|
|
" เศรษฐศาสตร์ อินเตอร์ BBa รายได้พอกับนักบิน " |
|
|
เล่าเรื่องหลักสูตร เศรษฐศาสตร์ อินเตอร์ ที่จุฬา EBA มีความลับที่ไม่บอกผู้คน
ดร ชโยดม สรรพศรี เป็นคณบดี เศรษฐศาสตร์ จุฬา ดร โสตถิธร มัลลิกะมาส เป็นอดีตคณบดี ตอนนี้ดูแลหลักสูครเศรษฐศาสตร์ อินเตอร์ ของจุฬาอยู่
สองคนนี้เป็นนักเรียนเก่าสาธิต จุฬา โรงเรียนที่มีอิทธิพลที่สุดในมหาวิทยาลัย ก็ลูกอาจารย์กันทั้งนั้น พวกที่มาเรียนต่อที่จุฬา ชีวิตก็วนอยู่แถวนั้นแหละ
เด็กสาธิตนี่ น่ารักนะครับ ไม่ออกแนวถืก ยิ่งผู้หญิงเนี่ย น่ารักกว่าสองคนที่เอ่ยชื่อมาก
ผมถามว่า นักเรียนอินเตอร์เป็นไงบ้าง งานดีไหม เลยได้รับแจกรายงานมาปืกหนื่ง
หลายปีมานี้ ความนิยมหลักสูตรอินเตอร์เพิ่มขื้นรวดเร็วมาก ทุกคนมีงานทำ
ยกตัวอย่างเทรนด์ใหม่ที่@sam rusmeerojwong ลูกศิษย์ของผมเล่าให้ฟัง
@
กราบเรียนอาจารย์ครับ ผมเคยเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ เรียนจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมัธยมสาธิต มศว ประสานมิตร ทุกวันนี้เป็นผู้ปกครองของเด็กนักเรียนชายหญิงรวม 3 คน
อยากเล่าให้อาจารย์ฟังโดยคร่าวถึงแนวความคิดของผู้ปกครองในแวดวงของผมดังนี้ครับ
ผู้ปกครองจำนวนหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่ามีอยู่ไม่น้อยมีความเชื่อและต้องการที่จะให้บุตรหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิต ประสานมิตร ฝ่ายประถม จนจบชั้นประถมปีที่ 6 เพื่อกรุยทางให้เด็กๆเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสาธิต ปทุมวัน โดยทางปทุมวันจะพิจารณารับเด็กจากประสานมิตรจำนวน 100 คนให้เข้าศึกษาต่อโดยอัตโนมัติครับ (อีก 100 คนที่เหลือจะเข้าศึกษาต่อได้ที่โรงเรียนมัธยมสาธิต มศว ประสานมิตรโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน)
หลังจากจบมัธยมปีที่ 3 ที่สาธิตปทุมวันแล้วผู้ปกครองส่วนมากจะพยายามผลักดันให้เด็กสอบแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาให้ได้ ซึ่งลำดับต่อไปผู้ปกครองก็จะต้องการให้เด็กสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ ส่วนมากผู้ปกครองจะอยากให้บุตรหลานเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะอื่นๆที่เป็นสายวิทยาศาสตร์ครับ เป็น pattern เดียวกันแบบนี้มาหลายรุ่นแล้วครับ นับว่าน่าสนใจมาก
จนล่าสุดเมื่อมีเรื่องของ globalization กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC เกิดขึ้นมา ผู้ปกครองที่มีศักยภาพทางการเงินสูงก็จะเริ่มฉีกแนวออกไปบ้าง กล่าวคือให้บุตรหลานเรียนจนจบชั้นประถม 6 ให้พออ่านออกเขียนภาษาไทยได้ แล้วจึงส่งบุตรหลานเรียนต่อระดับมัธยมในโรงเรียนนานาชาติครับ ส่วนมากเป็นโรงเรียนนานาชาติที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อปูพื้นฐานก่อน
จากนั้นในระดับมัธยมปลาย (Grade 10-12) จึงส่งบุตรหลานไปเรียนต่อที่ต่างประเทศเพื่อเสริมทักษะทางภาษาให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในระดับชั้นปริญญาตรีผู้ปกครองเหล่านั้นมักจะให้บุตรหลานของตนกลับมาเรียนที่เมืองไทยครับ (โปรแกรมอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งหลายที่มีเปิดสอนอยู่ในบ้านเราขณะนี้) เคยถามเหตุผลก็ได้รับคำตอบว่ามาเอา connection เพราะเพื่อนๆที่เรียนตรงนี้คือคนที่พวกเค้าจะต้องทำมาค้าขายด้วยในอนาคต จนเมื่อเรียนจบได้รับปริญญาแล้วถ้าอยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไปอีกก็สามารถกลับไปเรียนที่ต่างประเทศเพื่อเอาวิชาความรู้ที่เหนือกว่าที่เมืองไทยได้ครับ
การทำเช่นนี้พวกเด็กๆจะมีทั้งเพื่อนวัยเด็กและเพื่อนที่เป็น professional network อยู่ในประเทศไทย พวกเค้าจึงจะกลับมาทำงานและอาศัยอยู่กับครอบครัวในประเทศไทยครับ
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าทุกอย่างอยู่ที่ต่างประเทศพวกเค้าก็จะไม่กลับมาและทำมาหากินอยู่ที่ต่างประเทศแทน อันนี้ผมฟังจากพวกเพื่อนๆพี่ๆที่เป็นผู้ปกครองมาและคิดว่าน่าสนใจจึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟังกับอาจารย์ครับว่านี่คือปัจจุบันและอนาคตของเส้นทางการศึกษาของเด็กไทยจำนวนหนึ่งที่ทางบ้านมีฐานะทางการเงินอยู่ในระดับดีครับ
ขอบคุณนะครับ แซม
@
เพจนี้มีแฟนคลับที่ลูกเรียนโรงเรียนอินเตอร์อยูมาก โรงเรียนอินเตอร์ในไทยมี 158 แห่ง นักเรียนราวหมื่นกว่าคน แต่ผู้ปกครองต้องมีฐานะการเงินมั่นคงจริงๆ โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจแกว่ง ต้องบริหารเงินให้ดี
ยังมีเด็กไทยที่ไปเรียนมัธยมต่างประเทศปีละเป็นหมื่นคน ที่ต้องการกลับเข้ามาเรียนโครงการอินเตอร์ในไทย
สองกลุ่มนี้จะเน้นเรียนเศรษฐศาสตร์ มากกว่า BBA เพราะเป็นอะไรที่กว้างกว่า
ยังมีนักเรียนจากโรงเรียนเครือเซนต์พอล เครือเซนต์คาเบรียล เครือมาแตร์ที่ภาษาดี โรงเรียนสองภาษา และโรงเรียนรัฐบาลที่ใช้วิธีไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ม 4 ตั้งใจมาสายอินเตอร์แน่นอน พวกนักเรียนห้องgifted ห้อง gate ก็มา พวกนี้เรียนใช้ตำราอังกฤษอยู่แล้ว เรื่องสอบคณิตศาสตร์จืงหมูมาก ห้องพวกนี้จะมีชาวต่างประเทศสอนหลายคน
เปิดมา 13 ปี ปีล่าสุดรับ 150 คน คะแนนมัธยมปลายเฉลี่ยระดับมัธยมเทียบๆเอา กระโดดจาก 3.08 มาที่3.65 คะแนน satเลข จาก623 เป็น 715 คะแนน toefl จาก 527 ไปถืง 580 และ 600 ielts จาก6.2 เป็น 6.9 ภาษา sat จาก417 เป็น 457
คะแนนระดับนี้เข้ามหาวิทยาลัยระดับtop ของโลกสบาย
เรียนแล้วไปไม่รอด หรือออกราว ปีละ 6 คน ซื่งน้อยโดยมาตรฐานมหาวิทยาลัยไทย ที่ไทร์ราว 10% หนักแถววิศวะ
จบแล้วไปเรียนต่อกันมาก
ที่ไเรียนต่อโทเศรษฐศาสตร์ หรือ MBA ก็ไปเข้า วาร์ตัน นอร์ทเวสเทอร์น UCLA
ออกซ์ฟอร์ด เยล มิชิแกน เคโอะ INSEAD ที่ดังๆทั้งนั้น ต่างประเทศเชื่อ ก็มาช่วยสอนเองนี่นา
ยังมีไปที่วิสคอนซิน คอร์แนล ออสเตรเลีย ANU LSE ไรงี้
พวกที่ทำธุรกิจเลย ไม่ต้องถาม หลายๆคนอยากให้ออกไปเร็วๆ กลัวอารมณ์เสียบอกพ่อมาซื้อคณะและอาจารย์หมด. ไม่ต้องสอนกัน
จบแล้วไปทำงานที่ไหนบ้าง
องค์การ บริษัทต่างประเทศเยอะ IMF ADB Credit Suisse Credit Lyonnaise Standard Charter Citi HSBC Tokyo Bank; UOB Pwc Exxon Unilever Marriotte แมคคินซี่ เอ อี นิลสัน พวกนี้ตะไปทำงานแนววางแผน ภาษาเท่าฝรั่ง งานเหมือนกัน ก็กินเงินเดือนอินเตอร์เหมือนต่างชาติ
บริษัทไทยเช่น ปตท ซีพี แกรมมี่
ดูหน่วยงานแล้ว ก็แนวนักบิน
บริษัทไทยที่เงินเดือนเกินสองแสนมีเยอะ หลายคนเห็นเงินเดือนขั้นสูงของบัณทิตจุฬาแล้วงง เพราะอย่างนี้่
ที่มาช่วยทำงานราชการก็อยู่กันแถวกระทรวงพาณิชย์ ต่างประเทศ คลัง
เดี๋ยวจะมีตัวอย่างมาให้ดูว่า บริษัทต่างชาติมาชวนถืงในคณะ
ไม่ต้องเป็นหมอก็พอมีกินเล็กน้อย ถ้าเรียนเศรษฐศาสตร์
ผมสนับสนุนให้นักเรียนอินเตอร์ เด็กมัธยมเมืองนอก มาเรียนอินเตอร์ที่ไทย
มันสนุกกว่ากันเยอะ มีเพื่อนฝูง มีรุ่น ลัลล้ามาก
นักเรียน รร รัฐบาลก็มาเถอะ ทำ sat math ให้เต็มก็สบาย
แชมป์ SET ปีนี้ก็เด็กสวน พวกนี้มีแก๊งอยูที่บัญชี และเศรษฐศาสตร์ มธ เล่นหุ้นกันทั้งอาจารยื ลูกศิษย์ แต่ก้มาเรียนที่จุฬาพอๆกัน
ห่วงอาจารย์ ถ้าอังกฤษออกเสียงไม่ชัด เด็กจะขำ
ที่เศรษฐศาสตร์คุณจะเจออาจารย์ต่างประเทศดังๆมากันทุกวัน เจอง่ายกว่าเรียนตรีเมืองนอกอีก
เล่าให้ฟังนะครับ ที่จุฬามีอะไรดีๆเยอะ แต่มักจะไม่บอกผู้คน |
|
|
18 ธ.ค. 57 / 20:10 |
|
0
0
jaguar (6859) : n/a : n/a : n/a |
|
|
|
|
|
view 11478 : discuss 3 : rating - : bookmarked 0 : vote 0
|
171.96.173.23
|
|