยทัน

แสดงว่าอาจารย์แนะแนวเก่ง พวกรุ่นพี่ๆแนะนำดี

ขอให้บัณฑิตใหม่ทุกคนประสบความสำเร็จนะครับ
26 ธ.ค. 57 / 22:46
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676591 171.96.170.114

#53# - 676692 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] สวนกุหลาบรุ่นนี้จบมา 600 คน
22 ก.พ. 59 / 10:24
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676692 171.96.172.116 <= 171.96.172.116

#54# - 676695 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ติดตามดูบัณทิตจากสวนกุหลาบมาหลายปี ได้งานดีๆทำกัน งานดีๆมีเยอะนะ

ข้อมูลนี้จะบอกว่าบริษัทอะไรไปรับคนจากคณะ มหาวิทยาลัยใดบ้าง

http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=69058
23 ก.พ. 59 / 10:31
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676695 171.96.170.203 <= 171.96.170.203

#55# - 676717 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เมื่อสามปีที่แล้ว นักเรียนสวนกุหลาบแอดมิสซั่นเข้ามหาวิทยาลัย พวกกสพท รับตรงไม่ต้องพูดถืง หลายคนได้คณะ มหาวิทยาลัยที่ไม่พอใจ จืงมีเวลายื่นคะแนนรอบ 2 หรือซิ่วในปีต่อมา หลังจากเข้าไปลองเรียนดู


เขาตัดสินใจกันอย่างไร

ล่ามภาษามือ มหิดล >เอซียตะวันออกเฉียงใต้ เกษตร
นิเทศ บูรพา > นิเทศ ม กรุงเทพ
เทคนิกสัตวแพทย์ เกษตร> ทันตแพทย์ รังสิต
วิศวะภาคพิเศษ ที่มหาวิทยาลัยเกษตร จบปริญญาตรีทั้งหมด ไม่มีซิ่ว นิเทศ บูรพา> รัสเซีย ศืกษา มธ
เศรษฐศาสตร์ ภาคพิเศษ เกษตร > วิศวะ พระจอม ธนบุรี
อุตสาหกรรมเกษตร เกษตร > สัตวแพทย์ มหิดล
วิวศะ ภาคพิเศษ เกษตร >วิศวะ ควบคุม มจธ
การจัดการ ศิลปากร> . บัญชี จุฬา
คณะ เกษตร มก ย้ายภาคไปสัตวบาล
สมทบ วิศวะ พระนครเหนือปราจีนบุรี > วิศวะ สุรนารี
แพทย์ แผนไทย มหิดล> วิศวะ ชีวการแพทย์ มหิดล
บริหารธุรกิจ บูรพา> รัส้เซีย ศืกษา มธ
นิเทศ บูรพา> ศิลปกรรม ม กรุงเทพ
การจัดการ ศิลปากร >เศรษฐศาสตร์ เกษตร
วิศวะ เกษตร สมทบ > การจัดการวิศวกรรม มธ
แอนิเมชั่น ศิลปากร> มจธ วิศวะ
ราชภัฏ สวนสุนันทา การท่องเที่ยว> หัวเฉียว สังคมสงเคราะห์
สังคมวิทยา มธ .>นิติศาสตร์ ราม

---------------------------
ราชมงคล พระนคร เรียนดีมาก ได้ทุนไปทำโทที่เกาหลี ตามโครงการแลกเปลี่ยน
ที่สถาบันไทย ญี่ปุ่น บริหาร ธุรกิจ รุ่งมาก ชนะประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ได้ทุนเรียนแน่นอน

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของนักเรียนสวนกุหลาบหนื่งรุ่น ซื่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนรุ่นหลังที่คะแนนไม่มาก

กลุ่มที่คะแนนน้อยมักจะเป็นนักกีฬา ในโครงการช้างเผือก ซื่งหลายๆคนเล่นให้กับลีกต่างๆ วอลเลย์หนื่งคน แบดมินตันทีมมหาวิทยาลัย ว่ายน้ำไรงี้

ผู้ที่ย้ายคณะ มหาวิทยาลัยที่ว่า เรียนสำเร็จด้วยดี หลายคนมีรางวัล ชนะการประกวดต่างๆ

เลือกเรียนตามถนัด ตามความสามารถของตนเอง ไปได้ดีทุกคน คนที่เหลวไหลตอนม ปลาย ก็ปรับปรุงตนเอง ทำได้ดี แฮปปี้เอนดิ้งทั้งรุ่น

เทนด์คือย้ายออกจากศิลปากร บูรพา มจพ ไปเกษตร มจธ ซื่งถูกต้องมากๆ

ไม่มีคนรีไทร์

อาจารย์แนะแนวใช้แนะนำได้เลยครับ

มีเรียนราชภัฏหนื่งคนที่โคราช เป็นนักบอลในลีก

ถ้าจะให้โอเนตเฉลี่ยโรงเรียนสูง ก็ต้องรบนักกีฬาน้อย

นิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางหนื่งคน ทำได้ดีมาก เป็นหัวหน้าโน่นนี่
03 มี.ค. 59 / 01:57
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676717 171.96.170.143 <= 171.96.170.143

#56# - 676726 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ปีนี้ บริษัทจัดหางานระดับโลก บอกว่าความต้องการบัณทิตไทย สูงสุดคือ
บัญชี BBA บริหารธุรกิจ รวมเศรษฐศาสตร์ด้วย เพื่อไปทำงานด้านวางแผนการตลาด บริหาร และการโฆษณา
วิศวะ
ไอที
นิเทศ บริหาร ภาษา เอาไปทำการตลาด และโฆษณร

ปีนี้นักเรียนตามรายชื่อเรียนจบ แนะแนวได้เป๊ะเว่อร์
____________
05 มี.ค. 59 / 07:33
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676726 171.96.170.39 <= 171.96.170.39

#57# - 676758 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] iรายได้ของบัณทิต จุฬาปี 2557

นักเรียนถูกสอนกันว่า งานที่ดีคืองานที่เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เป็นงานที่มีความสุข สามารถช่วยเหลือสังคมได้ ภูมิใจในงานที่ทำ ไม่ใช่รายได้อย่างเดียว

รายได้ต้องคิดจากรายได้ระยะยาวของอาชีพนั้น อย่าคิดเพียงรายได่เริ่มต้น

ในยุคที่เศรษฐกิจจะผันผวนเรื่อยๆ งานที่มั่นคงเป็นที่ต้องการมาก งานแนวฟรีแลนซ์นิยมน้อยลง

ข้อมูลนี้จืงมีประโยชน์ในการเลือกงาน หน่วยงาน และอาชีพเพียงระดับหนื่ง

ยุคนี้มีอาชีพหลากหลาย คนไม่ได้มีรายได้เพียงทางเดียว การเรียนรู้ พัฒนาตนเองตลอดชีวิตสำคัญมากกว่า

-----------------------------------

ปริญญาตรี

เฉลี่ย-----------------l^สูงสุด

แพทย์ศาสตร์ 45000-90000
ทันตะ 40000-160000
สัตวแพทย์ 23000-52000
สหเวชศาสตร์ 21000-100000
จิตวิทยา 20000-30000
วิทยาศาสตร์การกีฬา 16000-30000
วิทยาศาสตร์ 22500- 57500
วิศวะ 28000-66000
สถาปัตย์ 19000- 85000
อักษร 23500-80000
ศิลปกรรม 18000-30000
ครุศาสตร์ 18000-100000
นิติศาสตร์ 18000-35000
นิติศาสตร์ ภาคบัณทิต 42000-180000
นิเทศ 25000-50000
บัญชี 24000-100000
รัฐศาสตร์ 20000-50000
เศรษฐศาสตร์ 21500-100000
เกษตร
15000-20000

บัณทิตรุ่นนี้ทำงานกิจการของตนเอง และองค์กรต่างประเทศราว 10%

ภาษาเป็นปัจจัยหลักในการได้งานรายได้สูง และการศืกษาต่อ

บัณทิตที่ได้เกียรตินิยมราว 49% ก็มันเทพกันทั้งนั้น

เอาไว้เป็นข้อมูลนะครับ

ที่จริงพวกเข้าราชการน่าสนใจกว่า สตาร์ทที่ 10000 เศษๆ แต่จะไปไกลกว่างานเอกชนหรือเปล่า ไม่แน่ใจครับ

ยังไงก็รับใช้ชาติ ประชาชนด้วยละกัน

------------------------------------------------

รายได้เฉลี่ยและสูงสุดของบัณทิตปริญญาโท จุฬา รุ่นรับปริญญาปี 2557

ปริญญาโท

เฉลี่ย.........>>>>.......>>>>. สูงสุด

บัณทิตวิทยาลัยจัดสอนเอง 35000------->100000
แพทย์ศาสตร์ 38000>>>>>>180000
ทันตะ 38000>>>>>>100000
สัตวแพทย์ 25000>>>>>>35000
เภสัช 33000->>>>>>69000
พยาบาลศาสตร์ 24000>>>>>>-100000
สหเวชศาสตร์ 24000>>>>>>39000
จิตวิทยา 32000>>>.>>51500
วิทยาศาสตร์การกีฬา 19000>>>>>>-30000
วิทยาศาสตร์ 30000>>>>>.80000
วิศวกรรม 36000>>>>>>80000
สถาปัตย์ 31000>>>>>80000
อักษร 25500-80000
Lศิลปกรรม 25000>>>>>>50000
ครุศาสตร์ 24000>>>>>>270000
นิติ 42500>>>>>>250000
นิเทศ 33000>>>>>85000
[บัญชี 53000>>>>>>550000
รัฐศาสตร์ 27000>>>>>>150000
เศรษฐศาสตร์ 46000>>>>>>>220000
ประชากรศาสตร์ 13000->>>>>>16000

;วิทยาลัยสาธารณสุข 41000>>>>>110000
ปิโตรเคมี 28000>>>41000
ศศินทร์ MBA 54000->>>>>100000
23 มี.ค. 59 / 02:40
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676758 171.96.171.162 <= 171.96.171.162

#58# - 676762 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ตืกยาวฉันจำได้. ไม่สูงส่งไม่รำพัน

เป็นตืกแค่สองชั้น. รับใช้ชาติ ประชาชน
23 มี.ค. 59 / 03:04
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676762 171.96.171.162 <= 171.96.171.162

#59# - 676765 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ป ตรี
เภสัชศาสตร์ 22000>>50000
เภสัชบริบาลศาสตร์ 30000

ป โท
เภสัชกรรม 28000 >>40000
เภสัช คลีนิค 28000>>51000
เภสัช อุตสาหกรรม 40000
อาหารเคมี 30000>>45000
เภสัชเวm 30000>>40000
เภสัช สังคม และบริหาร 40000>>60000
เทคโนโลยี่เภสัชกรรม 30000>>45000

ที่จริงยังมีอีกหลายสาขา เลือกมาบางอันครับ ย้ำ มีงาน 100%
23 มี.ค. 59 / 09:35
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676765 171.96.171.177 <= 171.96.171.177

#60# - 676800 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนสวนกุหลาบห้องหนื่ง ปี 2558 "
เมื่อปีที่แล้วนักเรียนหลายๆห้องรวบรวมผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยขื้น fb เอามาให้ดูหนื่งห้อง จาก 7-8 ห้อง ถ้าห้องเกทก็จะมีหมอเยอะ ห้องนี้เป็นห้องสายแมท ที่น่าสนใจคือการมองโอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เปลี่ยนไปทุกปี

นักเรียนในห้องเยอะ ตั้ง 52 คน มากกว่าโรงเรียนสาธิตหนื่งเท่า แต่ทำกันได้ดีนะ เข้าใจว่าติดรับตรงหมด

แพทย์ 6
วิศวะ จุฬา 15
บัญชี จุฬา 6 > lสายบัญชีมาแรง อนาคตรายได้เดือนละเป็นล้าน
วิทยาศาสตร์ จุฬา 3
สถาปัตย์ จุฬา 2
เศรษฐศาสตร์ อินเตอร์ จุฬา 2
เศรษฐศาสตร์ ภาคไทย จุฬา 2
เภสัช จุฬา 1
วิศวะ ชีวการแพทย์ มหิดล 1
คณิตศาสตร์ ประกันภัย มหิดล 1
เทคโนโลยี่ สารสนเทศ มหิดล 1 อนาคตรายได้เดือนละเป็นล้านเหมือนกัน
วิศวะ เกษตร 6
วิทยาศาสตร์ เกษตร 1
วิศวะ ลาดกระบัง 2
วิศวะ มจธ 1
วิศวะ SIIT มธ 1
บัญชี 5 ปี มธ 1

________________________

สรุป แพทย์ 6
วิศวะ 26
บัญชี 7
เภสัช 1
วิทยาศาสตร์ 6
สถาปัตย์ 2
เศรษฐศาสตร์ 4
----------------------------------------------------
แยกมหาวิทยาลัย

ลาดกระบัง 2
มจธ 1
จุฬา 31
เกษตร 7
มหิดล 3
ธรรมศาสตร์ 2
แพทย์หลายที่ 6 จุฬา มหิดล มศว ขอนแก่น รังสิต
13 เม.ย. 59 / 19:20
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676800 171.96.170.36 <= 171.96.170.36

#61# - 676805 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ห้องประเภทติดรับตรงมากมีราว 7 ห้องจาก 12 ห้องที่เหลือต้องแอดมิชชั่น ที่น่าสนใจคือ
คณะวิทยาศาสตร์สายวิทยาการคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ เคมี ธรณีวิทยาชวการแพทย์ ที่เลือกอนาคตดีมาก
วิศวกรรมที่เก่งมีความต้องการมาก แค่ระบบรางก็ราว 400000คน
คณิตประกันภัย รายได้สูงมาก คนเก่งมีน้อย มีสอบเทียบเอาเซอร์ระดับอินเตอร์
ความต้องการนักบัญชี นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่ง รายได้จะสูงกว่าเรียนแพทย์

โรงเรียนนี้เรียนวิศวะเยอะมาก ทั้งจุฬา มธ พระจอม
13 เม.ย. 59 / 19:38
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676805 171.96.170.36 <= 171.96.170.36

#62# - 676920 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เลือกคณะเป้าหมาย

คณะที่ปูนซีเมนต์ไทยเข้าไป recruit จากมหาวิทยาลัยมีลักษณะเด่น คือ มีอาจารย์ที่มีความรู้พอเพียง สามารถเปิดสอนระดับปริญญาเอกได้ ศิษย์เก่าได้สร้างผลงานที่ดี วัฒนธรรมการอยู่ร่วมเป็นที่น่าเชื่อถือ นี่คือเกณท์แรกในการเลือกคณะ มหาวิทยาลัย ดัชนีอื่นเช่น สถาบันที่การบินไทยเข้าไปrecruit นักเรียนเป็นนักบิน เป็นวิศวกร ที่สำคัญ เมื่อเรียนจบต้องได้คะแนนเกิน 2.7 สำหรับสมัครเข้า SCG -3.0 สำหรับสมัครเข้า ปตท

วิศวะ.> จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตร มหิดล มช ลาดกระบัง มจธ พระนครเหนือ มอ
วิทยาศาสตร์ . > จุฬา ธรรมศาสตร์ มช ลาดกระบัง มจธ พระนครเหนือ มข มอ
รัฐศาสตร์ > จุฬา มธ มช สังคมศาสตร์ เกษตร
นิติศาสตร์> ธรรมศาสตร์ จุฬา
พาณิชย์ บัญชี> จุฬา ธรรมศาสตร์ BBA มหิดล บริหาร มช
สถาปัตย์ >>จุฬา ลาดกระบัง
เศรษฐศาสตร์ >> จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตร
สื่อสารมวลชน > ธรรมศาสตร์ น่าจะรับจุฬาด้วยมั้ง
วิทยาการจัดการ >รวมบัญชี เศรษฐศาสตร์ด้วย > เกษตร มข มอ

เข้าไปrecruit กันตั้งแต่ปี 3 อ้อ เกรด 2.7 โทอิค 550
12 พ.ค. 59 / 09:46
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676920 171.96.172.129 <= 171.96.172.129

#63# - 676921 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ที่นี่...เก่าแก่..สง่างาม...และอบอุ่น

เขามา

จากเหนือ...จากใต้...จากตะวันออก...จากตะวันตก

รวมกันอยู่

เขาเป็นเจ้า...เขาเป็นผู้ดี...เขาเป็นเศรษฐี..เขาเป็นยาจก...เขาเป็นไพร่

แต่เขารวมกันอยู่ เพื่อหลอมให้เป็นอย่างเดียวกัน

ภายใต้อาณาจักรอันเป็นที่รัก

ร่วมเรียน...ร่วมเล่น...ร่วมคิด...ร่วมสร้างสรรค์ และฝึกปรือสำหรับอนาคต

แล้ว...เขาก็ไป

สู่เหนือ...สู่ใต้...สู่ตะวันออก...สู่ตะวันตก...

เพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ ภายใต้อุดมการณ์ จากแหล่งเดียวกัน...

........................................................

จากหนังสือสมานมิตร 2507
ไม่ปรากฏนามผู้เขียน
13 พ.ค. 59 / 09:39
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676921 171.96.172.122 <= 171.96.172.122

#64# - 676922 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] และนี่คือภารกิจของนักเรียนสวนกุหลาบ ที่ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น

หินก้อน แรกร่วง ลงพื้น

ก้อนอื่น ร่วงตาม ทับถม

กลบมิด ก้อนเก่า เจ้าจม

สะสม เป็นทาง ให้เดิน



อิฐตืกยาวก้อนหนื่ง ร่วงลง บนแผ่นดินบ้านนาสาร

โกมล คีมทอง ห้องศิลป สวนกูหลาบรุ่น 80

อุดมคติที่มอบชืวิตเพื่อเด็กน้อยในชนบท และคนจน

ส่งผลสั่นสะเทือนใจคน และทิศทางรัฐ

อุดมการณ้ของโกมลยังอยู่และยังส่งผลสี่นสะเทีอน แม้จะไม่มีคนเอ่ยชื่อเขาก็ดาม


รำลืกถืงอิฐตืกยาวที่ร่วงหล่น จมหาย ในดิน

สร้างฐานราก มั่นคง ให้ขาติ และประชาชน

พวกเขาไม่มีโอกาสเขียนบทรำลืกตืกยาว

พวกเขาจมหายอยู่ในแผ่นดิน
13 พ.ค. 59 / 09:46
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676922 171.96.172.122 <= 171.96.172.122

#65# - 676923 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เป้าหมายของชีวิต งาน และการศืกษา คืออะไร

====================
ตึกยาวจะยืนหยัด
จะแน่ชัดเพื่อชั้นใด
เหยียดยาวสักแค่ไหน
ไม่ยิ่งใหญ่กว่าปวงชน

ตึกยาวหากยืนอยู่
อวยสมสู่เหนือผู้คน
ซากอิฐก็ล้นพ้น
เกินจะเปรียบเทียบรางวัล

ตึกยาวฉันจำได้
ไม่สูงส่งไม่รำพัน
เป็นตึกแค่สองชั้น
รับใช้ชาติประชาชน

เครดิต: สมานมิตร117
13 พ.ค. 59 / 09:49
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676923 171.96.172.122 <= 171.96.172.122

#66# - 676931 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] สวนกุหลาบที่จุฬา - มหิดล 2559

.มหิดล

:1) ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร OSK86 อธิการบดี

2) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ สมประกิจ OSK88 รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและสารสนเทศ

3) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ OSK88 รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล

4) รองศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท ภักดีกุล OSK99 คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

5) รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ OSK101 รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
----------------------------------



จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย:

1) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เจษฎา แสงสุพรรณ OSK81?รองอธิการบดี ปฏิบัติการแทนอธิการบดีในภาระหน้าที่ด้านบริหารทั่วไป

2) รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ OSK89(93)? ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม

3) รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล OSK95(91) Warawut Chulalaksananukulผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ

ศาสตรราจารย์ นายแพทย์ สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ OSK97(93)คณบดีคณะแพทยศาสตร์

5) รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.คณิศักดิ์ อรวีระกุล OSK97(93) คณบดีสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

6) รองศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม OSK102 Boonchai Stitmannaithum[Civil Engineering]รองอธิการบดี ปฏิบัติการแทนอธิการบดีในภาระหน้าที่ด้านกายภาพ

7) รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ OSK110 Veerasak Likhitruangsilp[Civil Engineering]ผู้ช่วยอธิการบดี ปฏิบัติการร่วมกับรองอธิการบดีในภาระหน้าที่เกี่ยวกับกายภาพ
14 พ.ค. 59 / 15:38
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676931 171.96.172.174 <= 171.96.172.174

#67# - 676961 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] เงินเดือนปริญญาตรีจุฬาปี 53 แยกรายสาขาวิชา

เงินเดือน ป ตรี ปี 2553

จากเฉลี่ย ถืงสูงสุด ในแต่ละแผนก




การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 20000>>>>>>>>>45000

บัญชี 20000>>>>>>>>>63000

การตลาด 13000>>>>>>>>>>>35000

ะนาคาร การเงิน เท่าการตลาด

ประกันภัย ปี 2552 เริ่มสูงสุด 100000


ปริญญาโท

บริหารธุรกิจ 75000>>>>>>>>>-320000

เทคโนสารสนเทศธุรกิจ 38000>>>>>>90000

การกำกับดูแลกิจการ 35000>>>>>>110000

การจัดการการเงิน 47000>>>>>115000

การบัญชีี 48000>>>>>>>110000

การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 40000>>>>90000

การพัฒนาซอฟท์แวร์ธุรกิจ 50000>>>>>300000

การเงิน 42000>>>>> 100000

การตลาดเหมือนการเงิน
==================
ลืมบอก ป ตรี แผนกอื่นๆ ตัวเลขด้านหน้าเป็นตัวเลขเฉลี่ย ด้านหลังเป็นตัวเลขสูงสุด

สารสนเทศการจัดการ 20000>>.23000

โลจิสติกส์ 16000>>> 20000

สถิติคณิตศาสตร์ 18000 พอๆกับ สถิติประยุกต์

เทคโนโลยี่สารสนเทศเพื่อธุรกิจ 20000>> 22000

ประกันภัย 18000> 21000

ธนาคาร การตลาด ให้ข้อมูลไว้แล้ว

เปลี่ยนคำแนะนำใหม่ ถ้าเรียนวิศวะ วิทยา เภสัช ไม่ถืงระดับสุดยอดมานี่ดีกว่ามั้ง คิดเอง
===========================
วิศวกรรม สีเลือดหมู

ป ตรี

วิศวกรรมอากาศยาน 21000>>27000

สารสนเทศและการสื่อสาร 26000>>35000

นาโน 2100>>31000

การออกแบบและผลิตยานยนต์ 26000 >>40000

โยธา 19000>>28000

ไฟฟ้า 25000>>70000

เครื่องกล 28000>>75000

ยานยนต์ 28000>>53000

วิศวะ เรือ 18000

อุตสาหการ 24000 >>> 50000

เคมี 31000>>40000

ปีโตรเลียม 46000>>53000

ธรณี 22000

สิ่งแวดล้อม 21000>>28000

สำรวจ 18000

ดลพะและวัสดุ 25000>>50000

วิศวะ คอมพิวเตอร์ 23000>>> 36000
--------------------------------------
วิศวะ เพิ่มเติม ปริญญาโท

ทำไมคนจืงต่อปริญญษโทกันมาก เงินเดือนเปลี่ยนมาหไหม

การจัดการทางวิศวกรรม ก็บริหารนั่นแหละครับ

เเฉลี่ย 53000>>90000

โยธา 25000>>40000

ไฟฟ้า 22000>>30000

เครื่องกล 19000

อุตสาหการ 38000 >>60000

เคมี 40000>>>100000

ปิโตรเลียม 50000

สิ่งแวดล้อม 21000>>30000

;วิศวคอม 29000..>>30000

ซอฟท์แวร์ 28000

นิวเคลียร์ 25000>>40000

;วิทยาศาสตร์ คอม 22000
----------------------------------------------
สถาปัตยกรรม

เรียน 5 ปีหรือเปล่า งานหนัก ตอนเรียนไม่ได้นอน แพงค่าวัสดุ ผลตอบแทนธรรมดามาก

ออกแบบสถาปัตย์ 17000>>20000
สถาปัตย์ไทย 16000>.18000
ออกแบบอุตสาหกรรม 15000>>22000
ผังเมือง 14000>>18000
ภููมิสถาปัตย์ 23000>> 68000
สถาปัตย์ภายใน 15000>>ๅ18000



ปริญญาโทที่น่าเรียน

สถาปัตยกรรม 30000>>37000

การพัฒนาอสังหา 70000>>150000



ลองเทียบกับของลาดกระบังดูนะครับ ศิลปากรด้วย
-------------------------------------

นิติศาสตร์

เอารายงานของ มธ มาเทียบ รายได้ ย้ำ มธ ใช้คำว่ารายได้ ซื่งมากกว่าเงินเดือน คิดแบบเศรษฐสาสตร์ รายได้นิติอยู่ที่18000 จุฬาก็ราวนี้ทั้ง สายนี้ควรเรียนเนติ หรือต่อโท

รายได้เฉลี่ยคนจบโท นิติ จุฬา

นิติศาสตร์ 30000> 120000

กม เศรษฐกิจ 70000>> 120000

แล้วยังมีกม ธุรกิจ และ กม การเงินและภาษี

รายได้คนจบโทสูงเพราะทำงานมาบ้างแล้ว อย่างน้อยหนื่งปี


http://www.tu.ac.th/org/ofrector/planning/m1_m6/m1_m62.htm

++++++++++++++++++++++++

รัฐศาสตร์

ป ตรี เฉลี่ยราว 16000

สูงสุด

ปกครอง 21000
ต่างประเทศ 20000
รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยาก็ราวนี้

ปริญญาโท

ปกครอง 15000>>25000
ต่างประเทศ 35000 >> 200000
สังคม 15000> 25000
รัฐประศาสนศาสตร์ 30000>.150000
พัฒนาระหว่างประเทศ 30000>>200000

ที่สูงๆงานอินเตอร์ อยากมีตังค์ขยันเรียนภาษาไว้แต่เด็กนะจ๊ะ
____________________________________

เศรษฐศาสตร์

ป ตรีไทย ธรรมดา เริ่ม เฉลี่ย 15000 สูงสุด 20000 ทุกสาขา ของคณะ บัญชีดีกว่า

ป โท
ระหว่างประเทศ 27000
สาธารณสุข 31000>> 45000 หมอมาเรียนหลายคน
การเมือง 25000>>35000 คนทำงานแล้วมาเรียน
แรงงาน 26000>> 50000
ที่นี่มีก๊วนหุ้น หัดกันแต่เรียน วันไหนหุ้นขื้น ชั้นเรียนว่าง ช่วงไหนหุ้นตก มานั่งหดหู่ในชั้น
+++++++++++++++++++++

นิเทศศาสตรื

มีอะไรดีๆแอบอยู่

ป ตรี

การจัดการการสื่อสาร 40000>>160000 น่าจะเป็นหลักสูครอังกฤษหรือเปล่า เน้นอีกทีนะครับว่า เมืองไทยต้องการพวกบริหาร การจัดการ ธุรกิจ เทคโนโลยี่ การสื่อสาร การศืกษา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม อสังหาอย่างแรง คนที่ดูได้ทั้งระบบ วางแผนได้ ทำโครงการได้ ตั้งงบได้ สื่อสาร วิ่งเอางาน สร้างงานได้ ยิ่งด้านวิทยาต้องการเยอะ พวกนี้คุยกับคนไม่รู้เรื่อง ตั้งโครงการไม่เป็น

วารสารสนเทศ 19000>>22000

การกระจายเสียง 15000>>20000

ประชาสัมพันธ์ 18000>>23000

โฆษณา 14000>>18000

วาทวิทยา 14000>>15000

ภาพยนต์ ภาพนิ่ง 15000

การแสดง 13000 สงสารอั้ม พัชราภา กับณเดชย์มาก รายได้ต่ำ

ถ้าเรียนโทต่อ รายได้จะเพิ่มขื้น

สื่อสารมวลชน 25000>?>30000

ประชาสัมพันธ์ 30000>>70000

ภาพยนต์ 18000>>36000
++++++++++++++++++
ครุศาสตร์

ตัวเลข มศว

http://planning.oop.swu.ac.th/Portals/108/download/report/gra-51-52.pdf

เป็นคณะที่มีนักเรียนจากต่างจังหวัดมากที่สุด ทำราชการมาก

ธุรกิจศืกษา 15000
ประถมศืกษา 15000>>40000
ปฐมวัย 15000>>60000
ดนตรีศืกษา 10000>>15000

ศิลปศืกษา 12000>>13000
มัธยม 11000 >>20000
++++++++++++++++++

สิลปกรรมศาสตร์

ทุกสาขา ได้รับราว 15000-16000

เรียนโท นฤมิตศิลป ดีหน่อย คนจบรายได้เฉลี่ย 32000 >>100000

ไม่รู้ว่ากี่sample

คณะนี้ว่างงานราว 30%

คณะที่เดือดร้อน เมื่อหางานไม่ได้ คือ ครุศาสตร์ วิทย์กีฬา ศิลปกรรม สหเวชศาสตร์

ความแตกต่างทางเศรษฐกิจในจุฬามีอยู่จริง มีนักเรียนที่ต้องการทุนปีละพันกว่าคน จากทุกชั้นปี
++++++++++++++++++++
วิทยาศาสตร์

คณะนี้อัตราคนยังไม่มีงานทำสูง แต่ก็แล้วแต่สาขา pure sceince ว่างมากกว่า applied sceince

วิทยาการ คอม 21000>30000
เคมี 15000>18000
เคมีประยุกต์ 15000< 20000
ชีววิทยา 14000 <<20000
ฟิสิกส์ 23000>>30000
พฤฏษศาสตร์ 10000 สูงสุด
พันธุศาสตร์ 20000>30000
เคมีวิศวกรรม 21000 >>25000
ธรณีวิทยา 30000>40000
วิทย์สิ่งแวดล้อม 15000>>20000
วิทย์ทางทะเล 17000>>20000
ชีวเคมี 17000>>20000
วัสดุศาสตร์ 18000>>20000
จุลชีววิทยา 12000>16000
เทคโนโลยี่ทางภาพและการพิมพ์ 16000>>20000
เทคโนโลยี่ทางอาหาร 19000>>50000
+++++++++++++++++++


คณะวิทยาศาสตร์ จบเยอะ ตั้ง768 คน ทำงานแล้ว 46.8% ศืกษาต่อ 264 คน 38% ยังไม่ทำงาน 105 คน 15% คณะนี้มีทุนเรียนต่อโท เอก มาก เช่น สถาบัน จุฬาภรณื วิทยาลัย ปีโตรเคมี โพลิเมอร์ เป็นต้น

การศืกษาต่อปริญญาโท ช่วยเพิ่มรายได้มั้ย

แนะนำสาขาที่รายได้พุ่ง คือ

วิทยาการ คอม 55000>>80000
เคมี 28000 >>55000
เคทีเทคนิก 21000>>25000
วิทย์?พอลิเมอร์ 25000>>30000
จุลชีวอุตสาหกรรม 26000>>65000
ปีโตรเคมี 37000>>100000
++++++++++++++++

อักษรศาสตร์ คนสวย

รายภาควิชากันเลยนะครับ

อิตาเลี่ยน 18000>>30000
สเปน 21000>>50000
เยอรมัน 18000>>20000
ฝรั่งเศส 17000>>23000
ญี่ปุ่น 28000>>70000
จีน 20000>>30000
สิลปการละคร 17000 >20000
ปรัชญา 21000>>25000
lสารนิเทศศืกษา 18000 >>30000
ภูมิศาสตร์ 18000 >> 25000
)ประวัติศาสตร์ 15000>> 25000
อังกฤษ 18000>>25000
ไทย 15000
++++++++++++
จิตวิทยา

คณะนี้ไม่มีตัวเลขเงินเดือน ป ตรี เดี๋ยวจะลองเอาตัวเลขของ มธ และ มศว มาดูกัน

ป โท จิตวิทยา

จิตวิทยาการปรืกษา 18000>>20000
จิตวิทยาสังคม 21000>>30000
จิตวิทยาพัฒนาการ30000>>60000
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 40000>>80000
+++++++++++++++

สหเวชศาสตร์

เทคนิคการแพทย์ 15000>> 26000
โภชนาการ และการกำหนดอาหาร 15000>>30000
กายภาพบำบัด 15000>>20000

ดูตัวเลขผู้มีงานทำประกอบด้วย
++++++++++++++++
เภสัชศาสตร์

คณะนี้มีงานทำ100% ผู้หญิงซะ 80%มีคนบอกว่าผู้ชาย 1ใน 4 เป็น ช@ญ

ป ตรี
เภสัชศาสตร์ 22000>>50000
เภสัชบริบาลศาสตร์ 30000

ป โท
เภสัชกรรม 28000 >>40000
เภสัช คลีนิค 28000>>51000
เภสัช อุตสาหกรรม 40000
อาหารเคมี 30000>>45000
เภสัชเวm 30000>>40000
เภสัช สังคม และบริหาร 40000>>60000
เทคโนโลยี่เภสัชกรรม 30000>>45000

ที่จริงยังมีอีกหลายสาขา เลือกมาบางอันครับ ย้ำ มีงาน 100%

++++++++++++++++++++

ทันตะ


ทันตกรรมประดิษฐ์ 60000>>100000
ทันตกรรมหัตถการ 19000>>20000
ศัลยศาสตร์ช่องปาก 60000>>100000
ทันตกรรมสำหรับเด็ก 18000>>20000
ทันตกรรมบดเคี้ยว 30000>>50000
๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘
+++++++++++++

แพทยศาสตร์

จบแล้วอยู่ในช่วงใช้ทุน

ปริญญาโท

วิทยาศาสตร์การแพทย์ 30000>>80000
ชีวเคมีการแพทย์ 23000
xปรสิตวิทยา 18000>>20000
อาชีวเวชศาสตร์ 23000>>40000
อายุรศาสตร์ 50000>>200000
+++++++++++

เงินเดือนเฉลี่ยที่นิสิตที่จบปริญญาโทได้รับ

จัดโดยบัณทิตวิทยาลัย มีหลายหลักสูตร

ยุโรปศืกษา ช่วงนี้ไม่ค่อยมีงาน ผลิตไปเด็มความต้องการแล้ว

วิทยา สิ่งแวดล้อม 38000>>120000
การจัดการทางวัฒนธรรม 32000>>230000 เรียนภาษา ปะกิต
การจัดการลอจิสติกส์ 38000>>100000
เอเซียศืกษา 20000
ธุรกิจเทคโนโลยี่ 50000>>120000 ช่วงนี้ด้านเทคโน วิทยา เรียนที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ บริหาร จัดการ จะดีมาก

ปริญญาโท อักษร ตลาดจ่ายสูงสุดบางสาขาที่ 28000

ป โท ครุศาสตร์ ที่น่าสนใจ

การสอนภาษาไทย 38000>>88000
บริหารการศืกษา 25000>>60000
นิเทศ 26000>>60000
ปฐมวัย 30000>>80000
ดนตรีศืกษา 22000>>40000

ปริญญา สัตวแพทย์
พยาธิชีววิทยา 40000>>75000
สัตวแพทย์สาธารณสุข 32000>>50000
;ิทยาการสืบพันธ์ 25000>>35000
++++++++++++++++++++++++

ปริญญาโท อักษรศาสตร์ที่ค่าตอบแทนสูงสุด คือ ล่ามและการแปล

45000>>100000
++++++++++++++++++++

ข้อมูลพวกนี้ ศิษย์เก่าที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัย หรือจบมาไม่นานก็ควรรู้ด้วย
เพราะสังเกตุว่า คนที่ตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโท หรือไม่เรียน เรียนสาขาใด มหาวิทยาลัยใด ตัดสินใจอย่างค่อนข้างขาดข้อมูล

ข้อมูลพวกนี้นำมาให้น้องๆดู แต่วัยเด็ก ยังไม่เข้ามหาวิทยาลัย เพื่อจะได้มีข้อมูลวางแผนอนาคตยาวขื้น กว้างขื้น รู้ทิศทางมากขื้น มีศิษย์เก่าคุณภาพที่สามารถทำงานให้ประเทศอย่างดี

การเรียนปริญญาโทเป็นแนวทางหนื่ง การเรียนรู้จากของจริง 500000 อาชีพที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนก็เป็นอีกแนวทางหนื่ง

อยากบอกว่า มหาวิทยาลัยต่างๆยุคนี้มี specialisation มากขื้น คนจบจากที่หนื่งไปเรียนอีกที่หนื่งเป็นเรื่องปกติ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ อาจารย์

ผู้ปกครองเอง จะได้วางแผนถูก เพื่อช่วยกันในทุกเส้นทางที่ลูกหลานจะเดินต่อ

เงินเดือนเฉลี่ยที่นิสิตปริญญาโท รุ่นปี 2553 ได้รับ และเงินเดือนสูงสุด

บัณฑิตวิทยาลัย 37000>>230000

แพทยศาสตร์ 33000>>200000

ทันตแพทย์ 43000>>100000

สัตวแพทยศาสตร์ 28000>>75000

เภสัชศาสตร์ 25000>>60000

จิตวิทยา 30000>>80000

วิทยาศาสตร์การกีฬา 27000>>97000

วิทยาศาสตร์ 26000>>100000

วิศวกรรมสาสตรื32000>>100000

สถาปัตย์ 31000>>150000

อักษรศาสตร์ 23000>>100000

ศิลปกรรมศาสตร์ 26000>>100000

ครุศาสตร์ 21000 >>100000

นิติศาสตร์ 44000>>260000

นิเทศศาสตร์ 26000 ..>70000

พาณิชย์ บัญชี 53000>>320000

รัฐศาสตร์ 30000>.200000

เศรษฐศาสตร์ 26000>.50000
+++++++++++++++++

ย้ำว่านี่เป็นสถิติของบัณทิตรุ่นจบปี 2553 นาจา
31 พ.ค. 59 / 04:18
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676961 171.96.170.30 <= 171.96.170.30

#68# - 676962 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] รีวิวชิ้นนี้เขียนขื้นเพื่อบูชาครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลับ
ในวัยเด็กอายุ 13-18ปี เป็นวัยที่สับสน ไม่แน่ใจ ดิ้นรน และยากลำบากของหลายคน ความรัก ความเข้าใจ กำลังใจ แววตาที่เมตตา เห็นอกเห็นใจ คำชื่นชมของครู ช่วยให้นักเรียนสวนกุหลาบเดินก้าวไปข้างหน้า ประสบความสำเร็จในชีวิต จืงเป็นหน้าที่ที่ต้องมอบคืนแก่โรงเรียน
ศิษย์เก่าแห่งสวนกุหลาบวิทยาลัย= หลายท่านเป็นผู้สอน นำทางทั้งในมหาวิทยาลัย จนถืงวันที่เริ่มต้นทำงาน พาไปพบปะผู้คน สอนงาน สอนชีวิต บอกโอกาส ช่องทางในอาชีพ ให้กำลังใจและความอบอุ่น

นักเรียนสวนกุหลาบจืงรวมรุ่นกันบ่อย มากันเกิน 80% มันเป็นเครื่องชี้ความสำเร็จในอาชีพ และชีวิต พวกที่ไม่ได้มาก็อยู่เมืองนอกบ้าง ต่างจังหวัดบ้าง ติดธุระบ้าง

บอกได้ว่าคุณเรียนอะไร ที่ไหนก็สำเร็จ
มีคนบอกว่าความสำเร็จของคนขื้นอยู่กับประตูเทพ 8 ประตู โรงเรียนสวนกุหลาบเปิดประตูทั้ง 8 ให้นักเรียนทุกน เป็นประตูที่สร้างด้วยบรรยากาศโรงเรียน

==================
ประตูเทพทั้ง 8...
8 สิ่งที่คนเก่งมากๆ มีร่วมกัน
เปิดได้แค่ประตูเดียวก็เก่งแล้ว
.
ประตูเทพทั้ง 8....
========================
________________________________

________________________________
---ประตูที่ 1 Passion, Drive, Grit---
1/3 Passion

- มีความหมกมุ่นหลงใหล ใน “งาน” ที่ทำ

- “ไม่” แยกงาน และเรื่องส่วนตัวออกจากกัน

- ไม่เชื่อง่าย...แต่ถ้าเชื่อแล้ว...จะเลิกเชื่อเป็นคนท้ายสุด

- มีสนามพลังโน้มน้าวรุนแรง

เวลาพูดในสิ่งที่เชื่อ...คนฟังจะถูกตรึงอยู่กับที่

- อาจถึงขั้นหักเหเหตุและผล...ให้คนอื่นเชื่อตามได้ด้วย

(เป็นข้อดี เพราะบางสิ่งที่ “ยังไม่เกิด” ก็ไม่มีเหตุผลรองรับ)

- ปักหลัก “ความมั่นใจ” ให้คนรอบข้างได้ด้วย

1/3 Drive,

- บ้าพลัง เป็นเครื่องยนต์กำลังสูง มี Passion เป็นเชื้อเพลิง

- สามารถสร้างพลังบวกได้ด้วยตัวเอง

- มีความเป็นผู้นำสูงมาก อาจไม่จำเป็นที่คนรอบข้างจะรัก

(แต่คนรอบข้างจะ “เชื่อ”)
- คิดเสร็จแล้วทำเลย...และคนส่วนใหญ่นั้นช้ามาก

- มี Time Conscious ให้ความสำคัญกับเวลามาก

- มีโฟกัสที่เข้มมาก...ไม่ใช่แนว...ลองไปเรื่อย (Pansakorn Phothidaen)

3/3 Grit
- ไม่เสร็จ...ไม่ยอม

- ซ้อม หรือลงมือหนักกว่าคนปกติมาก

- อาจถึงขั้น แลกสิ่งอื่นๆ (เพื่อน, แฟน, เที่ยว)

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในสิ่งที่เชื่อ

- แม้ในวันที่แพ้ไม่เหลืออะไรเลย

พวกนี้ก็จะไม่แหลกเหลวไป
.=========== .
---ประตูที่ 2 Self Aware ---

- รู้ว่าสิ่งใดที่ตัวเอง...รู้แน่...ไม่รู้...ไม่แน่ใจ

- รู้ว่าสิ่งไหนต้องทำเอง...สิ่งไหนต้องใช้คนอื่น

- ต่อให้เมา...พวกนี้ก็ยังมีสติควบคุมคำพูด

- รู้ตัวชัดว่าอะไร...ชอบ...ไม่ชอบ

ต้องการ...ไม่ต้องการ

ไม่วุบวับ...ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย
________________________________
____________________
.
.
.
---ประตูที่ 3 Great Listener---

- ฟังยาวๆ แล้วจับประเด็นได้

- สังเกต และเห็นจุดต่างได้เร็วก่อนคนอื่น

- ถามแบบ “ดอกเดียวดับ” ได้

- ฟังแล้วได้ยินไปถึง Hidden Agenda ได้
แม้ว่าจะไม่ได้พูดถึง
(Hear of what left unsaid)

- เขา “เข้าใจ” ถึงความรู้สึกของคุณ
(แต่แสดงออกให้รู้ว่าเข้าใจหรือเปล่า...นั่นอีกเรื่อง)

________________________________
C สิ่งที่เขาตอบสนอง...ต่อสภาพภายนอก
________________________________
.
.
.
--- ประตูที่ 4 Time Machine Vision---

(- มีวิสัยทัศน์แบบ Time Machine คือ
เห็นทั้ง ภาพรวมวันนี้-สาเหตุในอดีต-และสิ่งที่จะมาในอนาคตได้

- ปัจจุบัน เห็นภาพรวม และผลกระทบของสิ่งย่อยๆ ได้

- เมื่อเห็นผลลัพธ์ในปัจจุบัน สามารถย้อนเห็นสาเหตุในอดีตได้

- มีวิสัยทัศน์ และจมูกไว เห็นก่อนคนอื่นๆ
.
.
- Begin with the end in mind
บางครั้ง” จะเห็นผลลัพธ์ปรากฏชัดอยู่ตรงหน้า
ก่อนจะคิดวิธีการทำได้ซะอีก
.
.
- ส่วนใหญ่จะมอง “ศักยภาพ” ของคนออก

- มองคนเก่งด้วยกันออก เหมือนผีเห็นผี

ถ้าบวกประสบการณ์สูงๆ จะมอง “เจตนา” ของคนออกด้วย

- เห็นได้ถึงขอบเขตที่ไม่สิ้นสุดของความรู้

===============
.
.
.
---ประตูที่ 5 Adapt to people, Adapt to situation ---

- ปรับเข้าหาสภาพแวดล้อม ปรับตัวเข้ากับอุปสรรค
และคงความเป็นตัวเอง และคงเป้าหมายไว้ได้

- ไม่กลัวสิ่งใหม่ๆ ชอบได้ลองของใหม่ๆ

- ต่อยอดความคิดของการพูดคุยได้เรื่อยๆ

- ถ้าเขาคิดจะทำ...สามารถขัดให้คนนั้นขึ้นเงา
โดยจัดงานให้เพื่อนร่วมทีมเข้ามุมที่เหมมาะ
เพื่อให้คนนั้นสร้างงผลลัพธ์ที่ดีได้
(แต่หลายครั้งอาจจะไม่คิดจะทำ
ถ้าการปั้นนั้น ลดทอนหรือประวิงเป้าหมายหลัก)

===========
.
.
.
---ประตูที่ 6 High Outcome Deliver

อาจจะขี้โม้ หรือถ่อมตัว ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ เขาจะ “โม้” น้อยกว่าความสามารถของตัว หลายคนขี้โม้...และเก่งกว่าที่ตัวเองโม้ไว้อีก

- ไม่ค่อยพูดว่า "ทำไม่ได้" (ปิงปอง เขียนเปลี่ยนชีวิต)

- ไร้กระบวนท่า ไร้อาวุธประจำตัว

ไม่ใช้แต่จุดแข็งเดี่ยว...แต่จะมีพร้อมทักษะอื่น ในระดับสูง

- ไม่เน้นวิธีการ ไม่เน้นความสามารถ...เน้นผลลัพธ์สูงมากๆ


- ถ้าต้องทำเรื่องเหมือนๆ กับคนอื่น..
ผลลัพธ์เขา...ต้องเกินหน้าคนทั่วไป

- กล้าตัดสินใจโดยพลการ
)
- ตัดสินใจได้ โดยไม่ต้องรอให้ทุกอย่างพร้อม

- รำคาญของ “เดิมๆ” ที่ไม่ดีขึ้นตามเวลา

- ชอบลองของใหม่ ชอบเรียนรู้อะไรใหม่

- Raise the bar ต้องดีกว่าเดิมอีกนิดนึง
________________________________

.
.
.
---ประตูที่ 7 Make it Simple---

- สามารถตกผลึกจากข้อมูลหลากหลายเป็นแก่นแท้ได้

- ทำเรื่องยากๆ ได้ง่ายๆ ลอกเปลือกออก แล้วทำแต่แก่นได้

- อธิบายด้วยประโยคสั้นๆ ให้คนฟังเข้าใจตามได้
)
- เปรียบเทียบจากตัวอย่างใกล้ตัวผู้ฟังได้เก่ง

- ละเอียดในเรื่องสำคัญ แต่ไม่หยุมหยิมเล็กน้อย

- สื่อสารได้เก่งมาก ทั้งภาษากาย ภาษาพูด
เลือกพูดได้ทั้ง

ภาษาคน (เข้าใจได้)
ภาษาสัตว์ (จริงใจแต่ตัดตรง)
ภาษาเทพ (พูดแล้วเกิดมิตร)
.
.
.
---ประตูที่ 8 Give, Push people ---

- ไม่หวงความรู้

ชอบสอน

- เน้นสร้างทีม หลายครั้งใช้วิธีถีบลูกสิงห์ลงเหว - ที่เน้นสร้างทีม
เพราะคิดว่า เก่งคนเดียวนั้นจะเก่งได้แต่พื้นที่เล็กๆ

- ทำให้คนรอบข้าง...เก่งขึ้นด้วย

- ถ้าเกิดข้อผิดพลาด จะเน้นไปที่ทางแก้มากกว่าหาคนผิด

- ถ้าเขาคิดจะทำ...เขาจะสามารถสร้างพลังบวก ให้กับทีมได้ด้วย

________________________________
ประตูทั้ง 8 นี้ สร้างคนที่ประสบความสำเร็จในทุกอาชีพ ถืงจุดสูงสุดในทุกอาชีพใน 500000 อาชีพ
31 พ.ค. 59 / 05:36
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676962 171.96.170.30 <= 171.96.170.30

#69# - 676963 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] อาชีพนั้นมีเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
แต่ควรได้สร้างงานที่คนรุ่นหลังจะรำลืกถืง กล่าวถืง เพราะคุณสร้างสิ่งดีงามให้ประเทศ สร้างความสุขให้มนุษยชาติ
อย่าเป็นเพียงเม็ดทรายในมหาสมุทร เรียน หาเงิน แล้วตาย ชีวิตมีความหมายมากกว่านั้น
รำลืกถืงพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ให้ได้ตลอดชีวิตเถิด
ต้องยอมสละชีพ ต่อสู้เพื่อรักษาเอกราช อธิปไตยของชาติ
เมื่อประเทศถูกรุกราน รีบวิ่งเข้าประจำแถวหนื่งทันที
จงช่วยเหลือคนจน ผู้อ่อนแอ
พัฒนาเทคโนโลยี่ ความคิดของชาติให้ทันสมัย ก้าวไกล
ดูแลดุลยภาพของประเทศทั้งภายในและภายนอกให้ได้
สร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญรุ่งเรือง คนยากจน คนอ่อนแอได้ยืนหยัดเท่าเทียมผู้คน
และจงสร้างความเท่าเทียมในสังคม เฉกเช่นรัชกาลที่5 ที่ทรงเลิกทาส

=============
สวนกุหลาบไม่มีหน้าที่สร้างกรวดทรายอันกล่นเกลื่อน
โรงเรียนนี้มีหน้าที่สืบทอดพระราชปณิธานของรัชกาลที่5
นี่คือคำสั่งที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา รุ่นต่อรุ่น

แต่ถ้าจะรวยก็จงใช้สิ่งที่ได้มาเกื้อกูลคนร่วมชาติด้วย
01 มิ.ย. 59 / 11:12
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676963 171.96.172.200 <= 171.96.172.200

#70# - 676994 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ห้อง 604 ปี 2559 มี 29 คน
แพทย์ 15 > ศิริราช 6 จุฬา 2 มศว 1 มธ 2 มช 1 รามา2 วชิระ 1
วิศวะ 10> จุฬา 7 เกษตร 2
บัญชี 2> จุฬา 1 เกษตร 1
ทันตะ จุฬา 1
นิติ จุฬา 1
วิทยา จุฬา 1
ทุนต่อต่างประเทศ 1

ห้องนี้คือ 604 หนื่งในห้องเกท ยังมีห้องกิฟท์แมท กิฟท์ไซนส์ ห้องคิง
15 มิ.ย. 59 / 02:43
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676994 171.96.172.2 <= 171.96.172.2

#71# - 676995 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] นี้นักเรียนสวนกุหลาบได้เป็นตัวแทนไปแข่งโอลิมปิกระหว่างประเทศ 8 คน ยังมีที่ไปในนามเตรียมอุดม, และมหิดลวิทย์อีก 3 รวม 11 เยอะสุด เป็นแนวนี้มาตั้งแต่ปี 2533

นับแล้วนักเรียนสวนกุหลาบที่ไปแข่งในชื่อสวนกุหลาบระหว่าง 2533-2559 รวม 296 คน ที่ได้ไปเนี่ยได้เหรียญแทบทั้งหมด เมื่อได้เหรียญก็ได้ทุนไปเรียนมหาวิทยาลัยดังๆของโลก เช่น MIT UC Berkeley Harvard

เดือนนี้จบเอกจาก MIT 2คน จบตรี 2คน จบตรีจาก Berkeley จะไปต่อฮาร์วาร์ด 1 คน พวกเรียนสแตนฟอร์ด ม ดังของโลกก็เยอะ สวนกุหลาบจืงมีเครือข่ายนักเรียนนอกที่จบจากมหาวิทยาลัยดังของโลกเยอะมากๆ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 400-500 กลุ่มนี้ไปตอนจบ ม6 นับแค่จากปี 2533 เป็นต้นมา

อ้อ ลืมนับพวกที่ได้ทุนไปเรียนจากทุนอื่นๆเช่น กระทรวง ญี่ปุ่น กพ ทุนคิง อีกปีละราว 10 ทุน ปตท พสวท กลุ่มนี้น่าจะราว 300 จำนวนพอๆกันกับกลุ่มโอลิมปิก

ยังมีอีกส่วนหนื่งไปเรียนด้วยทุนส่วนตัวตอนจบ ม6 ไป ม3 ก็มีปีละ
เป็นสิบ การเรียนAFS เป็นที่นิยมกัน เพื่อเอาภาษา พวกไป AFS มักจะไปต่อโทเมืองนอกเป็นเทรดิชั่น

พวกที่เรียนตรีไทยแล้วไปต่อนอกทันที เพียบ

ได้ทุนก็เยอะ ทำโท นักเรียนสวนกุหลาบเป็นเบอร์ต้นๆที่วิศวะ จุฬา

เด็กสวนนิยมเข้าหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศมากขื้นเรื่อยๆ ได้ภาษา

ที่นี่ไม่ได้กินบุญเก่ารุ่นพี่ นักเรียนรุ่นหลังๆเก่งกว่าสมัยก่อนเยอะ ได้ทุนมากขิ้น
==============
ต้องสดุดี ครู ผกาวดี ทิพย์ผยอม หัวหน้าห้องกุหลาบเพชร ที่ทำงานมายาวนานอย่างทุ่มเทมาก

การไปเรียนมหาวิทยาลัยระดับโลกเพื่อมาสร้างนวัตกรรมใหม่ให้ประเทศ เทคโนโลยี่ใหม่ เช่น งานด้านอวกาศ Cloud Big data Robot แบตเตอรีเก็บพลังงาน AI ขนส่งระบบราง วิศวชีวภาพ Finn Tech E payment E commerce หิมะบนหิมาลัย พายุ น้ำ ฝน วิศวเอนเทอร์เทนเมนท์ โทรคมนาคมระบบใหม่

อาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้องจะเกิดตามมาอีกมากมาย การสร้างอาชีพใหม่ให้คนไทยรุ่นต่อไป ต้องประสานทุนตลาดหลักทรัพย์ ภาษา และความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกัน สวนกุหลาบมีศิษย์เก่าที่บริหาร สร้าง บริษัทในตลาดราว 50 แห่ง

เดินตามแนวรุ่นพี่ยุคก่อน

พวกเรียนเกท แนวโน้มต่อโทหมด

ห้องธรรมดา ห้องศิลปก็เหมือนกัน
15 มิ.ย. 59 / 03:03
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 676995 171.96.172.2 <= 171.96.172.2

#72# - 677045 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=69117
30 ก.ย. 60 / 21:28
0 0
jaguar [icon smile : 92 bytes] (6859) : n/a : n/a : n/a
followup id 677045 171.101.73.151


กระทู้นี้ต้องล็อกอินก่อนแสดงความคิดเห็นครับ

[icon login : 178 bytes]