|
|
" อาชีพเภสัชกร ของคนเรียน เภสัช เพิ่งรู้นะเนี่ย " |
|
|
เขียนโดยกระเช้าสาม ในเวบ เด็ก ดี
+++ใครอยากเป็นเภสัชกร ลองอ่านสายอาชีพดูนะคะ+++
นิยามของวิชาชีพเภสัชกรรม (Definition of Pharmacy Professional)
วิชาชีพ เภสัชกรรม หมายถึง วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและประกันคุณภาพยา การปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ การดำเนินการปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา (รวมทั้งการให้บริบาลทางเภสัชกรรม และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ)
สาขาของวิชาชีพเภสัชกรรม (Fields of Pharmacy Professional)
1. สายงานทางบริบาลเภสัชกรรม :
1.1 เภสัชกรโรงพยาบาล
หน้าที่ จ่ายยาแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ให้คำแนะนำการใช้ยา ตรวจสอบการสั่งจ่ายยาของแพทย์ การบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล
หน่วยงาน โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน
1.2 เภสัชกรคลินิก
หน้าที่ ตรวจติดตามการใช้ยาและประเมินผลของยาต่อผู้ป่วยในวอร์ดต่างๆอย่างใกล้ชิดร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น
หน่วยงาน คลินิกเฉพาะทางและวอร์ดต่างๆในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน
1.3 เภสัชกรชุมชน
หน้าที่ จำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและแนะนำการใช้ยา รวมทั้งให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ
หน่วยงาน ร้านยาทั้งเป็นเจ้าของเองและเป็นพนักงาน
1.4 เภสัชกรสาธารณสุข
หน้าที่ คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ควบคุมการทำงานของเภสัชกร พิจารณาขึ้นทะเบียนยาและสถานประกอบการ
หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
1.5 เภสัชกรการตลาด
หน้าที่ แนะนำยาใหม่และยาปัจจุบันแก่เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชนและแพทย์
หน่วยงาน ฝ่ายการตลาดในบริษัทยา
2. สายงานทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม :
2.1 เภสัชกรอุตสาหกรรมฝ่ายการผลิต
หน้าที่ ผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ยาคน ยาสัตว์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยงาน ฝ่ายการผลิตในโรงงานยาและเครื่องสำอาง องค์การเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมทหาร
2.2 เภสัชกรอุตสาหกรรมฝ่ายการควบคุมคุณภาพ
หน้าที่ ตรวจสอบมาตรฐานของวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพยาระหว่างการผลิต ยารอบรรจุ และยาสำเร็จรูป
หน่วยงาน ฝ่ายการควบคุมคุณภาพในโรงงานยาและเครื่องสำอาง องค์การเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมทหาร
2.3 เภสัชกรอุตสาหกรรมฝ่ายการประกันคุณภาพ
หน้าที่ ตรวจสอบและควบคุมระบบโรงงานยาและเครื่องสำอางในฝ่ายต่างๆตามมาตรฐานสากล เช่น GMP และ PICS
หน่วยงาน ฝ่ายการประกันคุณภาพโรงงานยาและเครื่องสำอาง องค์การเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมทหาร
2.4 เภสัชกรวิทยาศาสตร์การแพทย์
หน้าที่ ตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหาร เครื่องดื่ม
หน่วยงาน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2.5 เภสัชกรการวิจัยและพัฒนา
- สายเภสัชเวท
- สายเภสัชเคมี
- สายเทคโนโลยีเภสัชกรรม
- สายเภสัชวิทยาและพิษวิทยา
หน้าที่ วิจัยตัวยาใหม่ๆ พัฒนารูปแบบยาเตรียมและรูปแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ศึกษาการออกฤทธิ์และความเป็นพิษของยาและสารต่างๆ
หน่วยงาน ฝ่ายการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทยา และสถาบันการวิจัยของรัฐ
การเปรียบเทียบวิชาชีพเภสัชกรรมกับวิชาชีพอื่นๆ ในมุมมองของประชาชนทั่วไป มักจะเอาเราไปเทียบกับหมอหรือบุคคลากรทางการแพทย์อื่น บางคนก็คิดแค่ว่าจบมาแล้วขายยา จบมาแล้วแค่จ่ายยาในโรงพยาบาล
นั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างแรง น้องจะได้รู้ว่า หน้าที่ของเราชาวเภสัชนั้นมีประโยชน์และสำคัญต่อสังคมอย่างไร ไม่ได้จ่ายยาตามหมอสั่งอย่างที่หลายคนเข้าใจ (ผิด) นะ แต่โดยทั่วไป จะมีการเปรียบเทียบใน 2 มุมมอง ดังนี้
1. เภสัชศาสตร์ กับ แพทยศาสตร์ (Pharmacy VS Medicine)
สมัย ก่อน การเรียนเภสัชศาสตร์จะเน้นที่ตัวผลิตภัณฑ์ (Product-oriented) ส่วนการบริบาลผู้ป่วยนั้น (Patient-oriented) เป็นแนวคิดที่รับจากสหรัฐอเมริกาในยุคหลัง บางคนก็ยังแยกความแตกต่างระหว่างแพทย์กับเภสัชกรไม่ชัดเจน น้องลองดูซิว่า บทบาทหน้าที่ด้านล่างนี้ สมควรเป็นหน้าที่ของเภสัชกรหรือไม่ และซ้อนทับกับหน้าที่ของแพทย์หรือไม่ โดยหน้าที่ของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรม ประกอบด้วย
- การซักประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย
- การบันทึกข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วย
- การประเมินการใช้ยา
- การติดตามผลการรักษาของยา
- การบริการเภสัชสนเทศ
- การให้คำปรึกษาเรื่องยาแก่ผู้ป่วย
- การให้คำปรึกษาเรื่องยาแก่บุคคลากรทางการแพทย์
- การให้ความรู้เรื่องยาแก่บุคคลากรทางการแพทย์
- การเตรียมยามะเร็งและสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด
- การวิจัยยาในระดับคลินิก
ดัง นั้น ในมุมมองทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เภสัชกร ก็คือ บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข ที่ดูแลเรื่องของยา หรือ การใช้ยา ในการรักษา บำบัด บรรเทา และป้องกันโรค ซึ่งในกระบวนการรักษาเหล่านั้น อาจมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การทำหัตถการ จิตบำบัด การฉายรังสี กายภาพบำบัด เป็นต้น แต่เภสัชกร จะดูแลเรื่องการใช้ยาในกระบวนการรักษา เช่น ตัวยา รูปแบบยา ขนาดยา ผลข้างเคียงของยา อาการไม่พึงประสงค์ของยา การแพ้ยา อันตรกิริยาของยา นอกจากนี้ ยังต้องดูแลเรื่องการผสมยาและการเตรียมยาด้วย โดยเฉพาะ การผสมยาฉีดและการเตรียมยามะเร็ง รวมทั้งสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด
2. เภสัชศาสตร์ กับ เคมี (Pharmacy VS Chemistry)
เภสัชศาสตร์ ก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ใช้ความรู้ทางเคมีเยอะมาก และบางคนก็สับสนว่าเภสัชต่างจากเคมีอย่างไร หรือนักเคมีสามารถทำงานแทนเภสัชกรได้หรือไม่ จึงมีคำถามที่จะถามนักเคมีและวิศวกรเคมี ดังนี้
- การผลิตยาเม็ดมีกี่วิธี ?
- จงยกตัวอย่างการเพิ่มค่าการละลายของตัวยาในการเตรียมตำรับยาน้ำ ?
- ตำแหน่งใดของตัวยา Sulfamethoxazole ที่มีผล Hypersensitivity Reaction
- Morphine ที่มีฤทธิ์ มีโครงสร้างเป็น (+) หรือ (-) ?
- จงบอกขั้นตอนการศึกษาสารสำคัญในพืชสมุนไพร ?
- การวิจัยยามีขั้นตอนอะไรบ้าง (เช่น Lead Compound และ Phase I-IV) ?
- ช่วงที่ยอมรับได้ในการวิเคราะห์ %LA ของยา Amoxycillin ในรูปแบบแคปซูล คือ ช่วงเท่าใด ?
- สารใดบ้างที่เป็นสารต้องห้ามในอาหาร ?
- ลักษณะเฉพาะของโรงงานผลิตยาฉีดมีอะไรบ้าง ?
- อนุภาคศาสตร์และวิทยากระแสมีผลต่อการผลิตยาอย่างไร ?
- ระบบการประกันคุณภาพของโรงงานยามีอะไรบ้าง
นัก เคมีสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้หรือไม่? องค์ความรู้เหล่านี้ เป็นองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์โดยเฉพาะ ง่ายๆเลยครับ อย่างพี่เรียนเภสัช ก็ไม่ใช่อยู่ดีๆ พี่ก็มาเรียนของพวกนี้ได้นะ พี่ต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อน โดยเฉพาะ เคมี นั่นหมายความว่า เภสัชกร ต้องเรียนเคมีมาก่อน ว่ากันตั้งแต่ ม.ปลาย เลยใช่มั๊ยครับ แล้วก็เคมีในมหาวิทยาลัย ทั้งเคมีอินทรีย์ เคมีฟิสิกัล ชีวเคมี เคมีวิเคราะห์หรือเภสัชวิเคราะห์ แล้วก็การเรียนเกี่ยวกับยา ก็คือ เคมีล้วนๆแหละ ยิ่งคนที่เลือกสาขาเภสัชเคมีหรือเภสัชวิเคราะห์ด้วยแล้ว ก็เคมี น่ะแหละ แต่เป็นเคมีของยา แต่คนที่เรียนเคมี เค้ายังไม่เคยเรียนเภสัชเลยใช่มั๊ยครับ เพราะฉะนั้น ก็อาจจะยังแยกความแตกต่างระหว่างศาสตร์สองสาขานี้ไม่ชัดเจน
ส่วน หนึ่งของการศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์ ก็คือ การประยุกต์ความรู้ทางเคมีมาศึกษาเรื่องยา ดังนั้น คนที่เรียน เภสัช ต้องมีความรู้ทางเคมี แน่นอน แต่คนที่เรียนเคมี ไม่จำเป็นต้องรู้เภสัช ถ้าเค้าไม่ได้มุ่งการศึกษามาด้านนี้ เพราะเคมี (บริสุทธิ์) มันกว้างมาก เช่น น้ำมัน ปิโตรเคมี พอลิเมอร์ โปรตีน ไขมัน อิเล็กโตรเค็ม เทอร์โมเค็ม ควอนตัม พันธะ โมเลกุล แล้วแต่เค้าจะเลือกเจาะลึกด้านใด ทำให้พี่คิดว่า ถ้าเราสนใจด้านไหน ก็ไปเรียนด้านนั้นเลยไม่ดีกว่าเหรอ ดีกว่าเรียนความรู้พื้นฐาน แล้วทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพราะยังไง การเรียนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็ต้องเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานมาก่อนแล้ว เคยมีอาจารย์ฟิสิกส์ตอน ม.ปลาย พูดว่า ฟิสิกส์น่ะมันจบไปแล้ว ตรงนี้เป็นคณิตฯ หมายความว่า เราใช้คณิตศาสตร์ในการศึกษาทางฟิสิกส์ เช่นเดียวกับ เราใช้เคมีมาศึกษาเรื่อง ยา น่ะครับเช่น Morphine มี Optical Isomer เป็น (+) และ (-) คือ บิดระนาบแสง polarized light ไปทางขวาและซ้าย ตามลำดับ ตรงนี้เป็นเคมี แต่ถ้าบอกว่า Morphine ที่มีโครงสร้าง (-) เท่านั้นที่มีฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด เพราะโครงสร้างเข้ากับรีเซปเตอร์ได้ ตรงนี้เป็นเภสัชศาสตร์ พอจะมองออกมั๊ยคับ มันเป็น 2 ขยัก ซึ่งแน่นอนว่า เราจะต้องเรียน Stereochem ในเคมีอินทรีย์ก่อน แล้วเชื่อมโยงมายังผลของมัน ก็คือ การออกฤทธิ์นั่นเอง
ดังนั้น ในมุมมองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เภสัชกร จึงเป็นบุคคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับยา เช่น แหล่งของตัวยาสำคัญและสารช่วยทางเภสัชกรรม เคมีของยา การผลิตยา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพยา รวมทั้ง การศึกษาวิจัยยาและการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ทั้งจากแหล่งธรรมชาติและการสังเคราะห์
บทสรุป
ถึงตรงนี้ แล้ว พอจะเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรมากขึ้นรึยังครับ ? แต่ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ เภสัชกร เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับยาโดยตรงตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ดังนั้น จึงมีการกระทำบางอย่างที่ต้องเป็นหน้าที่ของเภสัชกรเท่านั้น เช่น การเซ็นต์รับรองยาที่ผลิตออกมาโดยเภสัชกรอุตสาหกรรมฝ่ายการผลิต การเซ็นต์รับรองยาที่ผ่านการควบคุมคุณภาพแล้วโดยเภสัชกรอุตสาหกรรมฝ่ายการ ควบคุมคุณภาพ การขึ้นทะเบียนยาโดยเภสัชกรฝ่ายการขึ้นทะเบียนยาใน อย. เป็นต้น |
|
|
06 พ.ย. 55 / 15:42 |
|
1
0
jaguar (6859) : n/a : n/a : n/a |
|
|
|
|
|
view 13739 : discuss 0 : rating - : bookmarked 0 : vote 0
|
115.87.42.26
|
|